person s left hand holding green leaf plant

Sustainability Cycle and Sustainability Management Process… วงจรความยั่งยืนและขั้นตอนการจัดการ #SustainableFuture

แง่มุมของการตัดสินใจซึ่งมีพื้นฐานมาจาก “การชั่งผิด–ชั่งถูก และหรือ การประเมินผลได้–ผลเสีย” โดยอาจจะมีมิติเรื่องกรอบเวลาซึ่งผิด–ถูก–ได้–เสียเหล่านั้นได้เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างไร และ อนาคตอย่างไรด้วย… ซึ่งการประเมินผิด–ถูก–ได้–เสียยาวไปถึงอนาคตโดยแก้ไขหลีกเลี่ยง “สิ่งที่ผิดทั้งหมด และ ผลเสียทุกทาง” นี่เองที่เรียกว่าความยั่งยืน

ประเด็นก็คือ… องค์ประกอบความยั่งยืนเกือบทั้งหมดไม่ได้เป็นปัจจัยค่าคงที่ หรือ ไม่ได้เป็นตัวแปรค่าเดียว และ ต้องเป็นปัจจัย หรือ ตัวแปรที่สามารถดำรงสภาพอยู่ได้ในอนาคต โดยยังคงทำหน้าที่ในห่วงโซ่เดิมได้ดีดั่งเดิม ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เชื่อมโยง และ วนเวียนเป็นวงจรความยั่งยืน หรือ Sustainability Cycle โดยไม่ต้องการชดเชยปัจจัย หรือ ตัวแปรนอกวงจรจากการพร่องสมดุลย์

อย่างไรก็ตาม… ความยั่งยืน หรือ Sustainability ภายใต้ความรับผิดชอบ และ การตัดสินใจของคนส่วนใหญ่มักจะมีวงจรซับซ้อนจากกิ่งก้านของผลกระทบระยะยาวที่ “ปัจจัย หรือ ตัวแปร” ซึ่งเกือบทุกกรณีมักจะพบผลกระทบข้ามวงจรไปถึงระบบนิเวศได้ด้วย เช่น การตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ ซึ่งต้องทำจากแปลงนาที่ต้องควบคุมสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดต่อเนื่องไปหลายปี และ ยังต้องยื่นขอการรับรองซึ่งไม่เป็นมิตรกับเกษตรกรที่ยังทำนาไม่พอกิน และ กลัวการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่ยังเห็นอนาคตไม่แน่นอน

การมองผลได้ระยะสั้นในกรณีการใช้สารเคมีทางการเกษตร จึงถือเป็นตัวอย่างการตัดสินใจ “ข้าม หรือ ไม่สนใจผลกระทบในอนาคต” ที่จะต้องอาศัยสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่ผลผลิตที่ได้ก็ยากจะเพิ่มพูนในเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ ซึ่งกระทบถึงอนาคตลูกหลานของเกษตรกรจนเห็นการอพยพเข้าเมืองใหญ่ และ ย้ายถิ่นอาศัย… รวมทั้งการบุกรุกป่าเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาหลักแหล่งทำกินใหม่ โดยมีตัวเลขการบุกรุกที่ดินในระบบนิเวศธรรมชาติเพื่อทำการเกษตรทั่วโลก… เพิ่มขึ้นทุกปี

บทสรุปจาก ดร.ปิยะพันธ์ ทยานิธิ ซึ่งเผยแพร่บนเวบไซต์ Forbesthailand.com เรื่องวงจรความยั่งยืนชี้ว่า… ประเด็นหลักในการตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเป็นเรื่อง “ความสำเร็จทั้งในปัจจุบัน และ อนาคต” ซึ่

ต้องมีคุณสมบัติในการดำรงรักษาสภาพของตนเองทั้งภายใน และ ภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของธรรมชาติ และหรือ สภาพแวดล้อม ซึ่งวนไปกับวงจรการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งส่วนบุคคล ธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

ส่วนแนวทางการผลักดัน “สร้างความยั่งยืน” ในระดับนโยบายนั้น… โดยส่วนตัวชื่นชมความพยายามของหลายๆ ฝ่ายที่พูดคุยกันเรื่อง Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Capital Market Development ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้เผยแพร่แนวทางการพัฒนาธุรกิจภายใต้กรอบความยั่งยืน ซึ่งเป็นกรอบระดับมาตรฐานสากลในการดำเนินธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน และ นำมาซึ่งความเสี่ยงกับโอกาส… ซึ่งธุรกิจต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงยั่งยืน

ธุรกิจหรือองค์กรใดๆ ที่สนใจกรอบแนวทางการ “สร้างความยั่งยืน” ที่เป็นรูปธรรม… ลองเริ่มต้นที่ Sustainability Management Process ของ ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นข้อมูลแรกได้เลย… ส่วนลำดับถัดไปก็จะทราบเองว่าต้องวิเคราะห์อะไรผ่านปัจจัย หรือ ตัวแปรอะไรและอย่างไร

Sustainability Management Process โดย ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Capital Market Development ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts