Strategic Partnership

Strategic Partnership Management… หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในสายสัมพันธ์ #SaturdayStrategy

การผลักดันองค์กรทางธุรกิจสู่เป้าหมายและความสำเร็จนั้น เป้าหมายเกือบทั้งหมดขององค์กรเกือบทั้งหมด ล้วนอยู่ในระบบนิเวศ อันมีห่วงโซ่เชื่อมโยงองค์กรและธุรกิจอยู่หลายมิติ จนเห็นเป็นสายสัมพันธ์ระดับองค์กร ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือ การเชื่อมโยงกันบนผลประโยชน์ และ เป้าหมายที่สอดคล้องกัน 

ประเด็นก็คือ… ถ้าผลประโยชน์และเป้าหมายสอดคล้องกันจนต้องร่วมมือกันดีที่สุด ก็ไม่เหลือเหตุผลอื่นใดที่จะไม่พัฒนาสายสัมพันธ์ทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้กลายเป็นหุ้นส่วนที่สามารถแบ่งปันความสำเร็จบนเป้าหมายร่วมกัน หรือ แม้แต่เป้าหมายเดียวกัน… ความสำเร็จขององค์กรธุรกิจมากมายจึงมักจะมีเครือข่ายพันธมิตร ยึดโยงช่วยเหลือจนเห็นการร่วมแรงและแบ่งปันแบบที่เรียกว่า “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ หรือ Strategic Partners” ให้เห็นอย่างน่าสนใจเสมอ

แต่ความสัมพันธ์ทุกอย่างมีความอ่อนไหว… ยิ่งเป็นความสัมพันธ์ระดับองค์กรธุรกิจซึ่งอ้างอิง “ผลประโยชน์” บนความสัมพันธ์ช่วยเหลือดูแล และ ร่วมแรงแบ่งปัน ต่างก็ทำเพื่อให้องค์กรภายใต้การจัดการของตน “ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ให้ได้มากกว่าปกติ” ซึ่งถ้ามีทางเลือกอื่นทดแทนผลประโยชน์ และ เป้าประสงค์เดิม… สายสัมพันธ์ที่อ่อนไหวอยู่เดิม ก็คงไม่เหลือความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรอื่นได้อีก นอกจาก “เปลี่ยนไปเลือกผลประโยชน์จากสายสัมพันธ์ใหม่”

ในทางเทคนิค… นักวางกลยุทธ์องค์กรจึงมักจะเสนอแผนพร้อม “Partners of Choice หรือ พันธมิตรทางเลือก” โดยมีผลสำเร็จของทุก Choice หรือ ทุกทางเลือก เป็นพอร์ตโฟลิโอของพันธมิตรเป้าหมายมาร่วมพิจารณาเสมอ

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ… เมื่อเลือกสานสัมพันธ์ทางธุรกิจร่วมเป็นพันธมิตรใกล้ชิดในระดับ “ร่วมแรง และ แบ่งปัน” แล้ว… สายสัมพันธ์ในระดับหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ขั้นนี้จำเป็นต้องคุยกันเรื่อง “ความขัดแย้ง” ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อทำงานร่วมกันต่อๆ ไป… และ หาแนวทางจัดการความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้านั้นเอาไว้ให้ได้มากที่สุด

นอกจากนั้น… Partners of Choice หรือ พันธมิตรทางเลือกรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกเลือกเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ก็ไม่ควร “ตัดขาดสายสัมพันธ์” โดยไม่จำเป็น… ยิ่งถ้าเป็น Partners of Choice ที่ถูกลดระดับลงจากการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ไปสู่ระดับเคยเป็นด้วยแล้ว… ถ้าเป็นไปได้ก็ควรรักษาสายสัมพันธ์ในด้านที่รักษาได้เอาไว้ให้ได้

ส่วนรายละเอียดในการจัดการต่อจากนั้น… ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนให้ต้องทำมากนักหรอก เว้นแต่จะเป็นความสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่ไม่ได้สร้างบนพื้นฐานที่ชัดเจน และ มีเกินเลยกินแรงกันมาก่อน… ซึ่งถ้ามันคลุมเครือ และ เอารัดเอาเปรียบกันมานานแล้ว ก็คงตัดสินใจเรื่องความสัมพันธ์ไม่ยากเย็นอะไร

ส่วนเทคนิค วิธีการ และ ขั้นตอนการจัดการมิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนยุทธศาสตร์นั้น… ผมขอข้ามที่จะไม่ลงรายละเอียดเพราะไม่ว่าจะอย่างไร… ทุกองค์กรมักจะมี “วัฒนธรรมองค์กร หรือ ธรรมเนียม” เป็นแนวทางอยู่เดิม… เอาแบบนั้นแหละครับมาใช้ก่อน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts