storytelling

Storytelling For Leaders… เล่าเรื่องอย่างอย่างผู้นำ #ExtremeLeadership

การเป็นผู้นำในยุคที่ “การสั่งเอา บังคับเอา” ไม่เหลือที่ว่างให้ผลงานดีๆ งอกงามออกมาจากทีม หรือ องค์กรที่ผู้นำยังขาดทักษะการสื่อสารที่ทรงพลัง จนใช้เป็นแต่กำลังหรืออำนาจอย่างเดียวในทุกบริบทกับทุกคนในทีม… ซึ่งสิ่งที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนแน่นอนในทีมที่ผู้นำใช้เป็นแต่กำลัง หรือ ใช้เป็นแต่อำนาจก็คือ “ความเครียดในทีม” ที่ใครๆ ก็รู้สึกไม่ได้ถึงอิสระเสรีในการ “สร้างสรรค์” อะไรที่อยู่นอกคำสั่ง…

ผู้นำยุคใหม่ที่สั่งเอาบังคับเอาได้ลำบาก จึงต้องมีเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องมือเพื่อการสื่อสารที่ทรงพลังไว้ใช้ และ ทุกคำแนะนำตรงมาที่ Storytelling Skill หรือ ทักษะการเล่าเรื่อง

ประเด็นก็คือ… Storytelling หรือ การเล่าเรื่องเป็นเทคนิคเดียวที่สามารถเปลี่ยน “ข้อมูล หรือ Data” ที่ต้องการสื่อออกไปให้ถึงเป้าหมายกลายเป็น “ข้อความ หรือ Message” เพื่อให้เข้าถึง “ภาวะทางอารมณ์ หรือ Emotional” ของผู้รับสาร

การใช้เทคนิคเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารกับทีมจึงเป็นมากกว่าการสื่อสารด้วยข้อมูลธรรมดา เพราะเรื่องเล่าที่ยอดเยี่ยมจะมี “คำตอบ” เป็นสารแฝงมากับเรื่องเล่าเสมอ… ซึ่งคำตอบที่ว่าก็คือ “เป้าหมาย” ของการสื่อสารที่ผู้นำต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นหลังจากนั้น

ทักษะในการใช้เรื่องเล่าสำหรับผู้นำจึงเป็นเรื่องสำคัญที่แปลว่า… ต้องเตรียมเรื่องเล่าอย่างเหมาะสม เพราะนั่นเป็นการเล่นกับอารมณ์คนรับสาร ที่ถึงแม้จะหวังผลได้มากกว่า แต่ก็อ่อนไหวและควบคุมได้ยากกว่าการใช้ข้อมูลดิบๆ สื่อสารมาก

Sophie Thompson โค้ชสอนเล่าเรื่องและการกล่าวสุนทรพจน์แนะนำว่า… การเล่าเรื่องใน “บทบาทผู้ชักจูงโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยเรื่องเล่า” จำเป็นจะต้องเตรียมเรื่องเล่าบนโครงเรื่องที่ควรจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ…

  1. Inform หรือ เกริ่น… ซึ่งมักจะเป็นการกล่าวถึงที่มาที่ไป หรือ เหตุและผล หรือ ประเด็นที่ผู้นำกำลังจะลงรายละเอียดเป็นเรื่องเล่ากับคนรับสารกลุ่มนั้น
  2. Engage หรือ ส่วนร่วม… โดยเรื่องเล่าที่เตรียมไว้ต้องมีบริบทการมีส่วนร่วมที่ผู้รับสารสามารถรับรู้ได้เองโดยไม่ยากว่า… ผู้นำต้องการให้พวกเขามีบทบาทอย่างไร หรือ มีส่วนร่วมอะไรและอย่างไร
  3. Inspire หรือ แรงบันดาลใจ… อันเป็นแนวทางหลักที่ต้องใช้เพื่อให้ข้อความ หรือ Message ทั้งหมดที่เตรียมมา เข้าถึงภาวะทางอารณ์ของผู้รับสาร “ในระดับสร้างจินตนาการ” 

ส่วนเทคนิคการลำดับเรื่องเล่านั้น… โดยทั่วไปก็จะมีลำดับในการ “เล่า หรือ นำเสนอ” เป็น 3 ส่วนเช่นกันคือ 

  1. The Problem หรือ ปม… จะเป็นการนำเสนอปัญหาที่ต้องการกล่าวถึงให้กลายเป็นคำถาม หรือ ความท้าทายต่อผู้รับสาร ซึ่งภายใต้บริบทผู้นำก็คือการโน้มน้าวสมาชิกทีมให้เข้าใจปมปัญหาในขั้นเกิดคำถาม หรือ เห็นปัญหาเป็นอย่างน้อย ซึ่งถ้ากระตุ้นให้เกิดความท้าทายได้ก็จะยิ่งเป็นการเล่าเรื่องที่ Engage ผู้รับสารได้อย่างทรงพลังทีเดียว
  2. The Journey หรือ หนทาง… จะเป็นเนื้อความเพื่อ “ชี้นำ” เส้นทางที่เกี่ยวข้องกับปมที่เปิดไว้ในตอนต้น เรื่องเล่าในลำดับนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้นำการตัดสินใจโดยตรง… ซึ่งข้อความ หรือ Message ในส่วนนี้จะให้ข้อมูลพร้อมข้อเท็จจริงที่สัมพันธ์กับบริบทของข้อมูลให้มาก
  3. The Solution หรือ ทางเลือกในการแก้ปม… ซึ่งจะเป็น “ข้อความแฝงเป้าหมาย” โดยมีเหตุผลที่มีน้ำหนักทั้งต่อหลักเหตุผล และ หลักธรรมเนียมความเชื่อ โดยหวังผลเป็น “การยอมรับและการตัดสินใจ” อย่างสอดคล้องต่อเป้าหมาย

สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ… การเปลี่ยนข้อมูลเป็นเรื่องเล่าต้องสอดคล้องกับบริบท ซึ่งแตกต่างจากคำแนะนำเรื่องการเล่าเรื่องแบบนักเขียน หรือ นักเล่านิทานมาก… ผมรู้จักหลายคนที่ไปเรียน ไปฝึก หรือ แม้แต่ไปใช้บริการที่ปรึกษาการเล่าเรื่อง ช่วยเตรียมเรื่องเล่าและฝึกทักษะการเล่าเรื่องอย่างจริงจัง แต่หลังจากนั้นก็ยังรู้สึกว่าตัวเองเป็น “นักเล่า” ที่ทำได้ไม่ดีเหมือนตอนมีโค้ช และ มีเพื่อนในกลุ่มที่อบรมด้วยกันอยู่พร้อมหน้า… 

โดยส่วนตัวมองว่า… การที่ใครยังไม่สามารถ “หาเรื่องเล่า กับ วิธีเล่า” ให้ได้ดีโดยวัดจาก “การยอมรับและการตัดสินใจ” ของคนฟังหรือคนรับสารได้อย่างที่ต้องการก็เพราะว่า… ข้อมูลที่จะใช้สร้างเรื่องเล่ามีอยู่กับตัวน้อยเกินไป และ ที่ไปเรียน ไปฝึก หรือ ไปอบรมมานั้น… ส่วนใหญ่จะเป็น “วิธีการเล่าเรื่อง” ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเล่าเรื่อง ที่จำเป็นต้องมีทั้ง “เรื่องเล่า และ วิธีเล่า” 

ท่านที่สนใจศาสตร์การเล่าเรื่องแบบ Reder ทักไลน์จาก QR Code ID ท้ายบทความได้ครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts