การตื่นตัวเรื่องข้อมูลในภาคธุรกิจ ที่กำลังเผชิญการท้าทายเพื่อปรับและเปลี่ยนแปลง ก่อนจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในกระแส Disruption ที่ส่วนใหญ่พวกเราตื่นตัวและตื่นกลัวกันไม่น้อย
ประเด็นสำคัญที่ตื่นแล้วยิ่งกังวลและกลัวกว่าเดิมก็คือ… เรื่องข้อมูลและสถิติ!!!
ในขณะที่ทุกบริษัท ทุกองค์กรและทุกคนรู้จักแถมมีข้อมูลมากมายในมือ ตั้งแต่ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลบัญชีการเงิน ข้อมูลสินค้าคงคลัง วัตถุดิบ โรงงาน ขนส่ง ฯลฯ… แต่ได้ยินมาว่าจะต้องเก็บข้อมูลให้เป็น วิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกและเอาข้อมูลไปใช้ให้แม่นๆ จึงจะมีประโยชน์กับยอดขาย รายได้และการเติบโต
คำถามก็คือ… เอาข้อมูลมาทำยังไง?
ความจริงก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเกี่ยวกับข้อมูลหรอกครับ… โดยเฉพาะในชั้นต้นๆ ที่เอาข้อมูลมานับ… จัดกลุ่ม… แบ่งประเภท… ส่วนจะนับได้เท่าไหร่? จัดได้กี่กลุ่ม? และแบ่งได้กี่ประเภท ชนิดหรืออะไรก็ตาม… ทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มี และเก็บมาหาได้
ยากขึ้นมาอีกหน่อยก็คือการวิเคราะห์และแปลข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจว่า… ข้อมูลบอกอะไรเราบ้าง เช่น มียอดขายรถยนต์ 4×4 ที่ตากมากกว่าจังหวัดอื่นจากการนับยอดขายเฉลี่ยเทียบกับทุกจังหวัดในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งขั้นของการวิเคราะห์จะเจาะเหตุผลที่จังหวัดตากขายรถแบบ 4×4 ได้มากกว่าที่อื่น โดยชั้นนี้อาจจะต้องตามดูข้อมูลอื่นๆ ประกอบทั้งข้อมูลภายในและภายนอก รวมทั้งข้อมูลคู่แข่งหรือคู่ค้าด้วย
นี่คือต้นเหตุที่ว่า… ข้อมูลยิ่งมีมาก ยิ่งวิเคราะห์ได้แม่นยำ ซึ่งในชั้นการวิเคราะห์ที่แม่นยำ จะนำไปสู่การทำนายแนวโน้ม หรือ Prediction จนนำไปสู่กลยุทธ์ที่แม่นยำอย่างแท้จริง
ประเด็นก็คือ… ข้อมูลต้องเยอะและต้องจัดการข้อมูลเป็นจึงจะใช้ประโยชน์ข้อมูลได้… สุดท้ายจึงวนกลับมาที่ เราต้องหาคนที่เก่งข้อมูลอย่าง Data Scientist มาจัดการให้… และสุดท้ายกลายเป็นอุปสรรคที่แม้แต่ธุรกิจใหญ่ๆ มีงบประมาณเหลือเฟือจะจ้าง แต่ก็หาคนเก่ง Data ได้ยากยิ่งในห้วงเวลานี้
ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับฝากหาคนทำข้อมูลให้พี่ๆ เพื่อนๆ ที่รู้จัก… หลายคนถามจ้างผมตรงๆ ก็บ่อยเหมือนกัน… แต่ท่านคงทราบว่าผมไม่ตกลงกับใคร เพื่อไปอยู่กับข้อมูลอีกแล้ว มีก็… สอบถามเพิ่มเติมว่าเพื่อนๆ พี่ต้องการอะไรจากข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะจบที่ แนะนำให้ลองหาซอฟท์แวร์ Dashboard มาใช้… ทั้งแบบพัฒนาขึ้นมาใช้เองแบบจ้างโปรแกรมเมอร์มาทำขึ้นใหม่… หรือไม่ก็หันหาซอฟท์แวร์สำเร็จรูปมาใช้
Dashboard Software คือโปรแกรมที่สามารถ Query ข้อมูลเชิงสถิติมาแสดงผลให้เราเห็นข้อมูลที่ผ่านการนับ การจัดกลุ่ม และการแบ่งข้อมูลตามเงื่อนไขต่างๆ มาแสดงผลแบบที่เราทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่น เอาข้อมูลจากตารางเป็นหมื่นแถว มานับและแสดงผลรวม… ว่ามีกี่แถวทั้งหมด… ข้อมูลแต่ละแถวบอกอะไรยังไง… อะไรทำนองนี้
ที่สำคัญกว่านั้น… Dashboard Software ในปัจจุบันจะรายงานข้อมูลแบบ Realtime ได้หมดแล้ว… ขอเพียง Input Data มีสถานะ Realtime ก็พอ… ตรงนี้เองที่ทำให้ การพิจารณาคุณสมบัติของ Dashboard Software จึงต้องดูคลุมจาก Input ถึง Report ทั้งระบบครับ… ซึ่งคุณสมบัติพอสังเขปจะมีดังนี้ครับ
1. Connect All Business Touchpoints
หมายความว่า Dashboard จะต้องเชื่อมกับต้นทางข้อมูลทุกจุดให้ได้… ลองนึกถึงตารางข้อมูลที่เป็นคอลัมน์ๆ บรรจุตัวเลขหรือข้อความในแถวเดียวกัน… ตัวข้อมูลที่อยู่ในแต่ละคอลัมน์นั่นแหละครับที่ต้อง Upadate กันแบบ Realtime ก่อน… ตัว Report ที่แสดงผลบน Dashboard ก็จะ Realtime Update ตามไปด้วยได้… ประเด็นก็คือ ในทุกๆ Touchpoint อย่างน้อยต้องเป็นที่มาของข้อมูลในคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์!
2. Communicate Across the Board
Dashboard Software ต้องแชร์ Report ได้แบบ Realtime เช่นกันครับ… ไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าทุกอย่างจบลงที่ Report สวยๆ แถม Realtime บนโต๊ะผู้บริหารหรือที่ประชุมเท่านั้น… เพราะสุดท้ายแล้ว ข้อมูลต้องนำกลับไปให้ Touchpoint ที่ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานได้เห็นและใช้เพื่อตัดสินใจที่ Realtime ด้วย
3. Take Advantage of Software as a Services
คุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรมีก็คือ… ความสามารถในการปรับเปลี่ยนขนาดของทีมในการใช้ข้อมูลในระบบเดียวกัน… ต่อให้วันนี้ทีมของท่านมีเพียง 2 คนหรือจะมี 2000 คนใช้งานอยู่ การปรับลดปรับเพิ่มต้องทำได้ง่ายและไม่เป็นอุปสรรค… นั่นเป็นเหตุผลให้มอง Dashboard เป็น Services มากกว่าจะมองเป็น Tools เหมือนซอฟท์แวร์ทั่วไป
ประเด็นตรงนี้เป็นเรื่องการบริหารจัดการโครงสร้างของระบบข้อมูลที่ต้องยืดยุ่น… เพื่อให้ข้อมูลไหลเวียนและทำประโยชน์ได้สูงสุดและวัดผลได้จากทั้ง OKRs และ KPI
4. Skip Endless Scrolling
เมื่อทุกอย่าง Realtime ได้ทั้ง Input และ Report… การมองหารายงานสรุปก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ซึ่งประเด็นนี้ผมยืนยันเลยว่า การวิเคราะห์และติดตาม หรือ Analysis and Monitoring จะกลายเป็นเรื่องรองลงมา เพื่อหลีกทางให้ Realtime Reaction Guidline เช่น หลัง 16.00 น. ให้ลดราคาเบเกอรี่ที่อบก่อน 10.00 น. ที่เหลือยู่ลง 30% เป็นต้น… การไถหน้าจอเลื่อนดูข้อมูลจะไม่จำเป็น เพราะท่านสามารถตั้งการแจ้งเตือนต่างๆ ตรงไป Touchpoints พร้อม Guidelines ได้โดยตรง
สุดท้ายผมมีรายชื่อ Dashboard Software ที่ Business to Community แนะนำไว้ 10 ตัวมาฝากครับ… คุณสมบัติ Software แต่ละตัวท่านไปศึกษาเพิ่มเติมเองน๊ะครับ
- Datapine
- Microsoft Dynamics 365
- SimpleKPI
- iDashboards
- Microsoft SQL Server Reporting Services
- Geckoboard
- Chartio
- Zoho Reports
- Klipfolio
- DashThis
ศึกษาเพิ่มเติมมากๆ… ขาดเหลือ Add line @reder มาคุยกันได้เสมอเช่นเดิมครับ
อ้างอิง