Distance Education

ข้อมูลการจัดการศึกษาทางไกลทั่วโลกในวิกฤต COVID-19

UNESCO ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่ตอบสนองต่อวิกฤตไวรัสโคโรน่า ซึ่งส่งผลโดยตรงกับความจำเป็นที่จะต้อง Stay Home, Stay Safe and Keep Distance… จนทำให้การเรียนการสอนทั่วโลกชะงักงันพร้อมกันทั่วโลก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทางออกเดียวของการจัดการศึกษาจึงอยู่ที่ Platform Based Education และ Distance Education เท่านั้น… ผมแนบลิงค์ไว้ใต้อ้างอิงสำหรับท่านที่อยากเห็นข้อมูลชัดๆ ในมุมมองของ Unesco

ประเด็นก็คือ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างลุกขึ้นคว้า “ทรัพยากรสื่อ” เท่าที่มีอยู่ในมือ ผลักดันการศึกษาทางไกลอย่างเร่งด่วน… หลายประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่าง ก็ยังใช้วิธีการออกอากาศทางโทรทัศน์ หรือแม้แต่ใช้การออกอากาศทางวิทยุเท่าที่หาได้… ตัวอย่างกรณีของประเทศ Cabo Verde หมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งใช้คลื่นวิทยุ 2 คลื่นสำหรับออกอากาศช่องครูโดยตรง โดยใช้เนื้อหาจาก Educa.com และ Aprender e Estudar em casa มาออกอากาศส่งเสริมการศึกษาทางวิทยุ

กรณีของเคนย่า… ที่มี Kenya Institute of Curriculum Development เป็นเสาหลัก รับไม้ต่อผลักดันการศึกษาทางไกลทันที โดยมีแพลตฟอร์ม eLearning อย่าง Kenya Education Cloud ที่เคนยาเตรียมไว้เพื่อปฏิรูปการศึกษาอยู่แล้ว

อีกประเทศหนึ่งที่น่าสนใจก็คือไนจีเรีย ที่ข้อมูลชี้ว่า… กระทรวงศึกษาธิการของไนจีเรียวางโครงสร้างการศึกษาให้เด็กในวิกฤต COVID-19 ด้วยการพัฒนาข้อมูลและทรัพยากรสำหรับการศึกษาต่อเนื่อง รวมทั้งการเรียนรู้ของเด็กที่บ้านเป็นรายบุคคลทีเดียว 

ส่วนประเทศยูกันดา… หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติของยูกันดา ได้ร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟในการแนะนำ Platform Kolibri แพลตฟอร์มอีเลิร์นนิ่งฟรีเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ในช่วงปิดโรงเรียนที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19

ขยับขึ้นมาดูกลุ่มประเทศอาหรับในตะวันออกกลางทั้งหมด… ทุกประเทศมี eLearning Platform ใช้งานกันระดับชาติ รวมทั้งสนับสนุนให้ใช้ช่องทาง Youtube เผยแพร่วิดีโอที่ผลิตโดยโรงเรียนและครู เป็นมาตรฐานหนึ่งทางการศึกษา… หลายประเทศในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจึงมีช่องทางสื่อสารการศึกษามากกว่าหนึ่งช่องทางทั้งสิ้น… กรณีของประเทศจอร์แดนก็มีการใช้แพลตฟอร์มมากถึง 3 แพลตฟอร์มในการถ่ายทอดเผยแพร่เพื่อการศึกษา รวมทั้งกรณีของประเทศซีเรียที่สงครามภายในประเทศ ก็ยังไม่สงบเข้าที่เข้าทางมากนัก แต่ก็มีแพลตฟอร์มด้านการศึกษาระดับชาติมากถึง 3 แพลตฟอร์มเช่นกัน

ในกลุ่มประเทศฝั่งเอเชียแปซิฟิก… ประเทศใหญ่อย่างจีนมีหน่วยงานระดับชาติอย่าง National Cloud-Platform for Educational Resources and Public Service ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในจีน ที่สามารถจัดหาอุปกรณ์ถ่ายทำวีดิโอทางการศึกษา ให้โรงเรียนต่างๆ ช่วยกันผลิต Education Contents ให้เด็กๆ ในจีนได้แทบจะไร้รอยต่อ… ส่วนกลุ่มประเทศอย่างอินเดีย อินโดนิเซียและญี่ปุ่น… ต่างก็มี Education Platform ที่ดำเนินการอยู่แล้วมากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม ที่สามารถทดแทนการไปโรงเรียนของเด็กได้ทันทีเช่นกัน

ฝั่งยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง… หลายประเทศมีแพลตฟอร์มมากกว่าสองแพลตฟอร์มใช้สนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล… ประเทศอัลบาเนีย และอัลเซอร์ไบจัน มีแพลตฟอร์มสนับสนุนการศึกษาทางไกลมาตรฐานมากถึง 3 แพลตฟอร์ม… ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ Open Educational Platform โดยกระทรวงศึกษาธิการของรัสเซีย ที่แสดงให้เห็นว่า รัสเซียซุ่มเตรียมตัวเรื่องการศึกษาออนไลน์มานาน ที่การปฏิรูปการศึกษา หมายถึงแพลตฟอร์มด้านการศึกษาที่หลากหลาย ไม่ใช่การศึกษาคือผลิตหนังสือใส่เป้ให้เด็ก หรือไม่ก็คิดซื้อแท็บเล็ตแจกเด็กเหมือนบางประเทศ

แต่ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดเห็นจะเป็นข้อมูลแพลตฟอร์มทางการศึกษาจากฝั่งยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศเยอรมันที่มี Education Platform มากถึง 14 แพลตฟอร์ม… ในขณะที่แคนาดามีมากกว่าถึง 16 แพลตฟอร์ม… ของสหรัฐอเมริกาคงไม่ต้องพูดถึง เพราะ eLearning ในสหรัฐอเมริกาก้าวหน้าไปไกลถึงขั้นเรียนปริญญาเอกออนไลน์ได้ PhD. กันแล้ว

ฝั่งกลุ่มประเทศละตินอเมริกาอย่างเม็กซิโกก็ไม่ได้น้อยหน้า… เม็กซิโกมีแพลตฟอร์มทางการศึกษาทางไกลมากถึง 4 แพลตฟอร์ม และอีกหลายประเทศในกลุ่มนี้มีแพลตฟอร์มด้านการศึกษาทางไกลมากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์มกันหมด ซึ่งข้อได้เปรียบเรื่องการใช้ภาษาสเปนเป็นภาษากลางในหลายประเทศ ของกลุ่มละตินอเมริกา อาจจะทำให้เราได้เห็นการทำ Education Share Resources ที่พลิกเปลี่ยนระบบการศึกษาของหลายๆ ประเทศในละตินอเมริกาเร็วๆ นี้ก็ได้

ประเทศไทยเองโชคดีที่วิกฤต COVID-19 เกิดขึ้นปลายเทอมสองของปีการศึกษาที่โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการส่วนใหญ่จัดสอบปลายภาคเสร็จสิ้นกันหมด กระทบบ้างก็แต่แผนการเดินทางท่องเที่ยวดูงานของครูอาจารย์บางโรงเรียน ที่เป็นประเพณีก่อนปิดภาคเรียนของหลายๆ ที่… ส่วนฝั่งมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ได้ปิดเทอมส่วนใหญ่ค่อนข้างพร้อมสำหรับ eLearning ทั้ง Synchronous / Asynchronous ทั้งระดับสถาบัน อาจารย์และนักศึกษา… ที่วังเวงก็มีแต่การศึกษาพื้นฐานของประเทศไทยทั้งประถมมัธยม รวมทั้งอาชีวะศึกษา… ที่ยังมีบางคนละเมอหาแท็บเล็ตโดยไม่พูดถึงแพลตฟอร์มให้ได้ยินอยู่เลย…

ผมก็ไม่เข้าใจว่าเขาไม่อายที่จะพูดแบบนั้นบ้างรึไง!!!

ที่จริงประเทศไทยมีความพร้อมเรื่องการศึกษาออนไลน์ไม่ด้อยกว่าใครหรอกครับ… เพียงแต่ครูอาจารย์และนักการศึกษาบ้านเราส่วนใหญ่ เข้าใจว่าตัวเองจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบเทคโนโลยีทางการศึกษา ในแพลตฟอร์มที่กระทรวงตั้งขึ้นหรืออย่างไรไม่ทราบ กระแสเมินใส่และไม่ปลื้มจึงกดแม้แต่ข้อมูลข่าวสารของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการศึกษาของชาติ… จนแม้แต่บรรดาครูอาจารย์เองยังไม่รู้ว่ามีแพลตฟอร์มอย่าง ศูนย์การเรียนรู้ด้วยระบบดิจิตอล หรือ OPEC Digital Leraning Center โดยกลุ่มงานทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่แม้จะมองยังไม่เห็นว่าจะเติบโตมาเป็นเสาหลักของการศึกษาชาติได้หรือไม่… แต่อย่างน้อยวิสัยทัศน์มีอยู่ชัดเจนพอที่จะช่วยกันให้เกิดแพลตฟอร์มการศึกษาของชาติ… ซึ่งผมมองว่า ควรก้าวไปถึงขั้นเป็นองค์การมหาชนที่เป็นเอกเทศทั้งการจัดการและกฏหมายเหมือนหน่วยงานองค์การมหาชนอื่นๆ ที่ประเทศไทยมี… 

ประเด็นคือ แพลตฟอร์มด้านการศึกษาระดับชาติทุกมิติ ควรได้รับการส่งเสริมทันทีทุกทางตั้งแต่เดี๋ยวนี้… อย่าด่วนถามหาความเท่าเทียม แท็บเล็ตหรือคนรับผิดชอบที่เขางานเดิมล้นมืออยู่เลย… แค่เปิดทางต้อนรับ EdTech Startup สายเลือดไทยก็เหลือเฟือจะผลักดันได้แล้ว… ไม่เชื่อถามพี่กระทิง เรืองโรจน์ พูนผลดูได้ครับ

จบเท่านี้ก่อนดีกว่าน๊ะ เดี๋ยวจะออกทะเลไปไกล… ผมยิ่งถูกวิญญาณปากมอมเข้าสิงตอนคุยเรื่องปฏิรูปการศึกษาง่ายอยู่ด้วย!!!

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts