ในยุคที่โครงสร้างทางการศึกษาจำเป็นต้องออกแบบให้สามารถผสม หรือ Blended ทั้ง Online เข้ากับ Offline… ผสม Analog เข้ากับ Digital และ ผสม Synchronous เข้ากับ Asynchronous เพื่อเข้าถึงทั้งผู้เรียน และ ผู้ที่ต้องการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาในทุกบริบท… นักการศึกษารุ่นเราจำเป็นต้องออกจากกรอบการใช้ระเบียบวิธี หรือ Method จากวิชาครูดั้งเดิมที่คนรุ่นเราเคยเรียนมาจากครูของเรา… เพื่อเปิดทางให้เครื่องมือทางการศึกษา และ โครงสร้างทางการศึกษายุค EdTech ได้ปลดปล่อยศักยภาพให้ได้สูงสุด ซึ่งทั้งหมดจะเริ่มต้นที่การออกแบบการเรียนการสอนใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในปัจจุบัน… การออกแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ถูกแบ่งปันวิธีการ หรือ Method ผ่านคีย์เวิร์ดคำว่า “Teaching Strategies” ซึ่งมีครูอาจารย์… นักการศึกษา และ นักวิจัยด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั่วโลก… แบ่งปันถ่ายทอดหลักการ และ วิธีการไว้มากมาย โดยการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับบริบทในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาจุดเด่นจุดด้อยก่อนการนำใช้ไม่ต่างจากการเลือกใช้ปรัชญาและทฤษฎีทางการศึกษา… โดย “Teaching Strategies” ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดในศตวรรษที่ 21 เกือบทั้งหมดยังคงต่อยอดมาจากทฤษฎีฐาน หรือ Grounded Theory ที่นักการศึกษาพิสูจน์ยืนยันหลักการและวิธีการเอาไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าข้ามกาลเวลานับร้อยๆ ปีก็มี
การพูดถึง “Teaching Strategies” ในหมู่นักการศึกษาที่ผมรู้จักในช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมานี้… แนวทาง Teaching Strategies ที่ชื่อ UDL หรือ Universal Design for Learning ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีความน่าสนใจในศักยภาพการเข้าถึงผู้เรียน หรือ Learners Approach ในวงกว้าง… ซึ่ง UDL จะถูกออกแบบให้ “มีพอ และ ยืดหยุ่นพอ” สำหรับทุกๆ ความต้องการของผู้เรียน โดยตอบโจทย์ Personalized Learning ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
ข้อมูลจาก Center for Teaching Innovation แห่ง Cornell University ได้กล่าวถึงเหตุผลในการใช้ UDL เอาไว้ว่า…
- UDL สามารถผสมผสาน “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างครอบคลุม หรือ Inclusive Learning Environment” ได้อย่างยอดเยี่ยม
- UDL สามารถออกแบบหลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียนได้หลากหลาย โดยขจัดอุปสรรคในการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้น หรือ ขจัดส่วนเกินในการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็น ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกบริบทการเรียนที่ต้องการได้ตามต้องการ โดยข้ามผ่านบริบทการเรียนที่ไม่พึงประสงค์ได้
- UDL มีวิธีการให้ผู้เรียนได้รับรู้ ทำความเข้าใจ และ แสดงออกได้หลากหลาย ไปจนถึงไร้ขีดจำกัดก็มีในบางกรณี… ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับเนื้อหาในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อพวกผู้เรียนสูงสุด และ ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับเนื้อหา หรือ Contents เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านที่ผู้เรียนต้องการ
ส่วนประเด็นที่ต้องพิจารณาในการออกแบบ UDL ประกอบด้วย…
- Provide Options for Perception หรือ จัดเตรียมทางเลือกสำหรับการรับรู้… โดยตั้งบนสมมติฐานที่ว่า ผู้เรียนอาจเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ได้ต่างกัน การออกแบบตามหลักการนี้จึงเป็นการจัดหา “วิธีที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย” ในการนำเสนอข้อมูล และ องค์ความรู้ผ่านช่องทางและวิธีการที่หลากหลาย
- Provide Options for Expression หรือ จัดเตรียมทางเลือกสำหรับการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน… เนื่องจากผู้เรียนมีความสามารถ และ ทรัพยากรต่างกันเพื่อใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ การออกแบบตามหลักการนี้จึงหมายถึงการจัดหา “วิธีการสื่อสารที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย” เพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงความรู้หรือแสดงทักษะของตนได้ทุกช่องทางที่สะดวก โดยแนะนำให้เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง
- Provide Options for Comprehension หรือ ให้ทางเลือกเพื่อพัฒนาความเข้าใจยิ่งขึ้นของผู้เรียน… โดยมี “แรงจูงใจของผู้เรียน” ที่ต้องการเรียนรู้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน และ ยังต้องแตกความแตกต่างออกไปตามประเภทของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสนใจจะมีส่วนร่วม โดยการออกแบบตามหลักการนี้จะหมายถึงการจัดเตรียมรูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรมของหลักสูตรอย่างหลากหลาย
อย่างไรก็ตาม… ประเด็นพิจารณาทั้ง 3 หลักการจำเป็นต้องมีดัชนีบ่งชี้เพื่อการประเมินที่สอดคล้องกัน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอดคล้องกับ Learning Outcomes ที่พึงประสงค์
ตัดจบด้วนๆ แบบนี้ก่อนน๊ะครับ… เพราะข้อมูลเกี่ยวกับ UDL Principles ที่ผมมียังถือว่าไม่มากมายจนกล้าจะลงลึกกว่านี้… ด้วยความเคารพครับ!
References…