Task Oriented Leadership and Relationship Oriented Leadership… ภาวะการนำเพื่อจัดการด้วยภาระงานและสายสัมพันธ์ #ExtreamLeadership

มีคำกล่าวถึงการเป็นผู้นำที่เป็นจริงที่สุดวลีหนึ่งบอกไว้ว่า… We Are The Leader Of Something หรือ เราต่างก็เป็นผู้นำของบางสิ่ง… โดยบางสิ่งที่ว่าก็คือความสัมพันธ์แบบต่างๆ อย่างครอบครัว เพื่อน ชุมชน และ ที่ทำงาน ซึ่งถ้าบทบาทในแวดวงความสัมพันธ์แบบไหนก็ตาม ได้ทำให้คนๆ หนึ่งต้องเข้าไปทำหน้าที่จัดการ หรือ Manage… ทั้งที่จัดการด้วย “ภาระงาน หรือ Task และ ความสัมพันธ์ หรือ Relationship” ด้วยความรับผิดชอบ… ผู้รับผิดชอบการจัดการทั้งหมดนั้นจะกลายเป็น “ผู้นำ” ในบริบทนั้นโดยปริยาย

บทบาท และ แนวทางการจัดการของผู้นำโดยทั่วไปจึงมีหลักสำคัญอยู่ 2 แบบ คือ… 

  • Task Oriented Leadership หรือ การนำจัดการด้วยภาระงาน… ซึ่งจะโฟกัสที่เนื้องาน เป้าหมาย และ แผนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเห็นเป็น To-Do-List และหรือ ตารางงานที่ถูกกำหนดด้วยกรอบเวลาว่าต้องทำงานนั้นๆ เมื่อใด โดยใคร และ ปริมาณเท่าใดอย่างชัดเจน
  • Relationship Oriented Leadership หรือ การนำจัดการด้วยสายสัมพันธ์… ซึ่งจะโฟกัสที่คน หรือ สมาชิกทีมเป็นหลัก โดยเน้นคุณภาพทั้งผลสำเร็จของงาน และ ผู้คนที่เกี่ยวข้องมากกว่าจะสนใจเพียงผลลัพธ์เชิงปริมาณ ซึ่งเป็นเพียงความสำเร็จขั้นต้น

ประเด็นก็คือ… การจัดการ และ การนำแบบ Task Oriented Leadership เป็นวิธีการจัดการที่ง่าย และ ตรงไปตรงมา โดยจะใช้การควบคุม หรือ Control ผ่านการสั่งการ หรือ Command และ มอบหมายภาระงานถึงคนรับผิดชอบโดยตรง… ส่วนการจัดการ และ การนำแบบ Relationship Oriented Leadership จะประคับประคองความสัมพันธ์ เพื่อให้การสั่งงานถูกมองว่าเป็นการมอบหมายความรับผิดชอบที่สำคัญ โดยผู้นำจะถอยมาทำหน้าที่พี่เลี้ยง หรือ คนให้คำแนะนำ หรือ Advices ซึ่งจะแสดงบทบาทผู้นำผ่านการเป็นผู้ฟังที่ดี และ เสริมสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม… บทบาทการนำในโลกความจริงจำเป็นจะต้อง “จัดการ” ทั้งภาระงาน หรือ Task และ ความสัมพันธ์ หรือ Relationship อย่างเหมาะสม… ซึ่งต้องมีทั้งบทบาทแบบควบคุม และ สั่งการ หรือ Command and Control และ ฟังให้ได้ศัพท์แล้วค่อยจับไปชี้แนะ หรือ Active Listening and Constructive Advice… โดยมีกรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง Task Oriented Leadership กับ Relationship Oriented Leadership มากมาย ซึ่งทั้งหมดได้ถูกรวบยอดเป็น “ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ หรือ Behavioral Theories” รวมทั้ง “ทฤษฎีการจัดการสถานการณ์ หรือ Contingency Leadership” โดยอธิบายผ่านพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และ สถานการณ์แวดล้อมในคาบเวลาที่สามารถขับเคลื่อนให้ความสำเร็จเกิดขึ้นภายใต้ประสิทธิผลสูงสุด… ซึ่งผลสำเร็จของภาระงานควรต้องเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่ถูกตั้งเกณฑ์ไว้ ในขณะที่สายสัมพันธ์ที่ถูกใช้ในการจัดการก็ถูกเสริมสร้างให้เห็น “ความร่วมมือ” อย่างแท้จริงภายใต้ทิศทางการขับเคลื่อน และ ภาพความสำเร็จ… เดียวกัน

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts