Target

Thornton 3Cs Leadership #ExtremeLeadership

ทฤษฎีการนำในยุคข้อมูลข่าวสารท่วมท้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาทักษะผู้นำยุคใหม่ ทั้งที่มีการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรโดยสถาบันอย่างชัดเจน ทั้งที่มีการแนะนำและพูดถึงในระหว่างการอบรมสัมนา รวมทั้งที่มีเผยแพร่เป็นหนังสือ How-to มากมายนั้น… โดยสาระและรายละเอียดช่างหลากหลายแง่มุม ทั้งที่เต็มไปด้วยหลักการเหตุผล และ ข้อเท็จจริงที่ฟังแล้วน่าทึ่งก็มาก… รู้แล้วตะลึงงันก็มีอีกไม่น้อย

แต่การปรับบริบทการนำในโลกความจริง… หลายแนวคิดไม่ได้ง่ายในทางปฏิบัติ รวมทั้งใช้กับการนำในบางบริบท หรือ บางกลุ่มคนได้ค่อนข้างยาก จนถึงใช้ไม่ได้เลยก็มีมาก… โดยเฉพาะตำราฝรั่งและจิตวิทยาแบบฝรั่งที่คนไทย หรือ นักบริหารเก่งๆ ในเมืองไทยได้ยินแนวคิดแล้วขำก๊ากก็มี

แต่การนำ และ การเป็นผู้นำยุคใหม่ที่หลายอย่างผันผวนเปลี่ยนแปลงเร็ว จนไม่เหลือพื้นที่สุขสบายหนึ่งเดียว หรือ Static Confort Zone ให้ทีมไหนได้เป็น “เสือนอนกิน” ได้อีก… การปรับตัวเพื่อสร้าง Dynamic Comfort Zone แบบต่างๆ สำหรับทีม… จึงต้องการผู้นำที่สามารถ “ปรับ และ บูรณาการ” การนำอย่างเหมาะสม และ เป็นงานยิ่งกว่าในอดีตมาก

ประเด็นก็คือ… บริบทการนำเป็นทักษะเชิงบูรณาการที่จำเป็นต้องปรับสัดส่วนองค์ความรู้เพื่อการนำทุกรูปแบบ… ย้ำว่าทุกรูปแบบเพื่อให้เข้ากับบริบทที่เป็นปัจจุบันที่สุด… ทั้งสำหรับตัวผู้นำเอง และ ทีมภายใต้การนำซึ่งต้องร่วมกันรับผิดชอบเป้าหมายด้วยกัน

Paul B. Thornton เจ้าของหนังสือ Be The Leader, Make The Difference ซึ่งวางขายมาตั้งแต่ปี 1999 เป็นหนึ่งในผู้ที่เสนอแนวคิดการนำเชิงบูรณาการมาตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีก่อน โดย Paul Thornton ได้เสนอแนวคิดส่งเสริมภาวะการนำแบบ 3 Cs หรือ 3C Leadership Model เอาไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งประกอบไปด้วย Challenge หรือ เสนอความท้าทาย… Confidence หรือ เสริมสร้างความเชื่อมั่น และ Coaching หรือ เป็นผู้ฝึกสอนที่ดี

Present a Challenge หรือ นำเสนอความท้าทาย

การเป็นผู้นำที่ยินดีกับ Comfort Zone หรือ พื้นฐานอยู่รอดปลอดภัย และ มองเห็นลูกทีมรู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหางโดยไม่รู้สึกเดือดร้อน… ซึ่งธรรมชาติของคนโดยเนื้อแท้ย่อมยากที่จะมีใคร “หาเรื่องใส่ตัว” แบบคิดจะทำนั่นทำนี้เพื่อท้าทาย หรือ ทำลาย Comfort Zone อันสุขสบาย… ผู้นำจึงต้องรับบทบาท “ผู้สร้าง และ สนับสนุนความท้าทายใหม่ๆ นอกเขต Comfort Zone หรือ เขตอยู่รอดปลอดภัยอย่างสงบสุขตามอัตภาพของทีม… ซึ่ง Paul Thornton เสนอให้ผู้นำลุกขึ้นมาทำหน้าที่ “ตั้งเป้าหมายสูงขึ้น… และสูงขึ้น” ท้าทายสมาชิก

Build Confidence หรือ เสริมสร้างความเชื่อมั่น

ทันทีที่ผู้นำ “ตั้งเป้าหมายสูงขึ้น” สิ่งที่เกิดทันทีในจิตใจและความคิดของสมาชิกทีมมักจะ “ตรงกันข้ามกับความท้าทาย” เสมอ… การจะสร้างกลไกเพื่อท้าทายการสร้างผลงานสูงกว่าเดิมต่อทีมนั้น… ผู้นำจำเป็นต้องพิจารณาเงื่อนไขด้านขวัญกำลังใจ และ เงื่อนไขความเชื่อมั่นต่อเป้าหมายใหม่… กรณีการปรับเป้าหมายสูงขึ้น โดยไม่มีบริบทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเป้าหมายใหม่ เหมือนให้ปีนต้นไม้สูงกว่าเดิม ด้วยบันไดเตี้ยเท่าเก่า… มันคงยากจะเป็นไปได้

Provide Coaching หรือ เป็นผู้ฝึกสอนที่ดี

เป้าหมายนอก Comfort Zone โดยทั่วไปจะมีความซับซ้อนที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ซึ่งบ่อยครั้งมักจะ “ขาดความสมบูรณ์แบบ หรือ อาจจะถึงขั้นผิดพลาดล้มเหลวก็ได้” ผู้นำจึงจำเป็นต้องทำหน้าที่โค้ช หรือ ผู้ฝึกสอน โดยพาสมาชิกทีมหาทางใหม่ หรือ พยายามใหม่ โดยไม่ทำตัวเป็นผู้ตัดสิน หรือ ทำตัวเป็นผู้พิพากษา หรือ เลวร้ายขั้นทำตัวเป็นเพชฌฆาตแบบเซมาฆ่าหมด

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts