การเป็นครูอาจารย์ที่เตรียมการสอนเต็มที่… ซึ่งคำว่าเต็มที่คือทุ่มเทเตรียมทั้งหลักสูตรและแนวทางตามหลักสูตร เตรียมทรัพยากร และใช้เวลามหาศาลกว่าจะได้ชุดสอนที่มั่นใจว่า “ลูกศิษย์” จะต้องได้ทั้งหมดที่ครูเตรียมมามอบให้กลับไป
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ… ลูกศิษย์ที่เรียนรู้จนบรรลุวัตถุประสงค์จริงๆ มีน้อยมากในโรงเรียน หรือแม้แต่โปรแกรมฝึกอบรมให้คนวัยทำงานและการศึกษาผู้ใหญ่ และที่แย่กว่านั้นคือ การเรียนการสอนทั้งหลักสูตรตลอดทั้งเทอม ล้มเหลวเปล่าประโยชน์ทั้งครูและนักเรียนอย่างสิ้นเชิงก็มีให้เห็นเสมอ
Dr.Tina Seelig ผู้เขียนหนังสือ inGenius: A Crash Course on Creativity และ Creativity Rules: Get Ideas Out of Your Head and into the World พูดถึงนักศึกษาของเธอที่ลงทะเบียนเข้าโปรแกรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่เธอจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับ Ivy League อย่าง Stanford University หรือ Harvard ว่า… เธอเคยได้ข้อความจากนักศึกษาบางคนว่า เขาไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่หลงมาเรียนกับเธอ… ซึ่งกรณีของ Dr.Tina Seelig ยังถือว่าโชคดีที่นักศึกษา Feedback กลับมาบ้าง
เรื่องเรียนไม่เข้าใจในชั้นเรียนทั่วไปก็คงไม่ต่างกัน… นักเรียนนักศึกษาหรือผู้เรียนส่วนใหญ่ ต่างไม่บรรลุวัตถุประสงค์จากชั้นเรียน แต่ก็ออกจากห้องเรียนไปเพราะหมดเวลา และส่วนใหญ่ไม่กลับมาบอกผู้สอนด้วยซ้ำว่าที่เรียนนั้นไม่รู้เรื่อง… และบ่อยครั้งของการสนทนาระหว่างนักเรียนหรือผู้เรียนด้วยกัน จะตำหนิผู้สอนหรือหลักสูตรว่าเป็นต้นเหตุทำให้พวกเขาเรียนไม่รู้เรื่อง
ในหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ก็ดูเหมือนจะเริ่มต้นค้นหาแนวทางเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งฝั่งผู้สอนก็ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ และฝั่งผู้เรียนก็ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ไม่ต่างกัน
ในบทที่ 1 Preparation ในหนังสือ The Student Mindset จึงเริ่มต้นที่ The Learner’s Manifesto หรือถ้อยแถลงจากผู้เรียนว่าด้วยวิสัยทัศน์ หรือ Vision ของผู้เรียนเอง… ท่านที่เป็นครูอาจารย์และเคยเตรียมสอนมาก่อนจะทราบว่า ฝั่งผู้สอนทำบทเรียนและหลักสูตรด้วยวิสัยทัศน์ของผู้สอนมาอย่างดีเสมอ แม้ว่าหลายกรณีจะเป็นวิสัยทัศน์จากยอดปิรามิดก็ตาม
ประเด็นการให้นักเรียนเขียน Manifesto ในทางปฏิบัตินั้น แท้จริงเป็นกลยุทธ์การเตรียมสมองของผู้เรียน ผ่านการ “บันทึกเจตนาลงสมุดบันทึกของผู้เรียน” ก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น… จะตั้งใจเรียนตลอดชั่วโมง… จะลอกตัวอย่างบนกระดานให้ครบ… จะกลับไปทำแบบฝึกหัดต่อ… จะรวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่ออภิปรายกรณีศึกษาตัวอย่างและแบบฝึกหัด เป็นต้น
