Toxic Leader

Toxic Leader… ผู้นำทำพิษ #ExtremeLeader

คนเป็นผู้นำ หรือ เป็นหัวหน้า หรือ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือคนกลุ่มหนึ่ง… ซึ่งถือภาวะการนำ หรือ Leadership อันชัดเจนผ่าน “การตัดสินใจ” หลายๆ กรณีให้เห็นเป็นผลกระทบถึง “กลุ่มคนภายใต้ภาวะการนำ” อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง… การตัดสินใจ และ พฤติกรรมของผู้นำที่แสดงออกต่อกลุ่มคนภายใต้ภาวะการนำจึงมีความสำคัญกับเงื่อนปมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังการตัดสินใจ และ สื่อสารกลับไปถึงกลุ่มคนภายใต้ภาวะการนำทั้งหมด… การถือภาวะผู้นำจึงมีหลายประเด็นให้ “คิด และ ตรึกตรอง” ก่อนการตัดสินใจ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้นำที่ใช้ปฏิสัมพันธ์กับทุกคนที่อยู่ภายใต้ภาวะการนำทั้งหมดด้วย

ประเด็นก็คือ… พฤติกรรมของผู้นำส่วนหนึ่งก่อปัญหาให้ความสัมพันธ์ระหว่างตนกับกลุ่มคนภายใต้ภาวะการนำ และ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จล้มเหลวขององค์กร และ ทีม… รวมทั้งตัวผู้นำ หรือ หัวหน้าคนนั้นด้วย

Professor Marcia Lynn Whicker เจ้าของผลงาน Toxic Leaders: When Organizations Go Bad และ เป็นศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จาก University of North Carolina at Chapel Hill ได้ระบุถึงพฤติกรรมผู้นำที่ทำพิษกับตัวเอง และ องค์กรถึงขั้นนำความล้มเหลวใหญ่หลวงมาสู่ตนเองกับกลุ่มคนภายใต้การนำ ซึ่งก็คือความล้มเหลวระดับทีมและองค์กร… ซึ่งมีพฤติกรรมที่ควรระมัดระวังหลักๆ ได้แก่ ผู้นำเผด็จการ และ ผู้นำที่ป่วยทางจิตแบบต่างๆ

งานตีพิมพ์ในหัวข้อ Petty Tyranny in Organizations ของ Professor Blake E. Ashforth ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์กรจาก Arizona State University ได้บัญญัติคำเรียกพฤติกรรมผู้นำที่มีพฤติกรรมสุดอันตรายต่อองค์กรที่ตัดสินใจ และ สั่งการโดยใช้ “ความกลัว” แบบต่างๆ ขับเคลื่อนเป้าหมายว่า Petty Tyranny หรือ ทรราชน้อย… ผู้นำ และ การนำแบบ Tyrannical Style of Management หรือ การจัดการแบบเผด็จการทรราช ที่สร้างบรรยากาศหวาดกลัว และ หวั่นไหวให้มีอยู่ตลอดเวลาต่อการรับรู้ของทุกคน… จึงไร้ค่า และ ไร้ความหวังจนนำไปสู่ความล้มเหลวในท้ายที่สุดเสมอ

ผลการศึกษามากมายเกี่ยวกับความสำเร็จล้มเหลวขององค์กร มักจะเกี่ยวพันถึงผู้นำ และ รูปแบบการนำซึ่งมาจากพฤติกรรมของผู้นำอย่างมีนัยยะ… Professor Barbara Kellerman ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Public Leadership ได้ระบุถึงลักษณะพื้นฐานของผู้นำยอดแย่ และ เลวร้ายเอาไว้ว่า… คนพวกนี้จะโดดเดี่ยว ก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง เข้มงวดไม่ยืดยุ่นในการทำงานและสั่งการ ใจแข็ง เลือกปฏิบัติ และ ทุจริต โดยจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมหลายอย่างให้เห็น เช่น

  • Oppositional behaviour หรือ มีพฤติกรรมต่อต้าน หรือ ขวางโลก
  • Plays corporate power politics หรือ เล่นการเมืองในองค์กร
  • An over-competitive attitude หรือ ยินยอมชื่นชอบให้เกิดการชิงดีชิงเด่นเกินพอดี
  • Perfectionistic attitudes หรือ ยินยอมชื่นชอบแต่ความสมบูรณ์แบบ
  • Abuse of the disciplinary system หรือ ใช้กฏระเบียบโดยบิดเบือนเพื่อทำลายเพื่อนร่วมงาน
  • Shallow and lack self-confidence หรือ ตื้นเขิน และ ขาดความมั่นใจในตนเอง
  • Poor self-control and restraint หรือ ควบคุมตนเองไม่ดี และ ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • Physical and psychological bullying หรือ คุกคามข่มขู่ทางร่างกาย และ จิตใจ
  • Procedural inflexibility หรือ ยึดมั่นถือมั่นกับขั้นตอนมากกว่าเป้าหมาย หรือ ผลลัพธ์
  • Discriminatory attitudes หรือ เลือกปฏิบัติและกีดกัน
  • Causes division หรือ สร้างความแตกแยก
  • Use divide and rule tactics หรือ ใช้เล่ห์เหลี่ยม “แบ่งแยก และ ปกครอง”
  • Arrogant หรือ หยิ่งยโส
  • Irritability หรือ ขี้หงุดหงิด

นอกจากนั้น… ยังมีพฤติกรรมของผู้นำอีกมากที่ก่อมลพิษให้องค์กร และ ผู้คนภายใต้การนำ จนเห็นลางความล้มเหลว และ เกิดล้มเหลวขึ้นจริงตามที่เห็นเป็นบรรยากาศเน่าๆ นำมาก่อนหน้านั้น… นักจิตวิทยาองค์กรส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า… พฤติกรรม Aggressive Narcissism หรือ ก้าวร้าวหลงตัวเองของผู้นำถือว่าอันตรายและเป็นภัยที่สุดสำหรับองค์กร และ ผู้คนภายใต้การนำนั้น

Professor Robert D. Hare ในฐานะนักจิตวิทยาจาก University of British Columbia ในแคนาดา เจ้าของ PCL-R model หรือ Hare Psychopathy Checklist-Revised ซึ่งเป็นแบบประเมินพฤติกรรมจิตเภทหลักที่มีใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก… ได้วิพากษ์ และ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมเชิงจิตวิทยาที่ทำลายภาวะผู้นำอย่างชัดเจนไว้ว่า…

  1. Glibness and superficial charm หรือ ขี้โอ่ฉาบฉวย
  2. Grandiose sense of self-worth หรือ หลงผิดต่อคุณค่าของตน
  3. Pathological lying หรือ โป้ปดมดเท็จเป็นนิสัย
  4. Cunning and manipulative หรือ เจ้าเล่ห์ และ บงการ
  5. Lack of remorse or guilt หรือ ไร้สำนึกผิดชอบ
  6. Callous and lack of empathy หรือ ใจร้าย และ ขาดความใส่ใจต่อผู้อื่น
  7. Shallow emotional affect หรือ อารมณ์แปรปรวน
  8. Failure to accept responsibility for own actions หรือ ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง

ประมาณนี้ครับ… ไว้โอกาสหน้าค่อยแกะเนื้อหาและแตกประเด็นต่อจากนี้ ซึ่งยังมีแง่มุมให้พูดถึงอีกมาก ตอนนี้แปลไป เรียบเรียงไปก็รู้สึกเข้าตัวไปแทบทุกจะทุกพารากราฟ จนต้องขอพักตอนก่อนจะไม่เหลืออะไรให้หลอกตัวเองอีก!!!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts