VESPA Mindset

VESPA Mindset

การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับทฤษฎีไปจนถึงแบบฝึกหัดรายชั่วโมง เพื่อค้นหาแนวทางการจัดการเรียนการสอน หรือแม้แต่แนวทางในขั้นการออกแบบระบบการศึกษา ถือเป็นงานสำคัญของนักวิชาการด้านการศึกษาและครูอาจารย์ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องช่วยกันมองหาให้มองเห็นทั้งระบบ เครื่องมือหรือแม้แต่แนวคิด ที่มีอยู่มากมายหลากหลายในโลก เพื่อนำมาใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และดึงเอาพลังทางปัญญาจากคนทุกรุ่น ที่พร้อมเรียนรู้ เติบโตและพร้อมเปลี่ยนแปลงไปกับธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ 

ในหนังสือชื่อ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin… ได้ออกแบบเครื่องมือส่งเสริมการเรียนการสอน ผ่านตัวแปร 5 ตัวได้แก่ Vision… Effort… Systems… Practice และ Attitude ซึ่งมีชื่อเรียกโมเดลนี้ว่า VESPA จากอักษรหน้าของคำทั้งห้า

VESPA หรือ VESPA Mindset หรือ VESPA Systems จะมองหาและให้ความสำคัญกับทักษะที่ไม่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการโดยตรง… แต่จะเจาะเอาทัศนคติส่วนตนที่เป็นปัจจุบันของผู้เรียนในเชิงจิตวิทยา อ้างอิงกรอบจิตวิทยาเชิงธุรกิจและกีฬามารวมกัน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจกระตุ้นและสนับสนุนนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมั่นใจว่าจะบรรลุศักยภาพสูงสุดตามเป้าหมายได้…

หนังสือ The Student Mindset เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียนทั้งสอง ที่นำไปผ่านการศึกษาวิจัยกับกลุ่มนักเรียนหลากหลาย ก่อนจะนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ทั้งมิติของผู้เรียนและกระบวนการ แล้วนำไปพัฒนาเครื่องมือประกอบเทคนิคและกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน… นำไปทดสอบและศึกษาวิจัยซ้ำเพื่อตรวจสอบไขว่หาความน่าเชื่อถือและความแม่นยำ จนสามารถแปลงสมมุติฐานเป็นทฤษฎี และพัฒนาทฤษฎีไปเป็นเครื่องมือพร้อมคู่มือ… ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจจะเอารายละเอียดบางส่วน มาคลี่แบ่งปันทุกท่านไปพร้อมๆ กัน… ถึงแม้ว่าจะช้ากว่าโรงเรียนนานาชาติบางแห่งในกรุงเทพที่จัดอบรมครูผู้สอนให้ใช้ VESPA System ไปแล้วก็ตาม

หัวใจของทฤษฎี VESPA คือความเชื่อเรื่องชุดความคิด หรือ Mindset ของนักเรียนหรือผู้เรียน ที่ตระหนักรู้และมี Vision หรือวิสัยทัศน์พอ… มี Effort หรือความเพียรพยายามพอ… มี Systems หรือระบบเพื่อการจัดการที่ดีพอ… มี Practice หรือการฝึกฝนเพียงพอ และ มี Attitude หรือทัศนคติที่ดีพอ… ซึ่งผู้เรียนที่มีปัจจัยพร้อมทั้ง 5 ตัวแปรนี้ จะเกิดการเรียนรู้ถึงขั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตนเองและสังคม ผ่านการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ

และอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องเข้าใจก่อนอื่นเลยก็คือ… VESPA เป็นเครื่องมือวัด ที่ออกแบบเพื่อวิเคราะห์หา “จุดแข็งและจุดอ่อน” ในตัวนักเรียนหรือผู้เรียน โดยมี VESPA Circle เป็นเครื่องมือแสดงผลการวิเคราะห์

VESPA Circle

ส่วนการใช้ VESPA Circle ก็จะมีชุดคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เหมือนคำถามวิจัยแบบ Rating Scale ให้คะแนนจาก 1-10 ในแต่ละแกนของ VESPA เช่น คำถามแกน V หรือ Vision จะถามนักเรียนว่า… นักเรียนชอบตั้งเป้าหมายให้ตัวเองหรือไม่?… ก็สามารถออกแบบคำถามส่งให้นักเรียนตอบแบบสอบถามดังตัวอย่างในภาพด้านล่าง

ตัวอย่างแบบสอบถาม

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… VESPA ในทัศนของผมถือเป็นเครื่องมือในการทำ Personalized Learning ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ และ VESPA ยังเป็นเครื่องมือสร้าง Self–awareness หรือการรู้ตัวตนของตนสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ และยังสามารถสร้างการรับรู้ร่วมกันของผู้ปกครองและครู เมื่อใช้แบบสอบถาม VESPA ในเด็กเล็กร่วมกับผู้ปกครอง

ถึงตรงนี้ก็เหลือคำถามเดียวให้ตอบคือ… ได้ข้อมูล VESPA แล้วยังไงต่อ?… ซึ่งขั้นต่อไปคือการหากลยุทธ์ในการเพิ่มคะแนน VESPA ในแต่ละแกนให้สูงขึ้น ผ่านกลยุทธ์และกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนา Mindset หรือชุดความคิดเพื่อทักษะการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป

ในหนังสือ The Student Mindset มีแนวทางการพัฒนา VESPA Mindset ทั้ง 5 แกนรวม 6 ขั้น 30 แนวทางแนะนำไว้กว้างๆ เหมือนตำราทฤษฎีทั่วไป

ตอนหน้าผมจะพาไปดูการเตรียมหลักสูตรผ่าน VESPA Mindset ในขั้นเตรียมหลักสูตรด้วยกัน โปรดติดตามด้วยครับ!

อ้างอิง


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts