best candidate or job human resources

T–Shaped Leadership… ภาวะผู้นำในองค์กรที่ล้ำเลิศ #ExtremeLeader

ผู้นำเก่งๆ ในมุมมองทั่วๆ ไปจะหมายถึงผู้นำที่มีผลงานระดับสร้างการเปลี่ยนแปลงจากไม่มีเป็นมี และ มีเป็นมหาศาล แต่ที่ต้องเข้าใจให้ชัดเจนก็คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านบวกที่เกิดขึ้นทั้งหมด “ไม่ใช่ผลงานเพียงลำพังของผู้นำ” เพราะการเป็นผู้นำแปลว่ามีคนอื่นๆ อีกมาก “ตามทำ” สิ่งเดียวกับที่ผู้นำจะทำ และ มุ่งมั่นทำ ซึ่งต่างจาก “คนเก่ง” ที่ทำอะไรคนเดียวได้เท่าผลงานจากคนหลายคน… โดยคนเก่งที่มีความสามารถในการ “ผลิตผลงาน” ได้เทียบเท่าคนหลายคนส่วนใหญ่ก็มักจะมี “ความรู้ และ ทักษะ” เท่าที่คนหลายคนมีอยู่ในตัวคนๆ เดียว… ซึ่งจะรู้ลึก และ รู้เยอะ หรือ รู้กว้าง แบบ T-Shaped Skills

เมื่อคนเก่งได้ถือภาวะผู้นำ… การเปลี่ยนแปลงในทางบวกที่เกิดขึ้นเป็นผลงานในระดับทีม จึงมักจะกว้าง ลึก และ น่าตื่นตาอย่างชัดเจน

Tim Brown ในฐานะ CEO ของ IDEO ซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาติที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเชิงนวัตกรรม หรือ Innovative Design และอยู่เบื้องหลังนวัตกรรมพลิกโลกมากมาย ที่ลูกค้ากระเป๋าหนักจ้าง IDEO ทำงานยากๆ และ ละเอียดอ่อน เพื่อสร้าง S-Curve ให้ธุรกิจทั้งในฐานะที่ปรึกษา และ Outsource

เคล็ดลับสำคัญที่ IDEO มีต่างจากธุรกิจที่ปรึกษา และ รับงานออกแบบอื่นๆ จนได้ชื่อว่าเป็น Innovative Design Studio อันดับหนึ่งของโลกก็คือ… Tim Brown เลือกจ้างแต่พนักงานที่มี T-Shaped Skills เข้าทีม โดยต้องเชี่ยวชาญในวิชาชีพหลักชนิดหาตัวจับยาก และ ยังต้องรอบรู้ข้ามสายวิชาชีพของตน โดยนำมาบูรณาการกันได้ไม่รู้จบ… โดยแนวคิด T-Shaped เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1980 ซึ่ง McKinsey & Company ยกเป็นคำแนะนำสำคัญในการปรับโครงสร้างองค์กรที่ทำงานกับแบบไซโล หรือ องค์กรที่ทำงานแบบ “สายใครสายมัน” จนทำให้องค์กรขาดประสิทธิภาพ และ เกิดโครงสร้างการจัดการแบบรวมศูนย์จนขาดประสิทธิภาพ

Professors Ranjay Gulati และ Professors Amy Edmondson จาก Harvard Business School เสนอว่า… T-Shape เป็นเรื่องภาพรวมระดับองค์กร และ เป็นความสามารถในการจัดการข้ามขอบข่ายความเชี่ยวชาญเพียงด้านใดด้านหนึ่ง โดยเฉพาการประสาน I-Shape หรือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากสมาชิกองค์กร หรือ ทีมเข้าด้วยกัน

Professor Andy Boynton จาก Boston College ก็เคยให้ความเห็นผ่านนิตยสาร Forbes ไว้ในเดือนตุลาคม ปี 2011 เช่นกันว่า… ทักษะแบบรู้ลึก และ รู้เยอะ หรือ T-Shaped Skills มีความสำคัญกับองค์กรสมัยใหม่ ซึ่งมันดีกว่าการมีทักษะเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างชัดเจน… โดยองค์กร หรือ ผู้นำองค์กรควรทำหน้าที่ชี้แนะ และ เปิดทางให้เกิดการพัฒนา T-Shaped Skills สำหรับ “ทุกๆ คน” ในองค์กร

ประเด็นก็คือ… T-Shaped Leadership จะมีความหมายเกิน T-Shaped Skills ในตัวผู้นำเท่านั้น โดยผู้นำยังต้อง “หาคน และ สร้างคน” ให้มี T-Shaped Skills หรือเป็น T-Shaped Professionals ให้มีอยู่ในองค์กรมากๆ หรือ ทั้งหมดเลยเหมือนที่ Tim Brown จาก IDEO สร้างเป็นมาตรฐานแรกของคุณสมบัติพนักงานเอาไว้… จน IDEO มีผลงานที่สำนักออกแบบอื่นๆ ทำไม่ได้ หรือ ทำไม่สำเร็จมากมายจนถึงปัจจุบัน

แต่สิ่งที่ผู้นำต้องไม่ลืมก็คือ… T-Shaped Professional แบบติดตัวเป็นพรสวรรค์จนโชคดีมาเจอกันนั้นมีน้อยมาก… และคนความรู้กว้างขวาง แต่ กว้างไปคนละทิศทางกับเป้าหลักของหมายองค์กร ก็ป่วยการที่จะนำมาขัดเกลาให้เชี่ยวชาญ… โดยประสบการณ์ส่วนตัวในกรณีการวางแผน “พัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เพื่อให้องค์กรมีทีมเป็น T-Shaped Professional เพิ่มขึ้น… จึงควรเลือก “คนรู้ลึกที่พร้อมเรียนรู้” มาฝึกงานร่วมกับทีมอื่นนอกความเชี่ยวชาญของเขา… หรือ ถ้ามีคนแบบรู้ไปหมดเหมือน Google และ อายุยังไม่มากจนดัดยาก ก็ควรพิจารณา “ให้ทุน ส่งเรียน” ตามความเหมาะสมเพื่อให้กลับมาทำงานได้แบบคนรู้ลึก

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือการทอดทิ้งคนรู้ลึกรู้กว้างให้ขาดทรัพยากรในการผลักดันผลงาน และ จองจำทักษะความสามารถของพวกเขาเอาไว้กับความกลัว หรือ ความเห็นแก่ตัวของผู้นำจนกลายเป็นทรัพยากรไร้ค่า… และผมบอกได้เลยว่านั่นคือการโยนทิ้งโอกาสอย่างขลาดและเขลาสุดๆ แล้ว

ราชาคนเก่งจะไม่มีวันเอาอัศวินมาเทกระโถน… อย่าได้คิดทำ!

Thanks A Million: Crystal Schaffer, Senior Moderator and Instructional Designer, Harvard Business Publishing.

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts