Fail Fast

Trial and Error Method for Leader #ExtremeLeader

Trial and Error หรือ การลองผิดลองถูก… ถือเป็นวิธี “หาทางแก้ปัญหา” วิธีหนึ่ง และ ยังเป็นทั้ง “วิธีหาทางแก้ปัญหา และ เป็นวิธีแก้ปัญหา” ที่คนส่วนใหญ่เคยใช้กับปัญหาเชิงเทคนิคในชีวิตประจำวันกันมามาก เพื่อจัดการอุปสรรคที่จัดการแบบหนึ่งไม่ได้ ก็หาทางจัดการแบบอื่นๆ จนบรรลุวัตถุประสงค์

ประเด็นก็คือ… Trial and Error หรือ การลองผิดลองถูกเป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาที่แสนจะธรรมดา และ ยังถูกใช้โดยสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่มีสมอง ที่หมายรวมถึงสัตว์หลายชนิดบนโลกไปจนถึงมนุษย์ผู้ฉลาดปราชญ์เปรื่องที่มนุษย์จำนวนมากยอมรับและยกย่องในผลงานการสะสางเรื่องยากๆ และนำพาให้มนุษย์คนอื่นๆ รู้วิธีแก้ปัญหาที่คนส่วนใหญ่คิดไม่ออก หรือ แม้แต่ยังไม่รู้มาก่อนด้วยซ้ำว่ามีปัญหาแบบนั้น เพราะถูกพบวิธีแก้ไขมาก่อน ในขณะที่ปัญหาดังกล่าวถูกแก้ไขด้วยการ “ป้องกันปัญหา” เอาไว้เรียบร้อยไปแล้ว

Trial and Error ในมุมมองระดับทฤษฎีและหลักการจึงถือเป็น “เครื่องมือแก้ปัญหา” ที่ทรงพลังมากที่สุดชิ้นหนึ่ง ที่มนุษย์ทุกคนมีติดตัวมาพร้อมกับสมองและสติปัญญาในแบบ “รู้คิด และ กล้าลอง” และ ยังถูกยกให้เป็นวิธีและแนวทางในการค้นคว้าวิจัย และ พัฒนานวัตกรรมด้วย

ปัญหาก็คือ… การลองผิดลองถูกเป็นวิธีการเรียนรู้จากความผิดพลาดล้มเหลว แบบที่สำนวนไทยโบราณสอนไว้ว่า “ผิดเป็นครู” นั้น… ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมักจะไปสัมพันธ์กับ “ความละอาย หรือ Ashamed” ในระดับจิตวิทยาพื้นฐานมนุษย์ ที่โยงไปถึง “อัตตา หรือ Ego” ของเราเองอย่างชัดเจน… 

ที่สำคัญกว่านั้น… ผลของการลองผิดลองถูกและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ยังไปปรากฏในสังคมให้มนุษย์คนอื่นได้เห็น และ ได้รับรู้เกี่ยวกับความผิดพลาดล้มเหลวในกระบวนการลองผิดลองถูกนั้น… ซึ่งถ้าโชคดีเป็นสังคมที่มีแต่มนุษย์ที่เข้าใจเรื่องลองผิดลองถูก และ ยอมรับว่าความผิดพลาดว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ก็ไม่เท่าไหร่… ในขณะที่ข้อเท็จจริงมักจะได้เห็นคนส่วนใหญ่ที่แวดล้อม มีส่วน และ รับรู้ความผิดพลาดล้มเหลว… ต่างก็ “ตัดสิน” บนข้อบกพร่องผิดพลาดที่ปรากฏนั้น โดยไม่สนใจภาพรวมของปัญหาจริงๆ ที่อยู่เบื้องหลังกันเท่าไหร่

การลองผิดลองถูกในโมเดลขององค์กร ซึ่งมีการรวมตัวกันโดยคนหลายคนเป็น “สังคมที่ทำงาน” จึงยากที่จะเลี่ยงการถูกตัดสินจากสังคมที่ทำงาน ซึ่งความผิดพลาดใดๆ มักจะถูกพิพากษาจากสังคมที่ทำงานในแง่ลบเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ในองค์กรที่วางเรื่อง “ความผิดพลาด” เป็นนโยบายหลักที่ยอมรับให้เกิดได้… ซึ่งถ้าเข้าไปดูรายละเอียดจริงๆ ก็จะทราบว่า… มันมีเงื่อนไขของ “ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ กับ ความผิดพลาดที่ยอมรับไม่ได้” กำกับอยู่เสมอเช่นกัน… โดยความผิดพลาดที่ยอมรับได้ส่วนใหญ่มักจะเป็นขั้นตอนเพื่อพิชิตเป้าหมายที่ใหญ่มากในขั้น “เกินคุ้ม” ในท้ายที่สุดนั่นเอง ซึ่ง “พลาดคือพัง” ไม่เคยได้เป็นความผิดพลาดที่ยอมรับได้มาแต่ไหนแต่ไร

แนวคิดในการลองผิดลองถูกในองค์กรจึงไม่ได้เป็นเรื่องลองผิดลองถูกไปเรื่อยเปื่อย หรือ แม้แต่การลองผิดลองถูกแบบเป้าหมายคลุมเครือ หรือ แม้แต่เป้าหมายอยู่นอกกลยุทธ์และจุดแข็งขององค์กร ซึ่งเห็นชัดเจนว่าผลลัพธ์สุดท้ายไม่ว่าจะออกมาแบบไหนก็ “มีแต่ได้ไม่คุ้มเสีย” ทั้งหมด

การบอกกันเรื่องความล้มเหลวผ่านสำนวน “Fail Fast, Fail Cheap, Fail Forward หรือ ล้มให้เร็ว ล้มให้ถูก ล้มไปข้างหน้า” จึงชัดเจนว่าไม่สามารถล้มเหลวแบบพลาดพัง หรือ ได้ไม่คุ้มเสีย… เพราะคำว่า Fail Forward หรือ ล้มไปข้างหน้าในวลีท้ายสำนวนจะหมายถึง “ทุกความล้มเหลวก็เพื่อเข้าใกล้เป้าหมายให้มากขึ้นกว่าเดิม” อันเป็นความล้มเหลวที่ให้ผลลัพธ์แบบเดียวกับความสำเร็จ ซึ่งย้อนแย้งในตัวอย่างชัดเจน

สาระหลักเกี่ยวกับวิธีเอาชนะปัญหาและอุปสรรคด้วยการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก หรือ Trial and Error Method จึงไม่ได้มีเนื้อแท้ให้พูดถึง “ความล้มเหลวแบบพลาดพัง หรือ ได้ไม่คุ้มเสีย” ซึ่งผู้นำองค์กรที่กำลังพัฒนาอะไรใหม่ขึ้นในองค์กร โดยเฉพาะความพยายามในระดับการพัฒนานวัตกรรมนั้น… จึงต้องจัดการ และตัดสินใจเกี่ยวกับข้อบกพร่องผิดพลาดที่ปรากฏภายใต้การประเมินศักยภาพการมุ่งเป้าเสมอ เมื่อจะต้องเอาวิธี “ลองผิดลองถูก” มาใช้… ซึ่งในทางเทคนิคมักจะมีเป้าหมายบางประเภทเท่านั้นที่จำเป็นต้องทดลอง และ เตรียมใจเผื่อล้มเหลวพลาดพัง

เชื่อเถอะว่า… ไม่มีใครดูดีหรอกครับเวลาทำอะไรแล้วพลาดพัง แม้แต่ในสายตาตัวเองก็ไม่มีทางจะดูดีเช่นกัน!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts