Sustainable Finance 2023… ความเคลื่อนไหวด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนปี 2023 #SustainableFuture

ปี 2023 ถือว่าเป็นปีแห่งความท้าทายทางเศรษฐกิจ การเงิน และ การลงทุน ซึ่งตัวแปรทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนทุกตัวได้ถูกติดตาม และ เฝ้าระวังจากสถาบันหลักๆ ทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งต่างก็เคลื่อนไหวทำหน้าที่ของตนอย่างเข้มข้น และ เฝ้าระวังตัวแปรความเสี่ยงอันเปราะบางทุกตัวอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตาม และ ดำเนินการต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกันอย่างใกล้ชิด… โดยเฉพาะการดำเนินการผ่านตัวแปรทางการเงิน อันเป็นแกนของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ และ เป็นต้นทางของการปรับเปลี่ยนสร้างทำเกือบทุกอย่างผ่านการลงทุนทุกรูปแบบ… โดยต่างก็ยกเอาแนวทาง “การเงินเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Finance” มากำหนดทิศทางใหม่เพื่อเปลี่ยนผ่านหลายอย่างที่มุ่งผลักดันเป้าหมายความยั่งยืนในทุกเป้าหมายให้บรรลุขั้นต่างๆ ที่จะนำการเป็นอยู่ที่ยั่งยืนมาสู่โลกของเรา

คำถามสุดท้าทายผ่านข้อมูลเผยแพร่จากเวบไซต์ SDG Move โดย คุณฎาฎะณี วุฒิภดาดร และ คณะ ถึงการเงินเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Finance ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนประเทศต่างๆ สู่การพัฒนามนุษย์ และ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals หรือ SDGs ได้อย่างไร?… ซึ่งคำถามนี้เป็นข้อสงสัยสำคัญสำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในยามที่จะต้องเผชิญ “ผลกระทบ” จากวิกฤตครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดในช่วงปลายปี 2019… การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติต่างๆ เกือบตลอดเวลา… สงคราม และ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก… โดยปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ล้วนก่อผลกระทบขัดขวางความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างน่ากังวล… 

อย่างไรก็ตาม… ผลกระทบจากวิกฤตเหล่านี้ได้ช่วยตอกย้ำความจำเป็นเร่งด่วน และ โอกาสในการวางกรอบงานทางด้านการเงินที่เหมาะสมต่อการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นได้มาก… โดยเฉพาะแนวทางการรวมพลังด้วยการ “ประสานเงินทุนของทั้งภาครัฐและเอกชน” เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ได้ภายในปี 2030… ซึ่งทั้งหมดต้องใช้เงินทุนในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ และ สอดคล้องกับ SDG ทั้งในระดับประเทศ และ ระดับท้องถิ่น อันเป็นเงินทุนที่มาจากทุกแหล่งทุนที่เป็นไปได้… โดยมีข้อเสนอแนะจากบทความของคุณฎาฎะณี วุฒิภดาดร และ คณะ ต่อประเทศไทยเพื่อส่งเสริมบทบาทของภาคการเงินภายใตการมุ่งเป้าความสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้น 3 ประเด็นสำคัญ คือ…

ประเด็นแรก… ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกรอบการเงินแบบครบวงจร และ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เพื่อให้การลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน สามารถส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จริง

ประเด็นที่สอง… ประเทศไทยควรใช้ประโยชน์จากเงินทุนของภาคเอกชนมากขึ้น ผ่านโอกาสทางการลงทุนที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม

ประเด็นที่สาม… ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์การเงินเพื่อการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม และเพื่อบริหารผลกระทบจากความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

ท่านที่สนใจรายละเอียดกรอบแนวคิดการเงินเพื่อความยั่งยืนตามข้อเสนอข้างต้น… ซึ่งเป็นกรอบการขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านการลงทุนทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคของประเทศเป็นสำคัญ ท่าสารมารถ คลิกที่นี่เพื่อศึกษาจากข้อมูลต้นฉบับได้โดยตรง เพราะข้อมูลค่อนข้างมาก และ มีหลายมิติตัวแปรที่ถูกพูดถึงอย่างน่าสนใจ

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts