Fineding Talent

Talents Management… การบริหารคนเก่งมีพรสวรรค์

ยุคแห่งการเฟ้นหาและล่าหัวคนเก่งมีพรสววรค์ หรือ Talent มาร่วมงานในองค์กรที่กำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy… กำลังเป็นกระแสหลักสำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ ที่หวังจะขยายธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากความพร้อมด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร หรือ Information Technology เข้ามาช่วยเสริมกลยุทธ์การแข่งขันแบบเดิมๆ ที่เคยพึ่งแต่ทุนใหญ่คนเยอะสายสัมพันธ์แน่นอย่างแต่ก่อน

Reed Hastings ผู้ก่อตั้ง NetFlix และเจ้าของแนวคิดในหนังสือ No Rules Rules ที่พูดถึงการบริหารคนเก่งจำนวนมากใน NetFlix โดยไม่ต้องตั้งกฏ แต่เปลี่ยนไปใช้ Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรขับเคลื่อนผลักดันผลงานของทีมที่ถูก “คัดเลือกแต่คนเก่งมีพรสวรรค์เท่านั้น” มาร่วมงาน… ซึ่ง Reed Hastings อธิบายว่า คนเก่งมีพรสวรรค์หนึ่งคนทำงานได้มากกว่าคนเก่งทั่วๆ ไปนับสิบเท่า นั่นทำให้ NetFlix ยินดีจ่ายค่าจ้างให้คนเก่งมีพรสวรรค์ด้วยค่าตอบแทนสูงที่สุดในตลาด และยังท้าทายให้พนักงาน NetFlix เดินมาบอกได้ว่า งานในตำแหน่งที่ตนเองทำอยู่นั้น ที่อื่นจ่ายค่าแรงเท่าไหร่และจะขอค่าแรงเท่าไหร่… ซึ่งนโยบายการจ่ายค่าจ้างโดยเอาเงินที่ควรจ้างคนนับสิบคน มาทุ่มจ้างคนเก่งมีพรสวรรค์ในงานที่รับผิดชอบคนเดียว ทำให้ NetFlix มีคนเก่งทั่วโลกเดินไปสมัครเพื่อคัดตัวเข้าทำงานจน NetFlix กลายเป็นองค์กรธุรกิจที่มีแต่คนเก่งมีพรสวรรค์มาทำงานร่วมกันจำนวนมาก และเติบโตจากกิจการเช่า DVD ทางไปรษณีย์ กลายเป็นผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่งอันดับหนึ่งของโลกและกำลังจะกลายเป็นผู้ผลิต Video Contents ที่เติบโตเป็นคู่แข่งของ Disneys ที่อยู่มาเกือบร้อยปี… ในขณะที่ NetFlix มีอายุเพียงสิบกว่าปีเท่านั้น

กรณีของ NetFlix ถือเป็นกรณีศึกษาระดับเข้มข้นที่ทั่วโลกกำลัง “ตื่นตะลึง” กับแนวคิดการเฟ้นหาและล่าหัวคนเก่งมีพรสววรค์ที่มีรูปแบบเฉพาะหลายอย่างรวมกันจนเป็น NetFlix Culture ที่มีรายละเอียดและมิติมากมายให้เรียนรู้หากจะเอาเป็นแบบอย่าง… 

อันที่จริง… การเฟ้นหาและล่าหัวคนเก่งมีพรสววรค์ มีมานานผ่านการให้ทุนการศึกษา ที่มีการคัดกรองเพื่อเอาคนมีพรสวรรค์ไปใส่ความรู้ให้กลายเป็นคนเก่งมีพรสวรรค์ และกลับมาทำงานในองค์กรตามเงื่อนไขทุนการศึกษาที่ตกลงกันไว้… หลายกรณีเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในทางบวกจากผลงานของ “เด็กทุน” พอสมควร แต่ส่วนใหญ่เด็กทุนก็ต้องกลับเข้าทำงานใน “วัฒนธรรมองค์กร” แบบเก่า… ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เป็นมิตรกับความรู้ประกอบพรสวรรค์ที่เด็กทุนชุบตัวกลับมานัก

กรณีของ NetFlix ซึ่งเฟ้นหาและล่าหัวคนเก่งมีพรสวรรค์มาเข้าทีมได้แล้ว จึงต้องมีวัฒนาธรรมองค์กรให้คนเก่งมีพรสวรรค์ได้ “ปล่อยของ” แทนการถูกกฏระเบียบควบคุมบังคับบัญชา ที่ใครมาทำงานตรงนั้น ก็ต้องทำตามนั้นเหมือนเดิม… ความเก่งเอย พรสวรรค์เอย ความคิดสร้างสรรค์เอย… ล้วนไม่มีค่าที่จะนำมาใช้ทำงานในหน้าที่นั้นในองค์กรแบบนั้นแน่ๆ

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… คนเก่งมีพรสววรค์คือคนที่ทำงานที่เขาชอบและถนัดได้ดีกว่าคนอื่นๆ ทั้งหมดที่ชอบและถนัดงานแบบเดียวกัน… ซึ่งคนเหล่านี้จะมองหาองค์กรหรือทีมที่เป็นมิตรกับพรสวรรค์ที่ขัดเกลาไว้จนเก่งกาจเช่นกัน ซึ่งองค์กรหรือทีมส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังนี้คือ

  1. ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในงานที่ชอบและถนัด มีโอกาสและช่องทางให้การเรียนรู้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ๆ ให้ Update ได้ง่าย…
  2. สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ใช้ “สร้างสรรค์งาน” ทั้งคนสัตว์สิ่งของและธรรมชาติจะค่อนข้างเฉพาะเจาะจง… หลายคนที่เป็น Talent จึงต้องการออกจากสำนักงานไปหาที่สร้างสรรค์งานบางโอกาส ทำให้คนกลุ่มนี้รัก “ความไว้วางใจ” ระดับวัฒนธรรมองค์กร และส่งมอบผลงานน่าทึ่งซ้ำๆ มากกว่าการตอกบัตรลงเวลาและมาให้เห็นตัวก็ผ่านเกณฑ์แล้ว
  3. ค่าจ้างและรางวัลตอบแทนต้องดึงดูดคนเหล่านี้… ซึ่งองค์กรที่ต้องการคนเก่งมีพรสววรค์ต้องหาสมดุลย์และรูปแบบเฉพาะให้เจอ… กรณีของ NetFlix จ่ายสูงที่สุดเสมอ หรือไม่ก็จ้างออกไปเลยถ้าเก่งไม่จริงหรือพรสวรรค์ที่ปล่อยออกมาราคาต่ำกว่าควรจะจ่ายและไปทำลายศักยภาพของสมาชิกทีมคนอื่น
  4. ความท้าทายและโอกาสอันหาจากที่อื่นอีกไม่ได้ โดยคนเก่งมีพรสวรรค์เหล่านี้จะชอบ “ได้โอกาสเป็นพิเศษในการปล่อยของ” มากกว่าการจูงใจอย่างอื่นเสมอ

ทั้ง 4 ประเด็นที่ว่ามา… คือกลไกการดึงดูดคนเก่งมีพรสวรรค์ให้เดินเข้าหาองค์กรมาให้เลือก ซึ่งองค์กรอย่าง NetFlix… Google หรือ Amazon ต่างให้ความสำคัญกับการ “คัดสรรค์” คนเก่งมาเข้าทีมโดยไม่เร่งรีบ และรอคนที่ “ใช่โดยปริยายเท่านั้นจึงจะตกลงจ้าง” ซึ่งกลุ่ม Talents จะทราบดีอยู่แล้วว่า การเดินเข้าไปเป็นตัวเลือก จะไปพร้อมแววอันแวววาวที่โดดเด่นเสมอ… หรือถ้าหาตัวพวกเก่งมีพรสวรรค์ยากนัก ก็ต้องเดินไปชวนมาจากเป้าหมายหลักที่องค์กรอยากได้คนนั้นแบบระบุตัวกันเลย แม้จะต้องแย่งตัวกันกับเจ้าอื่น… องค์กรอย่าขี้เหนียว ใจแคบและร่ำไรจุกจิกก็พอ!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts