การขับเคลื่อนกลยุทธ์ทุกระดับในองค์กรที่ต้องใช้ “ท่ายาก” ในการฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคในด่านความสำเร็จที่ต้องช่วยกันข้ามผ่านนั้น องค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการคิดกลยุทธ์แต่จะมีปัญหาเกือบทุกแง่มุมตามมาหลังจากกลยุทธ์ถูกคิด และ ตัดสินใจว่าจะขับเคลื่อน… ซึ่งการค้นคว้าของ Michael Beer และ Russell Eisenstat ศาสตราจารย์แห่ง Harvard Business School ได้ร่วมกันศึกษาปัญหาในการนำกลยุทธ์ขององค์กรในธุรกิจต่างๆ มากกว่า 200 ธุรกิจไปปฏิบัติ โดยวิเคราะห์แบบเจาะลึกใน 15 องค์กรจนพบว่า… การขับเคลื่อนกลยุทธ์ หรือ Strategy Implementation ขององค์กรมีปัญหาอยู่ 6 ประการที่ถูกซ่อนอยู่อย่างเงียบๆ แต่ทำให้องค์กรไม่สามารถนำกลยุทธ์ไปใช้ปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ และ ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ขององค์กรอย่างมีนัยยะสำคัญ… ซึ่งสมาชิกในองค์กรส่วนใหญ่ล้วนตระหนักว่าปัญหาเหล่านี้มีอยู่จริง แต่ที่ไม่สามารถกำจัดมันออกไปได้เพราะปัญหาดังกล่าวได้ทำลายความไว้วางใจที่มีอยู่ต่อกัน ยิ่งปัญหาคงอยู่กับองค์กรนานเท่าไร ก็จะยิ่งฝังรากลึก และ ขยายอิทธิพลเป็นวัฏจักรความชั่วร้าย หรือ Vicious Circle ที่แก้ไขยากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ปัญหาทั้ง 6 ประการดังกล่าวได้แก่
- Unclear Strategy, Values, And Conflicting Priorities หรือ กลยุทธ์ คุณค่า และ ลำดับความสำคัญของประเด็นขัดแย้ง
- An Ineffective Senior Management Team หรือ ทีมผู้บริหารระดับสูง ไม่มีประสิทธิภาพ
- Leadership Behavior – Top-Down Or Laissez Faire หรือ พฤติกรรมผู้นำ เช่น การสั่งการแบบบนลงล่าง และ ความเป็นธรรมในการกำกับดูแลงาน
- Poor Coordination Across Businesses, Functions Or Geographic Regions หรือ บกพร่องในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ฟังก์ชั่นการทำงาน รวมทั้งปัญหาการจัดการข้ามเขตงาน
- Inadequate Leadership / Management Skills And Development In The Organization หรือ การขาดภาวะผู้นำ และ ทักษะในการบริหารจัดการองค์กร
- Low Capacity For Honest, Collective And Public Conversations About External And Internal Reality หรือ ระดับความน่าเชื่อถือต่ำ การสื่อสารโดยภาพรวมกับภายนอกและภายในไม่มีประสิทธิภาพ
สั้นๆ ประมาณนี้ก่อนครับ… ความจริงมีรายละเอียดที่บล็อกของ อาจารย์ ดร. ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับ Silent Killers of Strategy Implementation ของ Michael Beer และ Russell Eisenstat เอาไว้เช่นกัน… ซึ่งอาจารย์ทำข้อมูลเชิงบรรยายเอาไว้อย่างน่าสนใจครับ ท่านที่สนใจคลิกที่นี่ได้ครับ
References…