การกำหนดวิสัยทัศน์ การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ และ การแก้ปัญหา ซึ่งก็มักจะต้องหารือพูดคุยไปจนถึงสุมหัวกันหน้าดำคร่ำเคร่งกันทั้งทีม เพื่อให้ทุกๆ ย่างก้าวขององค์กรเป็นไปตามแผน… หรืออย่างน้อยก็ไม่หลุดเป้าหมายขั้นต่ำที่ยอมรับได้ ซึ่งทั้งหมดต้องคิดและแบ่งปันความคิดกับเพื่อนร่วมงานจนเหนื่อยเหมือนๆ กันหมด!
การกำหนดวิสัยทัศน์… ตั้งเป้าหมาย… วางแผน… สร้างกลยุทธ์ และ แก้ปัญหาทั้งหมดจึงเต็มไปด้วยความคิดเห็น หรือ ไอเดียมากมายที่หลั่งไหลและหลอมรวมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในทุกๆ ย่างก้าว
ประเด็นก็คือ… การสาดไอเดียเข้าใส่ทีมที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด มักจะเป็นไอเดียที่มี “ข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight Data” ยืนยันความจริงแท้ของไอเดียเสมอ ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ถูกปรับแต่งด้วยไอเดียนี้เองที่ได้กลายสิ่งที่เรียกว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Thinking” ที่คนคิดจะต้องเอาข้อมูลมาประยุกต์และพลิกแพลงจนพบ “คุณค่า หรือ Value”
การคิดเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นกิจกรรมทางปัญญา หรือ Cognitive Activity ขั้นสูงที่ต่างออกไปจากการคิดหาคำตอบทั่วไป… และส่วนใหญ่เกิดได้ด้วยการหลอมรวมความคิดในระดับทีมที่สามารถเสริมแรงคิดให้กันๆ จากความเชี่ยวชาญที่หลากหลายของสมาชิกทีม… อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้อง “สุมหัว หรือ Brainstorming” อย่างสร้างสรรค์
Henry Mintzberg อธิบายเกี่ยวกับ การคิดเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Thinking เอาไว้ว่า… Strategic Thinking คือการหาคำตอบให้ Why? และ How? ซึ่งคำตอบที่ได้สามารถเปรียบเทียบทางเลือก และ ตัดสินใจได้ง่ายมาก…
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… คนส่วนใหญ่แยกออกยากว่าการคิดเชิงกลยุทธ์ กับ การวางแผนกลยุทธ์ มันต่างกันอย่างไร?… แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ส่วนใหญ่คิดเห็นค่อนข้างตรงกันว่า การคิดเชิงกลยุทธ์มีความแตกต่างจากการวางแผนกลยุทธ์ค่อนข้างชัด เพราะ “แผนกลยุทธ์” เป็นการเตรียมดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งได้ผ่านการตัดสินใจมาอย่างดีก่อนแล้ว… ในขณะที่การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ทั้งที่เป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล และ การตัดสินใจของทีม…
Henry Mintzberg แนะนำว่า… การคิดเชิงกลยุทธ์เกือบทั้งหมดเป็นกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อ “Connected The Dots หรือ การต่อจุด” มากกว่าการวิเคราะห์ซึ่งเป็นการ “Finding The Dots หรือ การหาจุด”
งานวิจัยตีพิมพ์เรื่อง Strategic thinking versus strategic planning: Towards understanding the complementarities โดย Dr. Fiona Graetz ชี้ว่า… การคิดเชิงกลยุทธ์และการวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการคิดที่แตกต่าง แต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และยังเสริมแรงกันอย่างมีนัยยะ โดยบทบาทของการคิดเชิงกลยุทธ์จะเป็นการแสวงหานวัตกรรมและจินตนาการถึงอนาคตที่ใหม่และแตกต่าง… ซึ่งอาจเป็นได้ถึงขึ้นชี้นำกลยุทธ์หลัก และ วิสัยทัศน์ใหม่สดได้ด้วย
ส่วนทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Thinking Skills ซึ่งต้องริเริ่มโดยใครสักคนนั้น… คนๆ นั้นก็มักจะต้องมีทักษะ 4 ประการอยู่ในตัวคือ
- Analytical Skills หรือ ทักษะการวิเคราะห์
- Communication Skills หรือ ทักษะการสื่อสาร
- Problem Solving Skills หรือ ทักษะการรับมือปัญหา
- Planning And Management Skills หรือ ทักษะการวางแผนและจัดการ
ส่วนการใช้งานทักษะทั้ง 4 ก็เพียงตั้งคำถาม Why? และ How? ด้วยมุมมองที่หลากหลายที่สุด… ซึ่งคำตอบจะ “คลอด” ออกมาแน่นอนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง!
References…