แนวคิดการจัดตั้งกองทุนแสงอาทิตย์ หรือ Thailand Solar Fund มีที่มาจากการริเริ่มของ พระปัญญาวชิรโมลี หรือ พระครูวิมลปัญญาคุณ แห่งวัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี… ซึ่งท่านพระครูได้นำโซลาร์เซลล์มาใช้ในวัดเพื่อลดค่าใช้จ่าย และ หยิบยกประเด็นเรื่องพลังงานทดแทนมาใช้ในการสอนนักเรียน จนกลายเป็นศูนย์อบรมโซลาร์เซลล์ให้แก่ประชาชนทั่วไป และ กลายเป็นต้นแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ชุมชน และ วัดที่ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้… ก่อนจะขยายผลไปสู่การจัดตั้งกองทุนแสงอาทิตย์ หรือ Thailand Solar Fund ในเวลาต่อมา
กองทุนแสงอาทิตย์ หรือ Thailand Solar Fund ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยมีเครือข่ายความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาสังคม ทั้งด้านผู้บริโภค ด้านศาสนา ด้านการพัฒนาเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อม และ การพัฒนาที่ยั่งยืน และ ภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมผลักดันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปพลังงาน และ การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนให้ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงพลังงานสะอาด และ มุ่งสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน… โดยได้ดำเนินการระดมทุน และ เปิดรับบริจาคเพื่อนำไปจัดหาโซลาร์เซลล์ให้กับโรงเรียน โรงพยาบาล ชุมชน และ สถานที่ที่ไม่มีไสายส่งฟฟ้าเข้าถึงได้… เพื่อผลักดันและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สามารถลดรายจ่ายด้านพลังงาน และ มีโอกาสเพิ่มรายรับให้แก่ประชาชนหากสามารถผลิตไฟฟ้า และ จำหน่ายเข้าระบบได้ในระยะต่อไป
โครงการระยะแรกของกองทุนแสงอาทิตย์ หรือ Thailand Solar Fund สามารถระดมทุนจากภาคประชาชนรวม 7.7 ล้านบาท เพื่อดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาลของรัฐ 7 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลท่าสองยาง จังหวัดตาก
- โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
- โรงพยาบาลศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
- โรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
- โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี และ
- โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร
โดยมีกำลังผลิตติดตั้งเริ่มต้นที่แห่งละ 30 กิโลวัตต์ในระบบออนกริด หรือ ระบบที่ไม่ใช้แบตเตอรี่สำรองแต่ยังเชื่อมต่อระบบหลักของการไฟฟ้า เพื่อเป็นการเริ่มต้นการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานให้กับโรงพยาบาล ซึ่งกำลังการผลิตดังกล่าวช่วยจะลดภาระค่าไฟฟ้าของแต่ละโรงพยาบาลได้ประมาณ 200,000 บาทต่อปีและ ยาวนานถึง 25 ปี
นอกจากนั้น… กองทุนแสงอาทิตย์ หรือ Thailand Solar Fund ยังดำเนินการรติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับวิทยาลัยอาชีวศึกษานำร่องอีก 7 สถาบันระหว่างปี พ.ศ. 2563–2564 ได้แก่…
- วิทยาลัยอาชีวศึกษากาญจนบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
- วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
- วิทยาลัยการอาชีพกระบุรี จังหวัดระนอง
- วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง
- วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการต่างของ กองทุนแสงอาทิตย์ คลิกที่นี่ ส่วนท่านที่ประสงค์จะบริจาคสมทบกองทุน กรุณาคลิกที่นี่ หรือ ท่านที่สะดวกไปกราบพระครูวิมลปัญญาคุณ ที่ วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และ เยี่ยมชมโครงการพระราชทานโคกหนองนา แห่งน้ำใจและความหวัง วัดป่าศรีแสงธรรมได้… ก็ยิ่งดีงาม
References…