การผลักดันให้ผู้เรียน เขียนถึงสิ่งที่พวกเขาตระหนักเห็นความสำคัญของสิ่งที่จะเรียน แม้หลายๆ มุมมองและทัศนคติจากผู้เรียน อาจจะไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การทำหลักสูตรและบทเรียน หรือแม้แต่วิสัยทัศน์ของผู้สอนเองก็ตาม… แต่ผู้เรียนได้เริ่มต้นปฏิสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการเรียนไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเขียน Manifesto หรือประกาศเจตนาของตนลงสมุดบันทึก
ในหนังสือ The Student Mindset อธิบายการเขียนวิสัยทัศน์ของผู้เรียนด้วยการประกาศถ้อยแถลงลงสมุดบันทึกนี้ว่า… เป็นการพาผู้เรียนกลับไปที่ Beginer’s Mind หรือ ตั้งสติใหม่… ซึ่ง Beginder’s Mind จะมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
- Discard Fear Of Failure หรือโยนทิ้งความกลัวการล้มเหลว
- Be Comfortable With “I Don’t Know” หรือ สบายๆ กับเรื่องที่ฉันไม่รู้
- Seek Out Divergent Thinking หรือ แสวงหาความคิดที่แตกต่าง
- Be Curious And Enquiring หรือ อยากรู้อยากเห็นและตั้งคำถาม
- Ready To Receive Whatever Happens หรือ พร้อมรับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม… สาระสำคัญจริงๆ ของการสนับสนุนผู้เรียนให้เขียน Manifesto จะมุ่งไปที่ “แรงบันดาลใจที่เพียงพอต่อการการเตรียมตัวเรียนรู้ของผู้เรียน” ซึ่งครูอาจารย์ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า ขอแค่ผู้เรียนตั้งใจเรียนและเข้าใจวัตถุประสงค์ที่จะเรียน… การเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์จะเป็นไปได้อย่างดีแน่นอน… ยิ่งถ้าผู้เรียนตั้งใจ “เรียนด้วยแรงบันดาลใจ” ด้วยแล้ว การเรียนการสอนระดับบรรลุวัตถุประสงค์อาจจะน้อยเกินไปที่จะนิยามผลการเรียนด้วยการขับเคลื่อนขั้นนี้
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นไม่ง่ายในทางปฏิบัติ ที่จะให้ผู้เรียนเขียนนั่นเขียนนี้ก่อนเรียน… เอาแค่ปัญหาเรื่องเวลาและบริบท ก็คงได้ถกกันเป็นวันๆ สำหรับมุมมองฝั่งผู้สอน ส่วนมุมมองฝั่งผู้เรียนที่พฤติกรรมและบริบทผู้เรียนเอง ยังถือเป็นความไม่สมบูรณ์แบบ หรือข้อบกพร่อง หรือ Glitches ที่มีอยู่โดยธรรมชาติของนักเรียนหรือผู้เรียนส่วนใหญ่… การทำ Manifesto จึงควรมีกิจกรรม “ละลายพฤติกรรม” เพื่อให้ผู้เรียน “ปิดโอกาสที่จะบกพร่องโดยธรรมชาติ” ก่อนนั่นเอง… ในหนังสือ The Student Mindset จึงเสนอกิจกรรมปรับทัศนคติ หรือ Attitude Activity ไว้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวิสัยทัศน์ให้ผู้เรียน
ถึงตรงนี้ผมจะไม่ก้าวล่วงเนื้อหาในหนังสือ ส่วนที่เป็น “เครื่องมือ” ซึ่งการแปลเครื่องมือหรือการใช้เครื่องมือ Attitude Activity ในหนังสือ The Student Mindset ถือเป็นขั้นการนำใช้งาน ซึ่งเป็นงานลิขสิทธิ์ที่ต้องเคารพ และเกินจำเป็นที่จะเรียนรู้ผ่านบทความที่สรุปมาแบบที่ท่านอ่านอยู่นี้… ถ้าท่านสนใจจริง และยังไม่พร้อมจะเรียนรู้การใช้เครื่องมืออย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้เขียนหนังสือมีหลักสูตรให้เรียนรู้เต็มระบบอยู่… ก็สามารถทักทายพูดคุยกันหลังไมล์กับผมที่ Line: @reder ได้เสมอครับ
อ้างอิง