ในระหว่างที่ทั่วโลกเจอวิกฤตโควิด และ ได้รับผลกระทบวนรอบมาเกือบจะสองปีบริบูรณ์นี้ โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางเรือถือเป็นอีกเซกเตอร์หนึ่งที่ได้รับผลกระทบในหลายแง่มุม โดยเฉพาะการเกิดวิกฤตขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ทำให้เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งมีงานน้อยลงถึงขั้นต้องจอด รวมทั้งความปั่นป่วนจากอุบัติเหตุที่เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ Ever Given เกยตื้นขวางคลองสุเอชอยู่นานนับสัปดาห์ช่วงปลายไตรมาสแรก ปี 2021
ความปั่นป่วนในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวกับโครงข่ายการขนส่งทางเรือหลายกรณี จึงถูกใช้เป็นเงื่อนไขในการ “ปฏิรูปการขนส่งทางเรือ” อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการยกระดับระบบคมนาคมขนส่งเก่าแก่อย่างเรือเดินสมุทร ไปใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ และ Internet-of-Thing หรือ IoT รวมทั้งการใช้ Marine Data Science อันเป็นมาตรฐานใหม่ของกิจการเรือเดินสมุทร ซึ่งการใช้ข้อมูลวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมการเดินเรือร่วมกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้กลายเป็นความท้าทายใหม่ในกิจการเดินเรือเชิงพาณิชย์อย่างชัดเจน… ซึ่งถ้าแยกประเภทดูในรายละเอียดก็จะประกอบไปด้วย
- Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์
- Big Data Analysis หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลมหัต
- The Internet of Things หรือ IoT
- Digital Route Management หรือ ระบบจัดการเส้นทางดิจิทัล
- Smart Maneuvering Control หรือ Autonomous Control หรือ ระบบอัจฉริยะเพื่อควบคุมการเดินเรืออัตโนมัติ
- Smart Propulsion Systems หรือ ระบบขับดันเรืออัจฉริยะ
- Integrated Control Systems หรือ ศูนย์ควบคุมการเดินเรือแบบบูรณาการขั้นสูง หรือ ระบบบูรณาการข้อมูลภายในเรือ หรือ Marine Dashboard เต็มระบบบนสะพานเดินเรือ
- Blockchain Technology
- Smart Defense Technology หรือ เทคโนโลยีป้องกันภัยคุกคามดัวยกำลังอาวุธ
- Robotics / Drones / 3D Printing หรือ หุ่นยนต์ / โดรน / เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
ทั้งหมด 10 ประเด็นซึ่งผมยกเอาแต่หัวข้อมาจาก Marine Insight และ ผมขอเว้นรายละเอียดเชิงลึกของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานทั้งหมดเกี่ยวกับแนวคิด และ แนวทางการประยุกต์ และ ประโยชน์จากการนำใช้ในกิจการเดือนเรือทั้งหมดไปก่อน… เพราะรายละเอียดมีมาก และ ปี 2022 ตั้งใจจะพาท่านที่สนใจตามดูข้อมูลในกิจการขนส่งทางทะเลในอีกหลายๆ มิติอยู่ ซึ่งข้อมูลในมือผมมีวิวัฒนาการในการใช้พื้นที่ผิวน้ำทำประโยชน์หลายอย่างต่อระบบเศรษฐกิจในยุคของเรา
References