Healthy Feedback… คำชี้แนะภายหลังแบบที่ดีต่อสุขภาวะในองค์กร #ExtremeLeadership

การให้คำชี้แนะภายหลัง หรือ การให้ Feedback ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสาร และหรือ การสนทนาเพื่อ “แสวงหาความพึงพอใจระหว่างกัน” ของ “ผู้เสนอข้อชี้แนะ กับ ผู้รับการชี้แนะ” โดยให้ถือว่าข้อชี้แนะจากผู้เสนอเป็นการ “ติชมโดยสุจริต” ไม่ว่าจะติชมด้วยข้อเท็จจริง หรือ บอกกล่าวชี้แนะด้วยข้อมูลใหม่… ซึ่ง “ผู้รับการชี้แนะ” ควรรับฟังทั้งหมดอย่างเข้าใจเจตนาอันสุจริต ก่อนจะยอมรับข้อชี้แนะนั้น และหรือ ชี้แจงแบ่งปันข้อมูลส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม… ด้วยเจตนาอันสุจริต และ ถ่อมท่าทีด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง โดยเฉพาะการให้คำชี้แนะภายหลัง หรือ การให้ Feedback ระหว่าง “เพื่อนร่วมงาน” ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็จะยังอยู่ร่วมกันเป็น “ทีม” ในองค์กรเดียวกันต่อไป

More »

กลยุทธ์การสร้างความปรองดองในองค์กร #SaturdayStrategy

ประเด็นก็คือ… ในที่ทำงานทุกแห่งล้วนมีโครงสร้างการจัดการผลตอบแทนต่อคนทำงานในแบบของตน… ซึ่งมักจะให้ผลตอบแทนได้ไม่ทั่วถึงต่อความพึงพอใจของทุกคนไม่ต่างกันทั้งองค์กรเล็กและใหญ่… ในทุกๆ ที่ทำงานจึงมีการ “แย่งชิงผลตอบแทน” ผ่านความพยายามที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการโครงสร้างผลตอบแทนที่ต้องใช้ และ ต้องได้ “อำนาจการตัดสินใจ” เพื่อให้ตนเข้าถึงผลตอบแทนที่เหนือกว่า และ อำนาจมักมีไม่พอสำหรับทุกคน จนทุกคนที่ต้องการอำนาจดังว่านั้นจำต้องแย่งชิง… ซึ่ง “ท่าทีและวิธีในการแย่งชิง” มักจะเข้มข้นเบี่ยงเบนเมื่อผ่านการแย่งชิงกันไปมา และ มักจะกลายเป็นความขัดแย้งที่หาสาเหตุไม่เจออีกเลย กระทั่งเห็นเป็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตรต่อกันในที่ทำงานอย่างชัดเจน

More »