UAE Food Tech Valley

UAE Food Tech Valley #RederStartup

ความเคลื่อนไหวของชาติในตะวันออกกลางที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแกร่ง เพื่อใช้โอกาสในช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 4 หรือ The Fourth Industrial Revolution ในห้วงเวลานี้ โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการก้าวข้ามข้อจำกัด ทั้งด้านทำเลที่ตั้งและทรัพยากรหายากโดยธรรมชาติ ซึ่งทำเลที่เต็มไปด้วยทะเลทรายอย่างเขตตะวันออกกลาง ก็สามารถปลูกพืช หรือ แม้แต่เลี้ยงสัตว์น้ำเขตหนาวได้แล้ว… ความพยายามที่จะแก้ Pian Point เรื่องการผลิตอาหารของชาติในตะวันออกกลางให้เพียงพอและลดการนำเข้าให้ได้มากที่สุด… จึงเข้มข้นและดุเดือดยิ่งกว่าการซื้อขายน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าเสียอีก

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ ได้ให้ข้อมูลผ่านกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP ในกรณีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ United Arab Emirates หรือ UAE ได้เปิดตัวโครงการ Food Tech Valley เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารแห่งใหม่ ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตพืชผลทางการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคงในการผลิตอาหาร และ ลดการสูญเสียทรัพยากร… ซึ่งเป็นการสร้างเขตเศรษฐกิจ หรือ Economic Zone เป็นกรณีเฉพาะของ UAE เพื่อชิงบทบาทนำในการเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารสะอาดและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในตะวันออกกลาง และ ยังมุ่งเป้าที่จะเป็นศูนย์บ่มเพาะสําหรับนักวิจัย ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบนิเวศที่มีศักยภาพในการวางแผนอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารด้วย

รายงานข้อมูลจากเวบไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 มีข้อมูลจาก ข้อเสนอแนะของผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ… คุณปณต บุณยะโหตระ ให้ความเห็นว่า… ประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในภาคการเกษตรอยู่แล้ว เช่น การใช้ Blockchain Agriculture ช่วยบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรและพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด… การใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนบินสำรวจพื้นที่ เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิน ความชื้นในอากาศ และข้อมูลแร่ธาตุต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วย Big Data Analytics และ ปัญญาประดิษฐ์… ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรของ UAE 

หากไทยและ UAE สามารถร่วมมือกันในด้านการพัฒนาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารได้ ก็จะทำให้ทั้งสองประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับด้านคุณภาพและปริมาณการผลิต ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรไทยให้ก้าวไปสู่การทำการเกษตรแบบยั่งยืน

ส่วนข้อมูลเบื้องต้นโครงการ Food Tech Valley ของ UAE จะประกอบไปด้วย 4 คลัสเตอร์สำคัญ ได้แก่

1. กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตรและวิศวกรรม… จะมีฟาร์มแนวตั้งที่จะใช้เทคโนโลยีอาหารล่าสุดในการปลูกพืชที่สำคัญตลอดทั้งปี และ มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการนวัตกรรมด้านชีววิศวกรรม หรือ Bioengineering… ระบบควบคุมอัตโนมัติที่สามารถเริ่มต้นการทำงานได้เองผ่านการรันโปรแกรมที่วางเอาไว้ เพื่อช่วยในการควบคุม สั่งงาน หรือ รับคำสั่งงานอื่น… เทคโนโลยีหุ่นยนต์ หรือ Robotics… ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และสิ่งสนับสนุนอื่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในระบบนิเวศอาหาร

2. ศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีธุรกิจเกษตรแบบรวมศูนย์เดียว… จะช่วยยกระดับความสามารถผู้ประกอบการในการแข่งขันทางธุรกิจ ทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการ มีโรงงานเฉพาะทางผลิตอาหารชนิดใหม่สำหรับร้านอาหาร และการเพิ่มขีดความสามารถและนวัตกรรม การบริการธุรกิจร้านอาหารแบบยั่งยืนและพอเพียง ช่วยลดการสูญเสียและการเหลือทิ้งทรัพยากร

3. ศูนย์ด้านการวิจัยและพัฒนาระดับโลก… เพื่อฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และสนับสนุนสถานประกอบการด้านอาหาร จัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกโดยการใช้หุ่นยนต์เกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและพืชทนแล้ง รวมทั้งการประยุกต์การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตโปรตีนทางเลือก และ ศูนย์ R&D จะศึกษาการใช้ AI ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และจัดการพืชผลทางการเกษตร และตรวจจับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นความพยายามในการวิจัยความมั่นคงด้านอาหารโดยการทำการเกษตรจากการกลั่นน้ำทะเล การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทำการเกษตร โภชนพันธุศาสตร์ หรือ Nutritional Genomics เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการ สมรรถภาพร่างกายและพันธุกรรม ทำให้ทราบถึงความต้องการสารอาหารที่จำเป็น เป็นต้น

4. ศูนย์กลางโลจิสติกส์อัจฉริยะ… จะมีระบบจัดเก็บอาหารที่ให้บริการจัดเก็บแบบอัตโนมัติ ควบคุมด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บอาหาร และใช้เทคโนโลยี Big Data มาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการขนส่ง ในการวางแผนดำเนินการและควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคสามารถติดตามคุณภาพอาหารแหล่งกําเนิดอาหารและส่วนประกอบ การเก็บรักษา การส่งมอบเพื่อให้แน่ใจว่าเกิดประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหาร

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP กระทรวงพาณิชย์ ditp.go.th หรือ สายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

กรณีนี้น่าสนใจมากครับสำหรับ AgTech Startup ที่กำลังมองหาโอกาสในต่างประเทศเพื่อโตเป็น Unicorn!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts