The Dip… ช่วงเวลาอันอ่อนไหวเปราะบางต่อความสำเร็จ

Seth Godin เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน ที่ออกหนังสือแนว How to สายธุรกิจและจิตวิทยาทางการตลาด ที่มีฐานผู้อ่านอยู่ทั่วโลก นั่นแปลว่า หนังสือของ Seth Godin ส่วนใหญ่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย รวมทั้งภาษาไทย… หนังสือชื่อ This is Marketing สร้างแบรนด์ให้ยิ่งใหญ่ ไม่จําเป็นต้องเอาใจทุกคน และ Purple Cow การตลาดแบบวัวสีม่วง ถือเป็นหนังสือสองเล่มหลักของ Seth Godin ที่คนเข้าร้านหนังสือ น่าจะเห็นวางโชว์อยู่ในจุดที่เห็นง่ายเป็นส่วนใหญ่

แต่วันนี้จะพูดถึงหนังสืออีกเล่มของ Seth Godin ที่ยังไม่มีเล่มแปลภาษาไทยที่ชื่อ The Dip ซึ่งเป็นงานเขียนที่อธิบายปรากฏการณ์ “ลังเลกับเป้าหมายและตกหลุมตัวเอง” ทำให้เราไม่สามารถตรงเข้าหาเป้าหมายเป็นเส้นตรงในระยะขจัดที่สุดได้ อันเนื่องมาจากความกระตือรือร้นและความมุ่งมั่นในระยะเริ่มต้น ได้อ่อนแรงลง จนบางกรณีเห็นว่าเป้าหมายปลายทางช่างไกลออกไป และหลายครั้งอาจจะสงสัยจนเกิดคำถามประมาณว่า… เรามาทำอะไรตรงนี้?

ใครที่เคยมีประสบการณ์สอบติดมหาวิทยาลัยและคณะที่ตัวเองมุ่งมั่นตั้งเป้าหมายไว้ น่าจะจำความดีใจที่ตัวเองมีชื่อสอบติดครั้งนั้นได้ และเชื่อว่าหลายคนเมื่อเข้าเรียนจริงๆ ผ่านไปหนึ่งเทอม… ความมุ่งมั่นในระดับก่อนสอบติด กับความดีใจวันที่รู้ว่าสอบได้ หายไปมากทีเดียวในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ซึ่งคาบเวลาที่เราทำให้ความกระตือรือร้นหายไปนี้เองที่ Seth Godin เรียกว่า The Dip

ประเด็นก็คือ ในขณะที่เราอยู่ในโซน The Dip เราอาจจะถอนตัวเลิกล้มง่ายๆ เหมือนที่หลายคนเคยลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อกลับไปสอบเข้าเรียนคณะอื่นหรือมหาวิทยาลัยอื่น ทั้งที่ของขวัญยินดีวันสอบติดบางกล่องยังไม่ได้แกะด้วยซ้ำ คำถามคือ การเลิกล้มเป้าหมายครั้งนี้… เร็วไปมั๊ย? หรือว่าการฉลองความยินดีก่อนจะมาเลิกล้มทีหลัง… เร็วไปมั๊ย?

Seth Godin อธิบายว่า… ไม่ว่าเราจะทำอะไรใหม่ก็แล้วแต่ แรกๆ จะสนุกและตื่นเต้นกับประสบการณ์ใหม่ แต่พอเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งเจ้าตัวจะผ่านประสบการณ์ที่สนุกตื่นเต้นไปหมดแล้ว แถมยังได้เรียนรู้และประเมินตัวเองพอที่จะตัดสินใจได้ว่า… จะพยายามต่อไป หรือ เลิกล้มดี… และคนส่วนใหญ่เลิกล้มและถอดความเพียรพยายามออกจากเป้าหมายนั้นไปเลย… ท่านที่เคยหัดกีตาร์ เล่นฟุตบอลหรือหัดเขียนบทความ แล้วเลิกล้มไปคงจะทราบดีว่า… ลองแล้วไม่ใช่แนวก็ขอแจวเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนว่า “ถ้าท่านใส่ความพยายามไปพร้อมกับเวลาที่เพิ่มขึ้นอีกโดยไม่เปลี่ยนเป้าหมาย” แล้วหละก็

ความพยายามที่ลากตัวเองไป Dip หรือจิ้มแช่ไว้ที่จุด “เลิกตอนดีนี้กว่า” ก็จะเริ่มให้ผลลัพธ์ต่อความเพียรพยายามที่คงเส้นคงวานั้น… คนที่ไม่โยนกีตาร์ทิ้งแต่ยังฝึกสม่ำเสมอหรือหาครูเก่งๆ มาสอนเพิ่ม ก็ย่อมเล่นกีตาร์เป็น… นักฟุตบอลที่ซ้อมวันละหลายชั่วโมงต่อเนื่อง ก็น่าจะได้ลงสนามจริงเพื่อเป็นนักฟุตบอลได้เช่นกัน… ผมรู้จักคนที่ยังคงฝึกเขียนทุกวันแม้ไม่มีคนอ่านและเสียงชม แถมบางครั้งก็เจอการเยาะเย้ยถากถางจนจิตตก และไม่มีอะไรตอบแทนแม้แต่น้อยนิดแต่ก็ยังเขียนต่อไปจนมีคนจ้างเขียนและจ้างสอนเขียนอีกด้วย

ในหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ได้ยกเอาปรากฏการณ์ The Dip หรือคาบเวลาที่คนส่วนใหญ่ “ลังเลกับเป้าหมายและเส้นทาง” ซึ่งมีผลกับความสำเร็จและล้มเหลวของเป้าหมายเกือบทุกประเภท… รวมทั้งการศึกษา มาอธิบายการรับมือกับ ความสำเร็จและล้มเหลวของการเรียนการสอน ที่ต้องไม่เกิดการละความเพียรในจังหวะที่เกิด The Dip กับเส้นทางและเป้าหมายทางการศึกษา เพื่อให้แนวทาง VESPA Mindset ซึ่งถือเป็น Student Mindset ที่ระบบการศึกษาสมควรต้องตอบสนองในทิศทางเดียวกัน… การปกป้องเส้นทางการเรียนรู้ในคาบเวลาที่กำลัง Dip อยู่ จะช่วยให้ผู้เรียนไต่เข้าหาผลลัพธ์จากการเรียนที่ดีกว่าได้

ตอนหน้ามาไล่ดูแนวทางที่ Steve Oakes และ Martin Griffin แนะนำไว้ด้วยกันครับ!


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ

  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
  14. Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
  15. Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
  16. Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
  17. Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset
  18. Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน
  19. K-SPA… เครื่องมือฟันฝ่าอุปสรรค
  20. Problem Solving Cycle for VESPA Mindset
  21. The Art of Reactions to Feedback… ศิลปะการรับมือกับเสียงติชม

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts