กรอบแนวคิดที่สร้างกลไกทางการศึกษาแบบให้ความรู้เชิงปริมาณ หรือ Mass Education ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนจำนวนมากด้วยชุดความรู้เดียวกัน โดยมีผู้เรียนเป็นเหมือน “ผลผลิต” จากโรงงาน ที่มีความรู้และประประสบการณ์ตามหลักสูตร หรือ Syllabus ที่เรียนมาเหมือนๆ กัน ไม่ต่างจากคุณสมบัติของสินค้า หรือ Products Specification ที่ออกมาจากโรงงาน… ในขณะที่การสอบก็ไม่ได้มีอะไรต่างจากขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ หรือ QC หรือ Quality Control… โดยมีปริญญาเป็นเหมือนใบรับประกันสินค้าที่ติดชื่อสถาบันการศึกษา ซึ่งมีความเป็นแบรนด์ หรือ Brand อยู่เต็มรูปแบบด้วย
การจัดการศึกษาแบบ Mass Education ทั้งในวิถีเก่าเข้าชั้นเรียน หรือแม้กระทั่งวิถีใหม่ใช้แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะ eLearning… MOOC… Blend Education หรือ Hybrid Learning ซึ่งถ้าทุกๆ แนวทางของวิธีและเครื่องมือที่ใช้เพื่อจัดให้มีกลไกทางการศึกษา ยังคงออกแบบและดำเนินการด้วยโครงสร้างเพื่อปูพื้นฐานเหมือนๆ กันให้ได้มากที่สุด แล้วก็จัดสรรผ่านระบบการศึกษา ตั้งเกณฑ์ ออกกฏ โดยมีเพียงคนหยิบมือเดียวคอยจัดการระบบการศึกษาด้วยดุลพินิจ… ซึ่งก็จบลงที่การเรียนตามกรอบที่ระบบวางไว้ และ การสอบเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ที่วางเอาไว้… เมื่อพ้นจากระบบการศึกษานี้ไปก็ตัวใครตัวมัน
ประเด็นก็คือ… ระบบการศึกษาถือเป็นระบบที่ใช้งบประมาณแบบ “ถมไม่เต็ม” มานาน แล้วยังตามมาด้วยค่าเทอมแพงสำหรับนักเรียน ในขณะที่ครูอาจารย์กลับได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ จนเห็นทั้งครูและนักเรียนต่างก็กู้หนี้ยืมสินเพื่อให้ได้อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งตัวเลข Students Loan จากเวบไซต์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ณ กลางเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 มีมากถึง 6,206,983 บัญชี ส่วนหนี้สินครูมีตัวเลขที่คุณรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงไว้ว่าไม่กี่วันก่อนหน้านี้ว่า… มีครูประมาณ 9 แสนคน หรือ 80% ของครูทั้งประเทศเป็นหนี้ และ มีหนี้รวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งความเคลื่อนไหวเพื่อจัดการหนี้สินครูในปี 2022 กำลังดำเนินการด้วยความหวังอีกครั้ง… แต่ตัวเลขเชิงเศรษฐศาสตร์ในระบบการศึกษาชุดนี้เพียงชุดเดียว ก็ถือว่าแนวทางการจัดการศึกษาแบบที่ทำกันมาและเป็นอยู่ ได้ทำให้เกิดการล้มละลายอย่างชัดเจนทั้งครูและนักเรียน
การพูดกันเรื่องปฏิรูปการศึกษาด้วยการโอบอุ้มแนวทางเก่า แล้วเติมเทคโนโลยีใหม่ไปเพิ่มศักยภาพให้ระบบ โดยยังคงความเป็น Top-Down Management… สอนให้เท่าเทียมมากๆ สอบให้เข้มข้นเยอะๆ ก่อนจะออกใบรับประกันให้ถือเข้าสู่ตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพ… มันใช่แล้วจริงหรือที่จะพัฒนาคนกันแบบนี้?
วิสัยทัศน์การพัฒนาระบบการศึกษายุคถัดไปจึงมีการพูดถึง Student Hybrid Experience หรือ บูรณาการประสบการณ์ให้ผู้เรียน… โดยเฉพาะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ และ ผู้ปกครองที่ต้องการจัดโครงสร้างการพัฒนาความรู้ และ ฝึกประสบการณ์เพื่อเป้าหมายการประกอบอาชีพ หรือ ใช้ทักษะความรู้เหล่านั้นในตลาดแรงงาน โดยไม่ล่มจมไปกับกลไกการศึกษาที่หวังพึ่งอะไรได้ยากมาก และ จบลงที่ทุกฝ่ายในระบบนิเวศต้องดิ้นรนกันหมด
ต้นปี 2016… Professor Dr.Shirley McGuire ในฐานะ Senior Vice Provost for Academic Affairs หรือ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จาก University of San Francisco ได้ก่อตั้ง Student Hybrid Experience Advisory Board หรือ SHE Advisory Board ขึ้น เพื่อหาแนวทางออกแบบหลักสูตรแกนกลาง หรือ Core Curriculum ที่จะนำไปสู่การจัดการศึกษาในระดับ Hybrid Experience ที่สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องเปิดกว้างให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะเรียนและฝึกทักษะเพื่อประกอบอาชีพและเข้าสู่ตลาดแรงงานตามเป้าหมาย
ในทางเทคนิค… Hybrid Experience จะเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงหลักสูตร บทเรียน และ โปรแกรมพัฒนาทักษะอย่างยืดหยุ่นด้วยการให้สิทธิ์การออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมี Learning Experience Platforms หรือ LXP ที่เปิดกว้างเชื่อมโยงถึงโปรแกรมทางการศึกษาข้ามสถาบัน หรือ ข้ามแพลตฟอร์ม รวมทั้งข้ามชาติได้ด้วย ถูกเตรียมไว้เป็นทรัพยากรทางการศึกษาหลัก
สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในการจัดการกลไกทางการศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้จึงตรงไปที่… การยกระดับ LMS หรือ Learning Management Systems ที่เคยเป็นหัวใจของ eLearning มายาวนาน… จะถูกทดแทนด้วย LXP หรือ Learning Experience Platforms ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ได้สูงสุด ซึ่งได้เริ่มต้นการเชื่อมโยงเพื่อหลอมรวมเป็น “Humanities Knowledge หรือ ภูมิปัญญาแห่งมนุษยชาติ” ที่เทคโนโลยีทางการศึกษา และ อารยธรรมอินเตอร์เน็ตของมนุษย์กำลังทำการเปลี่ยนแปลงผ่านคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง… ซึ่งอุปสรรคในวิวัฒนาการนี้มีอย่างเดียวคือ คนบางรุ่นที่ยังอยู่ใน Comfort Zone โดยไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยลืมไปว่า… แค่ผ่านไปห้าปีสิบปีก็ถือว่าตามหลังการเปลี่ยนแปลงอย่างมากแล้ว
รายละเอียดของ Learning Experience Platforms หรือ LXP ยังมีแง่มุมอีกมากให้พูดถึง… วันนี้ขอจบแค่แนะนำ Keyword พอหอมปากหอมคอกันก่อน… ส่วนท่านที่สนใจแนวคิด LXP ในรายละเอียดเชิงฟังก์ชั่นบนแพลตฟอร์ม… ดูคลิปแนะนำ Valamis Learning Solution น่าจะได้ Concept ของ LXPs ที่เราต้องเริ่มคิดกันแล้ว หรือ อยากหาเพื่อนคุยลึกๆ ก็แนะนำทางไลน์ส่วนตัวที่ ID: dr.thum ครับ!
References…