ในการจัดการธุรกิจ และ องค์กรซึ่งผลการดำเนินงาน หรือ ผลประกอบการมักจะอยู่ในรูปของ “มูลค่า และ คุณค่า” ซึ่งหลายๆ กรณีมีการใช้คำว่า Value ในภาษาอังกฤษ ถูกใช้ปนกันในนิยามที่บางกรณีก็ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมว่าถูกใช้ในความหมายของคำว่า “คุณค่า” หรือใช้ในความหมายของคำว่า “มูลค่า” กันแน่… โดยเฉพาะการใช้คำว่า Value ในการอธิบายรายละเอียดทางกลยุทธ์ ที่ต้องระบุให้ชัดว่าตอนไหนเป็นมูลค่า และ ตอนไหนเป็นคุณค่า
ประเด็นก็คือ… คำว่าคุณค่าในทางการจัดการ และ การดำเนินกลยุทธ์ในแทบจะทุกกรณี มักจะถูกนิยามให้ครอบคลุม “ผลการดำเนินงาน และหรือ ผลประกอบการ” ทั้งที่สามารถตีราคาได้ชัดเจน และ ตีราคาได้ไม่ชัดเจน หรือ ตีราคาในปัจจุบันได้ไม่ชัดเจนด้วย… โดยเฉพาะผลการดำเนินงานที่เรียกได้ว่าเป็น “ความสำเร็จ” ซึ่งมีทั้งผลกำไร หรือ เงินปันผลตอบแทนผู้ถือหุ้น… ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และ การบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด… ความสามารถในการเตรียมการเพื่ออนาคตในแต่ละฉากทัศน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ… มีแผนและโครงสร้างที่เอื้อต่อการอยู่รอดเติบโตในช่วงยากลำบาก และ ผลลัพธ์อีกมากมายที่องค์กรให้คุณค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มา
Value Based Management หรือ VBM หรือ การจัดการด้วยฐานคุณค่า จึงเป็น “แนวคิด และ วิธีการจัดการความสำเร็จ” เชิงคุณค่าที่จำเป็นต้องสร้างสมดุลย์ให้มูลค่า และ ปัจจัยความสำเร็จอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน… สามารถผลิตผลการดำเนินงาน และ ผลประกอบการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม… แนวคิด Value Based Management หรือ การจัดการด้วยฐานคุณค่า จะให้ความสำคัญสูงสุดกับ “การเพิ่มมูลค่า” ด้วยการจัดการให้มี และ ใช้ “ปัจจัยความสำเร็จ หรือ Key Success Factors” เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงาน และหรือ ผลประกอบการออกมาสูงสุดอย่างยั่งยืนทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว… โดยจะเห็นเป็นอัตราการเติบโต และ ผลตอบแทนการลงทุนที่โดดเด่นนั่นเอง
สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ Value Based Management หรือ การจัดการด้วยฐานคุณค่า ไม่ใช่สูตรสำเร็จในการจัดการองค์กร ถึงแม้จะถูกแนะนำให้หลักการนี้ถูกใช้ในการวางแผน และ การออกแบบกลยุทธ์ได้ทุกกรณีก็ตาม… โดยเฉพาะการใช้แนวคิดนี้กับองค์กรที่ไม่สามารถผูกพันพนักงานให้รู้สึกหวงแหนผลประโยชน์ขององค์กรผ่านมุมมองของการเป็นเจ้าของร่วม และหรือ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้… เพราะคุณค่าสูงสุดที่พึงได้อย่างแท้จริงจากองค์กรที่ “พนักงาน กับ ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ” อยู่คนละฝ่ายของผลประโยชน์ มักจะถูกบั่นทอนให้ลดลงทั้งที่เห็นได้อย่างชัดเจน และ พิสูจน์ทราบไม่ได้ว่ารั่วไหลหล่นหายอะไรไปเมื่อไหร่บ้าง… เพราะ “คุณค่า” ที่เกิดจากผลงานของคนที่ไม่รับรู้ถึง “คุณค่า และ มูลค่า” จะไม่อาจสร้างมูลค่าได้สูงสุด และ ทำให้คุณค่าลดลงตามกันอย่างชัดเจนเสมอ…
ตัว Concept Model ของ Value Based Management ขอข้ามที่จะลงรายละเอียดครับ เพราะเป็นข้อมูลเชิงหลักการที่ต้องเล่ากันยาวไม่น้อย และ ทุกท่านสามารถ Google แผนภาพเจอได้ไม่ยากอยู่แล้ว… ขอบคุณที่ติดตามครับ
References…