Road Map

The Roadmap of Vision for Student Mindset

การเรียนรู้ถือเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่ต้องมี “เป้าหมาย…” ถือเป็น Journey หรือการเดินทางสะสมประสบการณ์ภูมิรู้ ที่การรู้และเข้าใจ “เป้าหมาย” ว่าจะเรียนไปถึงไหนเพื่อไปทำอะไรต่อ คือแรงโน้มถ่วงสำคัญต่อทัศนคติเชิงบวก ซึ่งเป็น Growth Mindset ที่สำคัญต่อการเรียนรู้… และเห็นภาพความสำเร็จของตนเองตั้งแต่เริ่มต้น

ประเด็นก็คือ… “เป้าหมาย” จากหลายกรณีห่างไกลจากจุดเริ่มต้น จนแรงโน้มถ่วงเข้าหาเป้าหมายถูกรบกวนจากแรงอื่นที่อยู่ระหว่างเส้นทางก่อน แค่ลองนึกถึงเด็กประถมที่อยากเป็นหมอ ที่ต้องเตรียมตัวเพื่อให้จบมัธยมปลายด้วยคุณสมบัติพร้อมจะเข้าเรียนแพทย์ศาสตร์ที่ไหนสักแห่ง แค่ช่วงเวลาจากประถมศึกษาถึงมัธยมปลายก็ใช้เวลานับสิบปี… และไม่มีอะไรรับประกันว่าจะสอบเข้าเรียนแพทย์ศาสตร์ได้ด้วยซ้ำ ซึ่งการ Focus เป้าหมายระยะไกลขนาดนั้น อาจจะไม่เหมาะสมจะเลือกเป็นแรงโน้มถ่วงระหว่างทางเท่าไหร

ในหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ที่ขับเคลื่อน Learning Journey ผ่านโมเดลการเรียนรู้ชื่อ VESPA Model… จึงละเอียดอ่อนกับ V ตัวแรกในโมเดลที่มาจาก Vision ที่ต้องพิจารณาบริบทของ Vision หรือวิสัยทัศน์ให้เข้าใจแรงดึงดูดจากเป้าหมาย โดยเฉพาะ Vision ที่มองเป้าหมายระยะไกล ที่ทุกคนเข้าใจว่าถูกรบกวนจากปัจจัยแวดล้อมได้ง่ายมาก

คำแนะนำคือ… ถ้าเป้าหมายยังไกลเกินไป ก็ให้หันมาสนใจ Roadmap หรือเส้นทางก่อน ภายใต้เงื่อนไขที่เส้นทางนั้นจะพาเราเข้าใกล้เป้าหมายได้เช่นเดิม ซึ่ง Roadmap ในที่นี้จะหมายถึง การทำเส้นทางเข้าใกล้เป้าหมายเป็นช่วงๆ ที่มีความสำเร็จรออยู่ไม่ไกล… เหมือนการขับรถจากกรุงเทพมหานครไปเชียงใหม่ อาจสร้าง Roadmap ช่วง 3 ชั่วโมงแรกต้องไปให้ถึงพรหมบุรี แวะกินกุ้งแม่น้ำตัวโตๆ เผาสดแถววัดตราชูก่อน… ซึ่งการทำ Roadmap เพื่อศึกษาเรียนรู้ก็ใช้แนวคิดเดียวกันคือ… หั่นเส้นทางถึงจุดหมายยาวๆ ให้สั้นลง ใส่รายละเอียดให้มากขึ้น และออกเดินทางโดยไม่ลังเล

ใน VESPA Model แนะนำให้ “บันทึกเป้าหมายลงสมุด” โดยเฉพาะเป้าหมายที่เลือกไว้จากแรงจูงใจ 3 อันดับแรกที่เลือกได้จากแรงจูงใจทั้ง 15 แรงในบทความตอน 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้ และเส้นทางที่เลือกไว้จาก 5 Roads of Vision Activity แล้วนำเป้าหมายและทางเลือกมาแบ่งเป็นตอนๆ บนเส้นทางที่จะไปถึงเป้าหมาย… ใส่แผนการและรายการดำเนินการ หรือ To-Do-List ในแต่ละช่วงของเส้นทาง

ผมมีภาพ Roadmap ตัวอย่างจากหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin มีให้ดูเป็นตัวอย่างตามภาพประกอบด้านล่างเลยครับ

ที่เหลือก็ลองเขียนขั้นตอนรายละเอียดที่นักเรียนต้องทำและอยากทำบน Roadmap ในแต่ละช่วง หรือ Step เป็นโครงร่างเอาไว้… ที่ขาดไม่ได้คือ Why ซึ่งเป็นแก่นของเป้าหมายและเส้นทางการเรียนรู้ “ซึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้แผนหรือ To-Do-List จะต้องปรับตามบริบทบ้างในอนาคต” 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *