การเป็นคนคิดบวก และหรือ ถูกสอนให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี เข้าอกเข้าใจข้อจำกัดของปรากฏการณ์เลวร้าย และ “ทำใจ” กับความยากลำบากนานาที่เกิดกับตน โดยให้รักษา “ความรู้สึกดี” ผ่านมุมมองเฉพาะเจาะจงแต่ด้านที่ดี โดยข้ามผ่านละวางอารมณ์ความรู้สึกแท้จริงที่กรุ่นโกรธ เศร้าซึม และ เสียใจ… ซึ่งทำให้ปฏิสัมพันธ์ที่แสดงออกต่อคนอื่นขัดแย้งกับอารมณ์แท้จริงอย่างสิ้นเชิงให้อยู่ในสภาพ “หน้าชื่นอกตรม” กลายเป็นคนสะสมอารมณ์ความรู้สึกด้านลบเอาไว้ใต้หน้าฉากร่าเริงยิ้มแย้ม สุขสงบ และ ทำใจให้เรื่องราวผ่านไปได้… ทั้งๆ ที่มันไม่จริง
ทุกคนรู้ดีว่าการมองโลกในแง่ดีมีผลดีกับสุขภาพจิต ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเสมอถ้าไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบปะปน หรือ ซุกซ่อนเอาไว้… โดยเฉพาะอารมณ์ความรู้สึกด้านลบที่มาจาก “ปัญหาชีวิต และ ปัญหาการใช้ชีวิต” ที่คนส่วนใหญ่ต้องรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกด้านลบที่มาจากภาวะ “ไม่ได้ดั่งใจ” โดยสร้างความผิดหวัง เสียใจ หรือถึงขั้นโกรธเกลียดเคียดแค้นใส่ประสบการณ์ชีวิต… แต่ไม่กล้า หรือ ไม่สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงในขณะนั้นของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา… คนดีๆ ในสายตาของเพื่อนฝูงและครอบครัวส่วนหนึ่งจึง “สวมเสื้อระเบิดพลีชีพ” ติดตัวที่พร้อมจะปะทุใส่ใคร หรือ อะไรได้ทุกเมื่อ
ประเด็นก็คือ… คนดีๆ ส่วนหนึ่งเลือก หรือ ตกอยู่ในภาวะหน้าชื่นอกตรมเพื่อปัดเป่าปัญหาความสัมพันธ์แทนการเผชิญหน้า หรือไม่ก็เจตนาซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม รวมทั้งการเลือกที่จะอดทนอดกลั้นเพื่อเป้าหมายอำพรางที่สุ่มเสี่ยงต่อความผิดหวังล้มเหลว ซึ่งอาจจะก่อผลร้ายให้อย่างใหญ่หลวง หรือไม่ก็ “ละอาย” เกินกว่าจะเปิดเผยตรงไปตรงมา… คนดีๆ ส่วนหนึ่งจึงเก็บกดเจ็บช้ำจำทนทั้งที่รู้ตัว และ ไม่รู้ตัว ซึ่งส่งผลถึงความสุขในการใช้ชีวิตอย่างมาก
โดยเฉพาะภาวะหน้าชื่นอกตรมซึ่งความเบิกบานยิ้มแย้มที่แสดงออก เป็นการเสแสร้งกลบเกลื่อนปัญหาที่ไม่ถูกจัดการให้ดีพอที่อารมณ์ความรู้สึกด้านบวกที่แท้จริงจะเกิดได้ ซึ่งหลายกรณีถูกซ้ำเติมด้วยทัศนคติ และ คำแนะนำให้ละวางและทำใจเพื่อข้ามผ่าน โดย “ใช้ชิวิต” เพื่อเป็นคนดีที่น่ารักกับคนอื่นๆ รายรอบ โดยเฉพาะกับคนรายรอบที่สร้างปมหน้าชื่นอกตรมให้ต้องเก็บกดเจ็บช้ำและจำทน… คำแนะนำแรกที่นักจิตวิทยาจาก VeryWellMind.com แนะนำไว้ จะให้กลับไป “จัดการอารมณ์เชิงลบของตนก่อน” ด้วยการจัดการสาเหตุ และ ผลพวงทั้งหมดที่ทิ้งปัญหาอันมีผลกับความเครียดเอาไว้
ส่วนที่เหลือต่อจากนั้นคือการทำความเข้าใจปัญหาตามข้อเท็จจริงที่เป็นไปตาม “ปัจจัยภายนอก” ซึ่งต้องถอดปัจจัยภายใน และ ความต้องการที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงออกทั้งหมด เพื่อขจัด “ความลำเอียง หรือ Bias” ที่พาให้คนดีๆ ตกหลุมพลางปัญญามืดบอดได้ง่ายๆ เพียงละลืมที่จะใส่ใจตนเองให้อยู่กับความจริงที่เป็นจริง… ซึ่งบ่อยครั้งทำให้การหลุดพ้นปัญหาทำได้ไม่ดี และ กลายเป็นประเด็น “ค้างคาใจ” สะสมความรู้สึกกรุ่นโกรธ เศร้าซึม และหรือ เสียใจเอาไว้กับตัวโดย “ฝืนคิดบวก” ต่อไปทั้งๆ ที่เจ็บปวดคับข้องใจ… ลองเลิกฝืนดูบ้างก็ได้!
References…
One reply on “Toxic Positivity… หน้าชื่นอกตรม #SelfInsight”
[…] https://reder.red/toxic-positivity […]