Sustainable Housing… เคหะสถานบ้านเรือนอันยั่งยืน #SustainableFuture

สถานที่ใดที่ถูกปรับเปลี่ยน หรือ เปลี่ยนแปลงเพิ่ม–ลด–มี–ไม่มีไปจากสภาพเดิม สิ่งแวดล้อมในบริเวณเดียวกันนั้นก็มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องตามเหตุและผลกระทบที่ได้รับต่อๆ กันไปเสมอ… การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์บนดาวโลกอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามพันปีมานี้ จึงสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อมบนดาวโลกมากมายจากการ “กิน–ใช้” ทรัพยากรบนโลกตลอดเวลากันมานานนับพันปี ซึ่งได้พามนุษยชาติมาถึงจุดที่ต้องจริงจังกับสิ่งแวดล้อม ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะพัฒนาไปถึงจุดที่ “สิ่งแวดล้อมสร้างผลกระทบย้อนกลับใส่มนุษย์” จนไม่อาจจะอยู่อาศัยบนโลกใบนี้ต่อไปได้

ปัญหาเรื่อง “กิน–ใช้” ขั้นพื้นฐานที่เรียกว่าปัจจัย 4 อย่างอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เวชภัณฑ์ และ ที่อยู่อาศัย ซึ่งมนุษย์หนึ่งคน “กิน–ใช้” ทรัพยากรในกลุ่มปัจจัย 4 ตลอดอายุขัยไปมากมาย โดยทั้งหมดได้สร้างผลกระทบถึงดินน้ำและสภาพอากาศจนมนุษยชาติ กับ สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้เปลี่ยนแปลงมาถึงจุดที่ทุกคนมองเห็นหายนะอยู่เบื้องหน้าเหมือนกันหมด

ประเด็นก็คือ… มนุษย์สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนเมื่อต้อง “ก่อสร้าง” บางอย่างในทุกๆ แห่งหน ทั้งที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิตเพื่อเป็น “เคหะสถาน หรือ Housing” และ ที่ถูกใช้เป็น “โครงสร้างพื้นฐาน” เพื่ออำนวยโอกาสใหม่ๆ ที่จะถูกพัฒนาขึ้นบนฐานของการเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์… จนกลายเป็นชุมชน เมือง และ มหานครไปทุกมุมโลก… โดยสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์ดัดแปลงธรรมชาติให้กลายเป็นถิ่นอาศัยถาวรสำหรับทุกๆ วัตถุประสงค์ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบนิเวศในบริเวณเดียวกันอย่างชัดเจนจนเห็นสภาพของชุมชน และ เมือง แตกต่างจากสภาพของอุทยาน หรือ เขตป่าสงวน หรือ แม้แต่พื้นดินเปล่าๆ แบบที่เคยเป็นมาก่อนหน้านั้นอย่างชัดเจน

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่จริงๆ ที่ต้องพูดถึงอย่างจริงจังอีกเรื่องหนึ่งจึงข้ามเว้นเรื่อง “การก่อสร้าง” ที่ยังสำคัญกับการพัฒนาสังคมและชุมชนมนุษย์อย่างมากไม่ได้เลย… โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อใช้เป็นเคหะสถานที่มนุษย์ “ต้องใช้” เป็นฐานในการสร้างคุณค่า และ ปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญกับการดำรงค์ชีวิต และ การดำรงค์อยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ควรจะมีอยู่ต่อๆ ไปอีกนาน… 

การเปิดประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่เกี่ยวกับ “เคหะสถานอันยั่งยืน หรือ ​​Sustainable Housing” ซึ่งเริ่มต้นที่ปัจจัยพื้นฐานการดำรงค์ชีวิตด้าน “ที่อยู่อาศัย” ที่สมควรถูกพิจารณาปัจจัยความยั่งยืนทั้งในการก่อสร้าง และ การใช้สอย… โดยหาทางแบ่งปันภูมิปัญญาในวิทยาการที่เกี่ยวข้อง อันสร้างผลกระทบเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้ง Ecological Footprint หรือ รอยเท้าที่เหยียบย้ำบนระบบนิเวศน์ให้เสียหาย อย่างกรณีของตึกรามบ้านช่องในเมืองหนึ่งที่สร้างขึ้นจากป่าไม้หรือหินดินทรายจากอีกที่หนึ่งเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม… แนวคิดหลักในประเด็น Sustainable Housing ยังสำคัญที่สุดในพื้นฐานของการเป็น “ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย” ซึ่งการสำรวจประชากรในหลายพื้นที่ทั่วโลกพบปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยในครอบครัวที่มีรายได้น้อย มักจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ และ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากคุณภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่ดี… 

Sustainable Housing จึงมุ่งไปที่การสร้างที่อยู่อาศัยให้พอเพียงต่อประชากรโลก เพื่อให้มี “ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยกับการดำรงค์ชีวิตของทุกคน” โดยไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมเกินจำเป็น… ซึ่งการมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และ ดีพอ จะกลายเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนากรอบความยั่งยืนเป้าหมายอื่นๆ ได้ดีกว่าเดิม… ส่วนประเด็นการเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และ ระบบนิเวศดั้งเดิมจากการก่อสร้าง และ ปลูกสร้าง… พวกเรามีองค์ความรู้ และ เทคโนโลยี กับ นวัตกรรมมากพอที่จะสร้างบ้านให้เป็นมิตรกับผู้คน และ โลกใบนี้ให้เลือกใช้มากมาย

ในปัจจุบัน… ความเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมในประเด็น Sustainable Housing นอกเหนือจากแนวคิด Smart Cities อันหลากหลายเป้าหมายบนตัวชี้วัดที่ต้องเป็นมิตรกับการอยู่อาศัย และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอยู่แล้ว… ดูเหมือนยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปภายใต้ “กฎบัตรไลพ์ซิก หรือ Leipzig Charter” อันเป็นส่วนหนึ่งของ EU Housing Agenda Partnership on Housing จะน่าสนใจมากที่สุดในขณะนี้… เพราะ Leipzig Charter มุ่งเป้าให้ประเทศและเมืองในสหภาพยุโรป ได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เพื่อส่งเสริม “ที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพดี และ ราคาไม่แพง” ผ่านการออกมาตรการต่างๆ ที่ถูกเสนอไว้… ซึ่งการพูดถึง Sustainable Housing ในกรอบ Leipzig Charter จะคำนึงถึงการก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืน… ลดการใช้พลังงาน และหรือ ผลิตพลังงานจากเทคโนโลยีสีเขียวใช้ภายในอาคารได้… ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา… เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแวดล้อม รวมทั้งการออกแบบฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกมากมายภายใต้บริบทการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนได้จริง เช่น การใช้น้ำฝน การลดน้ำเสีย การสร้างและปรับภูมิทัศน์ด้วยแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ยั่งยืน… เป็นต้น

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts