ข้อเท็จจริงที่ว่า แต่ละวันของแต่ละคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แตกต่างและคาดหวังให้เป็นเหมือนเดิมทุกวันนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่ากิจวัตรของคนส่วนใหญ่ “ดูเหมือนจะ” วนเวียนซ้ำเดิม… ในบรรยากาศการเรียนการสอนก็เช่นกัน ผู้สอนและผู้เรียนในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวัน ก็มีทั้ง “ภาระ” และ “ภาวะ” ที่หมุนเวียนไปตามบริบทที่ “ดูเหมือนจะ” ซ้ำๆ วนเหมือนเดิม ในขณะที่ข้อเท็จจริงแบบ… เช้าก็อย่างหนึ่ง บ่ายก็อย่างหนึ่ง เกิดขึ้นกับแทบจะทุกคนในทุกๆ วัน
ประเด็น “ภาระ และ ภาวะ” ของหลายๆ คนแบบนี้… หนังสือหลายเล่มเขียนถึง “ระดับพลังงาน” ของผู้คนในช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อทำความเข้าใจ “รูปแบบที่ทรงประสิทธิภาพ” ที่คนๆ หนึ่งมีช่วงเวลาอันทรงพลังในการสะสางธุระการงานและเป้าหมาย หรือ “ภาระ” ภายใต้สภาวะหนึ่ง… ซึ่ง “ภาวะ” ในขณะเกิดการเรียนการสอนก็จำเป็นจะต้องรู้จักและเข้าใจ “ช่วงเวลาอันทรงพลัง” ที่หมายถึงระดับพลังงานที่เพียงพอต่อประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์ของภาระ หรือภารกิจตรงหน้า ทั้งของผู้สอนและผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอน… ซึ่งสภาวะ หรือ ภาวะที่สามารถจะบรรลุวัตถุประสงค์ของภาระได้ดีนั้น ต้องการภาวะระดับฝักใฝ่ต่อเป้าหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือความสนใจและจดจ่อที่จะ “สะสางภาระให้ลุล่วง”
ในกรณีความสนใจและจดจ่อต่อการศึกษาเรียนรู้ หรือที่แวดวงการศึกษานิยมใช้คำว่า “ความสนใจใฝ่เรียน หรือ Attention” ที่มักจะหมายถึง ภาวะจดจ่ออย่างมีสติและสมาธิในเนื้อหาบทเรียน เพื่อให้ได้ผลการถ่ายทอดความรู้ ที่วัดความรู้จากผู้เรียนได้โดยตรง ว่าเพิ่มขึ้นแค่ไหนอย่างไรเมื่อเทียบเคียงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ประเด็นก็คือ… ความสนใจระดับจดจ่ออย่างมีสมาธิ ไม่ได้มีระดับหรือรูปแบบเดียว ในบรรยากาศการเรียนการสอนทั่วไป
Graham Allcott ผู้ก่อตั้งเวบไซต์ Think Productive ได้แบ่งความสนใจ หรือ Attention ออกเป็น 3 ระดับคือ
- Proactive Attention หรือภาวะสนใจจดจ่อต่อภาระอย่างสดชื่น มีสติและสมาธิที่สุด
- Active Attention หรือภาวะสนใจจดจ่อต่อภาระด้วยสติ แต่ไร้สมาธิ
- Inactive Attention หรือ ภาวะขาดความสนใจจดจ่อต่อภาระ ขาดทั้งสติจนควบคุมกิริยาอาการได้ยาก และหลายกรณีอยู่ในภาวะทำลายสมาธิ ทั้งของตนเองและผู้อื่นไปพร้อมกัน
แต่ข้อเท็จจริงในประเด็นที่น่าสนใจนี้ก็คือ… ความสนใจจดจ่อในระดับต่างๆ เกิดขึ้นกับทุกคนได้ทุกเวลา โดยจะสัมพันธ์กับ “ระดับพลังงาน” ที่คนๆ หนึ่งมีต่อภาระหนึ่งๆ เช่น นักเรียนที่ Inactive Attention กับวิชาคณิตศาสตร์ สามารถพุ่งเข้าหาลูกฟุตบอลด้วยความสนใจจดจ่อระดับ Proactive Attention ได้ด้วย
การผลักดันผู้เรียนหรือนักเรียนผ่าน VESPA Mindset เพื่อพาผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้นั้น จึงต้องหาทางทำให้นักเรียนรู้จัก “ระดับพลังงานของตนเอง” ที่มีต่อ “ภาระ หรือ กิจกรรมการเรียนการสอน” ในตารางเรียน ซึ่งผู้สอนเองก็ต้องประเมินอย่างรอบด้านให้เข้าถึง “ระดับของความสนใจใฝ่เรียนของผู้เรียนอย่างแท้จริงด้วย”
ในหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin บทที่ 3 หัวข้อ Systems Activity: Three Types of Attention แนะนำให้ส่งเสริมการใช้ ตาราง 3 Type of Attention แยกภาระ หรือ กิจกรรม หรือ Task ให้เห็นระบบดับความสนใจของตัวเอง
ความเห็นส่วนตัวมองว่า… กิจกรรมวิเคราะห์ Attention สำคัญระดับการฝึกทักษะชีวิต ซึ่งแม้แต่ตำรา Desing Thinking เล่ม Designing Your Life ของ Bill Burnett และ Dave Evans ก็ให้ความสำคัญอย่างมากกับการวิเคราะห์ความสนใจและระดับพลังงานในแต่ละกิจกรรม… ซึ่งใช้ได้ทุกเมื่อที่ชีวิตใครสักคนต้องหาคำตอบให้ทางเลือกที่เหมาะควรต่อตัวเองที่สุด
บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน