คำว่า “มากคนก็มากความ” ที่มีมานานในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ก็ยังถือว่าเป็นจริงอยู่เสมอกับความหลากหลายที่ซับซ้อนของความเป็นปัจเจก… และเมื่อมากคนมารวมทีมเพื่อรับผิดชอบเป้าหมายเดียวกัน สภาวะมากคนก็มากความในหลายๆ ทีมจึงมีคลื่นความโกลาหลให้ผู้นำต้องปวดเศียรเวียนหัวได้เสมอ ทั้งๆ ที่การรวมทีมส่วนใหญ่… ต้องการให้ “มากคนก็มากความสามารถ” จนทำเรื่องยากๆ ได้ง่ายขึ้นมากกว่า
การรวมทีมจากความหลากหลายที่เป็นความแตกต่างระหว่างสมาชิกแต่ละคน ทั้งอายุ สัญชาติ ภูมิหลัง ความเชื่อ ศาสนา ทักษะและประสบการณ์ รสนิยมการกิน รสนิยมทางเพศ รวมทั้งความชอบทางการเมือง และ อะไรอีกมากที่ส่วนใหญ่จะแตกต่างไม่มากก็น้อยเสมอ
ประเด็นก็คือ… ความหลากหลายของสมาชิกทีมเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงยาก แต่ก็สามารถจัดการได้ด้วยทักษะผู้นำที่สามารถบริหารความแตกต่างอันหลากหลายภายในทีมหรือองค์กร เพื่อให้ความหลากหลายที่รวมตัวกันเป็นทีม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข โดยทีมและองค์กรก็ได้ประโยชน์สูงสุดจากความหลากหลายดังกล่าวด้วย… ซึ่งผู้นำควรจัดการด้วยแนวทางอย่างเหมาะสม เช่น
- ให้ความเท่าเทียมกันอย่างชัดเจนและยุติธรรม
- จัดสรรแบ่งปันโอกาสอย่างเหมาะสมกับความสามารถ
- รับฟังและให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของทุกคน
- เปิดกว้างสำหรับการพัฒนาทักษะความสามารถของสมาชิกทีม และ เส้นทางอาชีพ
- หลีกเลี่ยงการสร้างกลุ่มแบบแบ่งแยกทั้งเพื่อปกครอง และ แข่งขัน
- ให้เกียรติสมาชิกทีมอย่างเท่าเทียมในทางปฏิบัติ และ ปฏิสัมพันธ์
- สร้างความสามัคคีอย่างต่อเนื่อง และ กำจัดช่องว่างความแตกต่างที่เป็นความขัดแย้งหรือมีโอกาสพัฒนาเป็นความขัดแย้ง
- ใช้ความหลากหลายให้เป็นประโยชน์
หลักการและแนวทางหลักๆ ก็ประมาณนี้… แต่การประยุกต์ใช้ในบริบทของแต่ละทีม อาจจำเป็นจะต้องปรับให้เหมาะสมกับลักษณะความหลายที่มีอยู่จริงของแต่ละทีม
สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ… คามหลากหลายของสมาชิกทีมไม่ใช้ปัญหาหลัก แต่ความหลากหลายของสมาชิกทีมมีความอ่อนไหวในสายสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงาน… ซึ่งขัดแย้งและทำลายสายสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าการสร้างสายสัมพันธ์มาก… และสมาชิกทีมทุกสถานะควรต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้นำ
References…