การแสวงหาคนเก่ง และ คนมีพรสวรรค์ หรือ Talent ซึ่งมักจะมาพร้อมทักษะหลายอย่างติดตัวนั้น โดยทั่วไปถือว่าไม่ง่ายที่จะหา Talent ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการทั้งหมดได้แบบสำเร็จรูป และโดยมากก็มักจะเป็นคุณสมบัติในอุดมคติตั้งแต่ระดับหนึ่งในหมื่นไปจนถึงทั้งโลกมีอยู่ไม่กี่คน ซึ่งโอกาสที่จะหาเพื่อนร่วมงานที่ “มีของ” ขั้นเทพประมาณนั้น… แทบจะเป็นไปไม่ได้
ข่าวดีก็คือ… คนเก่งมีพรสวรรค์ หรือ Talent ที่รอการบ่มเพาะโดยยังไม่มีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ หรือ ยังไม่มี Portfolio และ ยังไม่สามารถสร้างชื่อเสียงที่ประเมินมูลค่าได้สูงส่งมากมาย… ยังคงหาเจอได้เรื่อยๆ และ ยังมีอยู่อีกมาก… เพียงแต่กลไกการทำ Talent Acquisition หรือ การสรรหาคนเก่งมีพรสวรรค์มาเข้าทีมเพื่อ “รับผิดชอบเป้าหมาย” แบบไหนและอย่างไร ก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักที่ต้องดูกันเป็นรายกรณี
แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ… คนเก่งที่ยังไม่มีพรสวรรค์ หรือ Zero Talent ซึ่งโดดเด่นจากผลงานเฉพาะทางที่ทำได้อย่างน่าชื่นชม แต่ยังไม่สามารถ “ประยุกต์ และหรือ บูรณาการผลงาน” ให้กลายเป็นผลงานที่สูงทั้งคุณค่าและมูลค่า รวมทั้งการได้มาซึ่งผลงานแบบเสกสรรปั้นแต่งได้ไม่ยาก… มักจะเฟ้นหาและพบเจอได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกทั้งใบสามารถทำให้เล็กและแคบลงได้ด้วย “Keyword and Search Engine” ซึ่งอินเตอร์เน็ตจัดสรรให้ได้… เพียงแต่คนเหล่านี้ต้องถูกขัดเกลาและโค้ชด้วยเทคนิคเฉพาะอีกพอสมควร
ประเด็นก็คือ… คนเก่งมีพรสวรรค์ส่วนใหญ่ทุกระดับทักษะ ความสามารถและผลงาน ทั้งที่เป็น Unidimensional Talents หรือ คนมีพรสวรรค์โดดเด่นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ Multidimensional Talents หรือ คนมีพรสวรรค์โดดเด่นหลายมิติขั้นเทพ ล้วนต้องการ “โอกาส” ในการพัฒนาตัวเองมากเป็นพิเศษเกือบทั้งสิ้น!
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่คำตอบจากสมมุติฐานที่ว่า… ถ้าองค์กรหรือทีมสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการ “พัฒนาตัวเองเป็นพิเศษ” ให้คนเก่งในทีม หรือ คนเก่งที่ยังไม่เข้าขั้นมีพรสวรรค์ หรือยังเป็น Zero Talent อยู่ ให้กลายเป็นกำลังหลักในการนำความสำเร็จมาสู่ทีมและองค์กร… จะได้ผลลัพธ์ความสำเร็จเทียบเท่า Unidimensional Talents และ Multidimensional Talents ผู้เก่งจริงทำผลงานได้จริงหรือไม่?
คำตอบคือ ได้! แต่… การพัฒนาทักษะประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ให้สูงขึ้นนั้น แม้จะมีความสำคัญกับการขัดเกลาและพัฒนาพรสวรรค์ให้คนเก่งทุกประเภทอย่างขาดไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่า Zero Talent ผู้มีความรู้และทักษะมากขึ้นกว่าเดิม ก็คงไม่มีทางไปสร้างผลงานอะไรต่อได้ ถ้ายัง “ขาดโอกาส” ที่จะได้สร้างผลงานอันโดดเด่นพอ
ในฐานะผู้นำที่ต้องการพลังและผลงานจากคนเก่งมีพรสวรรค์ หรือ Talent มาร่วมกันสร้างความสำเร็จ จึงจำเป็นจะต้อง “โค้ช” คนเก่งมีพรสวรรค์ที่ระบุตัวได้แล้วในทีมให้เข้าถึง “โอกาส” โดยไม่ตัดการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น และ ยืดหยุ่นกับข้อจำกัดที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อการบรรลุเป้าหมายให้ได้ดีขึ้นกว่าเดิม…
ส่วนการจัดการเป้าหมายภายใต้การนำของคนเก่งมีพรสวรรค์ หรือ Talent นั้น… หลายตำราแนะนำให้ “จัดการผ่านรายละเอียด” โดยหลีกเลี่ยงการควบคุมที่ “ปิดกั้นแบบไม่สร้างสรรค์” ทั้งปวงก่อนอื่น
References…
One reply on “Zero Talent Coaching… สอนงานคนเก่งอย่างไรให้กลายเป็นคนมีพรสวรรค์ #ExtremeLeader”
[…] Talent coaching […]