Strategic Mindset and Design Strategy… กรอบคิดเชิงกลยุทธ์ และ การออกแบบกลยุทธ์ #SaturdayStrategy

ธุรกิจและองค์กรทั้งหมดที่ต้องการกลยุทธ์เพื่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ใดๆ ก็ตามแต่ สิ่งที่ชัดเจนเด่นชัดอย่างมากเมื่อให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ก็คือ การให้ความสำคัญกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่อตรงเข้าหาเป้าหมายถัดไป… ซึ่งในทางเทคนิคจำเป็นจะต้องเตรียมงานร่วมกันของคนในองค์กร ก่อนจะขับเคลื่อนกลยุทธ์และเป้าหมาย โดยการตระเตรียมทั้งหมดจำเป็นจะต้องออกแบบกลยุทธ์ และ เอากลยุทธ์มาออกแบบเพื่อให้รายละเอียดในกลยุทธ์ทั้งหมดถูกเตรียมไว้จนดีพอถึงขั้นที่จะไม่ล้มเหลว

ตัวอย่างกลยุทธ์การเปลี่ยนระบบงานทะเบียนของโรงเรียนจากเดิมที่เคยกรอกข้อมูลผ่านฟอร์มกระดาษไปออนไลน์ร้อยเปอร์เซนต์ ซึ่งเป้าหมายหลักคือการเชื่อมต่อระบบงานทะเบียนเข้ากับเวบไซต์ของโรงเรียน… ทีมที่รับผิดชอบเป้าหมายนี้จำเป็นทำเวบไซต์ของโรงเรียนให้มีแบบฟอร์มการรับสมัครนักเรียนใหม่เป็นอย่างน้อย และ ถ้าทีมที่รับผิดชอบเป้าหมายนี้ทำแค่สร้างแบบฟอร์มออนไลน์ และ ลิงค์กับเมนูให้เรียกใช้ก็จบงานหน้าบ้าน ส่วนหลังบ้านก็รับข้อมูลเป็นตารางส่งมาที่ฝ่ายทะเบียนแบบข้อมูลดิบ… การขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงนี้ก็คงติติงในทางเทคนิคไม่ได้แล้ว!!!… แต่จะดีกว่ามั๊ยถ้าจะทำให้งานทะเบียนทำงานง่ายขึ้นโดยต่อยอดข้อมูลเข้าสู่ระบบ ERP ของโรงเรียนไปเลย ในขณะที่ส่วนหน้าบ้านบนเวบไซต์ก็ออกแบบโดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ปกครองและนักเรียนที่ต้องการมาสมัครเรียน ซึ่งเป็น “ลูกค้าใหม่” แน่ๆ และเชื่อได้ว่ายังไม่คุ้นเคยกับโครงสร้างของเวบไซต์โรงเรียนที่วางลิงค์มั่วไปหมดแถมใส่แอนิเมชั่นวิบวับเหมือนลานเบียร์ชายทุ่ง แถมด้วยกรอกข้อมูลเยอะแยะและลำบาก วันดีคืนดีก็มีล่มแล้วล่มอีกจนต้องแห่กันมากรอกฟอร์มกระดาษหน้าห้องทะเบียนแบบยอมรถติดคิวยาวดีกว่ากรอกออนไลน์แต่ไม่มั่นใจอนาคต… การทำเวบไซต์มั่วๆ ส่งๆ โดยไม่มีหลักคิดการออกแบบที่เหมาะสม ย่อมทำให้กลยุทธ์สมัครเรียนออนไลน์ของโรงเรียนแห่งนี้ไร้ค่าตั้งแต่กำหนดกลยุทธ์ไปเรียบร้อย

การนำกลยุทธ์มาสู่การขับเคลื่อนจึงสำคัญว่า “ได้ผลจริง หรือ Effective” ต่อเป้าหมายสูงสุดที่กลยุทธ์นั้นกำลังขับเคลื่อน… ซึ่งความล้มเหลวของกลยุทธ์ส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องเป้าหมาย หรือแม้แต่กรอบแนวทางเชิงยุทธวิธีในการดำเนินการและผลักดัน… แต่ความล้มเหลวส่วนใหญมาจาก “การออกแบบกลยุทธ์ และ การนำกลยุทธ์ไปออกแบบ” เป็นส่วนใหญ่

และการออกแบบกลยุทธ์ให้ออกมาดีจำเป็นจะต้องเริ่มต้นที่ “ความต้องการของลูกค้า” ซึ่งจำเป็นต้องเป็นความต้องการที่แท้จริงที่ได้จากข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight ที่ถูกต้องต่อเป้าหมายที่มุ่งหวังจะปรับเปลี่ยนตัวแปรเชิงบวกเช่น ประสิทธิภาพ และ กำไรเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป้าหมายการลดตัวแปรเชิงลบเช่น ต้นทุน และ เวลา… โดยต้องชัดเจนที่เป้าหมายก่อนจะหาความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับลูกค้า ซึ่งนักกลยุทธ์มือใหม่ที่เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางทุกกรณี ที่มักจะตกหลุมพรางไปวุ่นวายอยู่กับการสำรวจข้อมูลจากลูกค้าทุกกรณีก็เห็นมีอยู่มาก

ส่วนวงจรการออกแบบ หรือ ขั้นตอนการออกแบบ หรือ Design Process ผมขอข้ามน๊ะครับ เพราะถ้าแตะก็คงต้องย้อนเล่าถึงเฟรมเวิร์คหลักๆ ที่มีอยู่หลายเฟรมเวิร์คจนยืดยาวจบไม่ลง… ซึ่งถ้าคิดอะไรไม่ออกก็จับใส่ Design Thinking Process ได้เลยครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts