The Human Right To A Clean, Healthy And Sustainable… สิทธิ์ในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และ ยั่งยืน #FridaysForFuture

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ปี 2022… สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations General Assembly หรือ UNGA ได้ลงมติเห็นชอบและประกาศว่า… การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน หรือ Clean, Healthy And Sustainable Environment ให้เป็นสิทธิมนุษยชนสากล… เนื่องจากประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเห็นตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเป็นภัยคุกคามเร่งด่วนที่สุดต่ออนาคตของมนุษยชาติ และ เรียกร้องให้รัฐชาติสมาชิก เร่งความพยายามในการดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนในรัฐของตนสามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และ ยั่งยืน 

การลงมติวาระนี้ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เป็นการยืนยันมติของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Human Rights Council หรือ UNHRC ที่ประกาศให้การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และ ยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนสากล ตั้งแต่ปี 2021

António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติบอกว่านี่เป็นการตัดสินใจที่เป็นประวัติศาสตร์ และ กล่าวว่า…  มติที่สำคัญนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศสมาชิกสามารถร่วมมือกันต่อสู้กับ “Triple Planetary Crisis” ซึ่งหมายถึงวิกฤติหลักสามประการที่มนุษย์โลกกำลังเผชิญอยู่ ได้แก่ วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ โลกร้อน… วิกฤติการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และ วิกฤติมลพิษ

ในแถลงการณ์ของเลขาธิการสหประชาชาติ António Guterres ความว่า… การแก้ปัญหานี้จะช่วยลดความอยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม ปิดช่องว่างในการคุ้มครอง และให้อำนาจแก่ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม เด็ก เยาวชน ผู้หญิง และชนเผ่าพื้นเมือง

ด้านข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ Michelle Bachelet ก็ได้ยกย่องการตัดสินใจของสมัชชาใหญ่ และ เรียกร้องว่ารัฐชาติต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และ เพิ่มความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์… ซึ่งเธอได้เน้นย้ำว่าทุกคนจะได้รับผลกระทบที่เลวร้ายกว่านี้มาก หากไม่ร่วมกันเร่งทำงานตั้งแต่ตอนนี้ และ เธอยังบอกอีกว่า การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนจะเป็นเกราะป้องกันที่สำคัญสำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจและธุรกิจ 

ก่อนหน้านั้น… หลายประเทศในโลกมีการปฏิรูปกฎหมายที่คล้ายคลึงกับมตินี้ไปแล้ว ตัวอย่างเมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมา หลายประเทศในลาตินอเมริกา และ แถบแคริบเบียนให้คำมั่นว่า… จะให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงชนพื้นเมืองที่รณรงค์ต่อต้านการตัดไม้ การขุดเจาะ และ การสำรวจน้ำมันในพื้นที่คุ้มครอง 

ส่วนรัฐนิวยอร์กสหรัฐอเมริกาก็ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรับประกันว่าพลเมืองจะได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ… รวมทั้งเหตุฟ้องร้องของกลุ่มนักปกป้องสิ่งแวดล้อมในประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 2019 ซึ่งภายหลังการศาลของประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สั่งให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เพิ่มการดำเนินการให้เข้มงวดมากขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยศาลกล่าวว่า… การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อสิทธิมนุษยชน… ส่วนศาลสูงสุดของบราซิลได้ประกาศว่า ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Paris Agreement เป็น “สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน” โดยศาลบอกว่า สนธิสัญญานี้ควรมีผลเหนือกฎหมายระดับประเทศ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts