The Challenges of Quality Education… ความท้าทายในประเด็นคุณภาพการศึกษา #ReDucation

การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพในประเทศไทยได้ถูกบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นเป็นกฏหมายที่ประกาศใช้ในวาระการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของประเทศไทย โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 6 ที่ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาเอาไว้ 

ในทางปฏิบัติ ระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่สถาบันการศึกษาในประเทศไทยต้องดำเนินการตามกฏกระทรวงและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น… ท่านที่เป็นนักการศึกษาคงทราบดีว่า เนื้อในของเอกสารประกันคุณภาพตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยยังมีอะไรมากมายที่ “ไม่จริง” แทรกปนอยู่มาก… แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษาได้ทำให้พัฒนาการของกิจการด้านการศึกษาของไทยก้าวหน้าเร็วกว่าในอดีตมาก… 

ประเด็นที่จะพูดถึงในวันนี้ก็คือ นิยามของคุณภาพการศึกษาในวันที่ “ระบบ” การศึกษาได้พัฒนามาถึงจุดที่ “ความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันการศึกษา” ถูกท้าทายและตรวจสอบจากสาธารณะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และ องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพทางการศึกษาเองก็ถูกสาธารณะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามมากมาย… โดยเฉพาะคำถามถึง “คน” ที่อยู่ในกลไกการตรวจสอบคุณภาพแบบใช้ดุลพินิจของคนไม่กี่คนมารับรอง… แต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับคุณภาพการศึกษาอย่างนักเรียน กลับกลายเป็นคนนอกที่ต้องวางใจระบบอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ต้องเสียเวลาตลอดช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นให้กับระบบ… ปัญหาและความท้าทายมากมายในกลไกการจัดการด้านคุณภาพการศึกษาที่เห็นไม่ต่างกันทั่วโลกจึงถูกตั้งคำถามถึง “นิยามใหม่” ของคำว่าคุณภาพการศึกษา และ การศึกษาอย่างมีคุณภาพอย่างน่าสนใจ

องค์กรการศึกษาชื่อ Education International หรือ EI ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในประเทศเบลเยี่ยมได้ประชาสัมพันธ์นิยามใหม่ของคุณภาพการศึกษาว่า… การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นการศึกษาที่เน้นการพัฒนาทางสังคม อารมณ์ จิตใจ ร่างกาย และ สติปัญญาของนักเรียนแต่ละคน โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับชีวิต ไม่ใช่แค่สำหรับการทดสอบเท่านั้น

นอกจากนั้น… องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ “การศึกษาอย่างมีคุณภาพ” เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs โดยมีความท้าทายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการศึกษา ได้กลายเป็นทั้งโอกาส และ อุปสรรคแก่นักการศึกษาและครูอาจารย์ ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอน และ การจัดการสถาบันการศึกษาแบบเดิมที่เคยดี ก็สามารถกลายเป็นด้อยเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วย และ การยกระดับเทคโนโลยีให้ทันการเปลี่ยนแปลงต้องการทั้งงบประมาณ และ ทักษะผู้ใช้งานเทคโนโลยีที่เราท่านต่างก็รู้กันดีว่าเป็นปัญหาที่แก้ได้ไม่ง่าย

นอกจากนั้น กลไกการประเมินคุณภาพการศึกษาน่าจะถึงเวลาของการใช “ข้อมูลจริง” มากกว่ารายงานแบบที่มีชื่อโรงเรียนอื่นปนอยู่ในเอกสารประกันคุณภาพให้กรรมการเห็นตำตาก็แค่บอกให้ไปแก้ และ ยื่นใหม่… ซึ่งการใช้ข้อมูล หรือ Data ในกิจการด้านประกันคุณภาพการศึกษาคงต้องการคิดกันใหม่เรื่องแนวปฏิบัติ และ คุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งประเด็นอื่นๆ อีกมากที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกัน

ความท้าทายใหม่ของสถาบันการศึกษา และ ระบบการเรียนการสอนนับจากนี้จึงพึ่งพาการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างที่เคยเป็นมาได้น้อยลง และ สถาบันการศึกษาจำเป็นจะต้องยืดหยุ่น และ ปรับตัวให้ทัน “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลัก” ให้ได้… 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts