The Internet of Behaviors… อินเตอร์เน็ตแห่งพฤติกรรม #DeepTechDriven

Internet of Behavior หรือ IoB เป็นแนวคิดบูรณาการ “จิตวิทยามนุษย์” เข้ากับ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์พฤติกรรม และ เทคโนโลยีทุกแขนงที่เกี่ยวพันถึงการดำเนินชีวิตของผู้คนในยุคดิจิทัล… ซึ่งจะได้ “ระบบ” ที่เกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับจิตวิทยามนุษย์ที่สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ได้แม่นยำขึ้น พร้อมทั้งสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้านต่างๆ ขึ้นใหม่เพิ่มเติมจากข้อมูลเดิมที่มีอยู่ได้ด้วย

Internet of Behavior หรือ IoB จึงเป็นวิทยาการด้านข้อมูลเพื่อนำใช้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจ และ เป็นวิทยาการด้านข้อมูลวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อเข้าถึงการการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ เป็นปัจจุบัน และ เชื่อมต่อถึงกลยุทธ์องค์กรในทุกระดับของการขับเคลื่อน

Göte Nyman ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านจิตวิทยาจาก University of Helsinki ถูกยกย่องว่าเป็นคนแรกที่สร้าง และ พูดถึงแนวคิดของ Internet of Behavior หรือ IoB ราวปี 2012… ก่อนจะถูกแนะนำสู่สาธารณะอย่างกว้างขวางโดยบริษัทวิจัยทางธุรกิจ และ ที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Gartner ผ่านรายงาน Gartner’s Top Strategic Technology Trends for 2021 ว่าเป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญในปี 2021… โดย Gartner คาดการณ์ว่า ภายในปี 2023 กว่า 40% ของประชากรโลกจะถูกดักจับพฤติกรรมจากระบบ IoB และ ภายในปี 2025 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งจะถูก IoB  อย่างน้อย 1 โปรแกรมติดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน 

อย่างไรก็ตาม… รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มมากมายล้วนยืนยันว่า IoB หรือ Internet of Behaviors จะกลายเป็นระบบนิเวศที่สามารถบ่งบอก อธิบาย และ ชี้นำพฤติกรรมของมนุษย์บนโลกดิจิทัลอย่างแน่นอน… โดยด้านที่เป็นประโยชน์ คาดว่าจะได้เห็นการทำนโยบาย และ การวางกลยุทธ์ตั้งแต่ระดับชาติโดยรัฐ ไปจนถึงการวางแผนทางการตลาดของ SMEs… จะแหลมคม ตรงเป้า และ ประเมินผลสำเร็จล่วงหน้าที่จะปรากฏต่อกลุ่มเป้าหมาย และ ผู้บริโภคได้ดีขึ้น

ในทางเทคนิค… IoB จะรวบรวมข้อมูลแบบเดียวกับที่อุปกรณ์ IoT หรือ Internet-of-Thing ใช้ในการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการรวมรวมข้อมูลด้วยอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อระบบ และ เป็นส่วนหนึ่งของ IoB Systems เพื่อให้การรวบรวมสะสมข้อมูลไร้รอยต่อ และ เชื่อถือได้มากขึ้น… ซึ่ง IoB จะรวบรวมข้อมูลธุรกรรม และ กิจกรรมโดยละเอียดที่สุดของทุกคนในระบบ ก่อนจะนำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ทั้งในเชิงสถิติ และ ใช้โต้ตอบ–สื่อสารกับเจ้าของข้อมูลโดยตรง… เช่น สมาชิกในระบบ IoB เข้าไปในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ระบบสอบที่ตั้งซ้อนทับกับตำแหน่ง GPS บนมือถือของสมาชิกที่เชื่อมกับระบบ คำแนะนำในการเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั่วโมงนั้นอาจจะทำให้สมาชิกได้เลือกซื้อสินค้าโปรโมชั่นกลับบ้านได้ประหยัดกว่าเป็นสิบเปอร์เซนต์ก็ได้ หรือ แม้กระทั่งเตือนว่าข้าวสารที่เคยซื้อทุกเดือนคงใกลัจะหมดแล้วเพราะการซื้อข้าวสารครั้งสุดท้ายผ่านมา 4–5 สัปดาห์แล้ว

Internet of Behavior หรือ IoB จึงเป็นวิทยาการที่จะเข้ามาต่อยอดการปรับแต่งโฆษณาขององค์กรธุรกิจ… การทักท้วงชี้แนะบนข้อมูลภาวะสุขภาพของเจ้าของพฤติกรรม… การนำเสนอบริการ และ การขับเคลื่อนนโยบายด้วยข้อมูลพฤติกรรม รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงและการปรับแต่งเงื่อนกันทางประกันภัยแบบเฉพาะคน/เฉพาะเวลาได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม… Internet of Behavior หรือ IoB ยังถือเป็นเรื่องใหม่ และ มีแง่มุมเชิงจริยธรรมด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจำเป็นต้องออกกฏหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนสังคมโดยมีองค์กร หรือ หน่วยงาน รวมทั้งบุคคลและนิติบุคคลมีการใช้ IoB Systems กับกลุ่มเป้าหมาย… ซึ่งไม่ง่ายเหมือนระบบสมาชิกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts