คำว่าระบบการศึกษาที่เราท่านได้สัมผัสและรับรู้กันมา จนพาพวกเรามาถึงวันที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะประกอบสัมมาอาชีพได้นั้น ระบบการศึกษาทุกรูปแบบล้วนมี “การเรียน กับ การสอน” เป็นกลไกสำคัญในระบบเสมอ ซึ่งความงามของระบบการศึกษาทุกระบบและรูปแบบ คือการสร้างผลลัพธ์ร่วมกันของขั้วการเรียนและขั้วการสอน จนเห็นพัฒนาการเป็นภูมิรู้และประสบการณ์ทั้งในตัวผู้เรียนและในตัวผู้สอนไปพร้อมกัน
แต่เดิม… ความชัดเจนของระบบการศึกษามีภาพของผลลัพธ์ยึดโยงอยู่กับฝั่งผู้เรียนเป็นหลัก จนหลายกรณีทำให้กลไกฝั่งผู้สอน ขาดการตรวจสอบและประเมินอย่างเหมาะสม จนทำให้การประเมินความสำเร็จล้มเหลวของระบบการศึกษา วนเวียนอยู่แต่กับฝั่งผู้เรียน ทั้งคิดค้นและเสาะแสวงหาหนทางมากมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองเทคนิคและรูปแบบการเรียนรู้… ซึ่งหลายกรณีเหมารวมว่าเป็นความพยายามโดยเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง… ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องถูกผิดเหมาะควรหรือไม่อย่างไร ถ้าจะมีบกพร่องบ้างก็คงเป็นเรื่อง “ตัวแปรในระบบการศึกษาบางกลไกถูกละเลย หรือให้น้ำหนักความสำคัญน้อยเกินไป… โดยเฉพาะกลไกการสอน”
ประเด็นก็คือ… ระบบการศึกษาต้องการสมดุลย์การเรียนกับการสอนเพื่อสร้างผลลัพธ์อันเดียวกัน โดยข้อควรระวังก็คือ สมดุลย์การเรียนการสอนไม่ใช่ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือแม้แต่ค่าเฉลี่ยความพยายามของผู้สอนคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง… ที่ต้องเอามาเป็นแม่แบบเพื่อใช้เป็นระบบการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด… เพราะผู้เรียนและผู้สอนล้วนเป็นปัจเจก ที่ระบบการศึกษายุคใหม่ต้องเคารพตัวตนอันเฉพาะเจาะจงเหล่านี้
นั่นแปลว่า… ระบบการศึกษาที่นำการเรียนกับการสอนมาเจอกัน จึงต้องการความยืดยุ่นเพื่อให้ลักษณะเฉพาะเจาะจงอันเป็นปัจเจกทั้งของผู้เรียนและผู้สอน สามารถใช้ประโยชน์จากระบบได้สูงสุดเท่าที่แต่ละคนต้องการ
คำอย่าง Mindset หรือ ชุดความคิด… จึงควรถูกพิจารณาใช้เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา แทนที่กฏระเบียบหรือแม้แต่ชุดการเรียนการสอนตามสูตรสำเร็จมากมาย ที่ให้ผลลัพธ์ทั้งสำเร็จและล้มเหลวมาก่อน… ซึ่ง Mindset ที่นำเข้ามาปรับแต่งแนวทางการเรียนการสอนและสูตรสำเร็จเดิมๆ ให้ยืดยุ่นตามบริบท จะเปิดกว้างให้เห็นมิติของการเรียนการสอนทั้งจากฝั่งผู้เรียนและผู้สอนได้โดยไร้ขีดจำกัดได้สมบูรณ์แบบยิ่งกว่า
หนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin… ได้โน้มน้าวจากข้อมูลและกรณีศึกษามากมายเพื่อให้เห็นว่า… Mindset หรือชุดความคิดที่มีองค์ประกอบครบเพียง 5 ตัวแปรพื้นฐาน ก็สามารถพัฒนา “ผลลัพธ์ทางการศึกษา” ให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุวัตถุประสงค์ได้แล้ว ซึ่งโดยเนื้อแท้ของการบรรลุวัตถุประสงค์ของฝั่งผู้เรียน จะหมายถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ของฝั่งผู้สอนโดยปริยายไปด้วย… เพราะผลลัพธ์ทางการศึกษาเป็นผลลัพธ์จากการเรียนและการสอนด้วยกันเสมอ… และยังถือเป็นผลลัพธ์ของ “ระบบการศึกษา” อีกด้วย
ส่วนที่ยากที่สุดในการพัฒนาระบบการศึกษาด้วย Mindset Model ก็คือ การพัฒนา Mindset หรือชุดความคิดของทั้งของผู้เรียนและผู้สอนให้กลายเป็น “อุปนิสัย” ที่พร้อมสูงสุดต่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติในผู้เรียน และพร้อมสูงสุดต่อการเรียนรู้และประยุกต์ถ่ายทอดโดยธรรมชาติของผู้สอน… ย้ำน๊ะครับว่า ทั้งผู้เรียนและผู้สอนล้วนต้อง “เรียนรู้” ในบริบทที่ต้องสร้างผลลัพธ์ทางการศึกษาร่วมกันตามวาระเป็นกรณีเฉพาะ…
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในบริบทที่ตอบสนองระดับปัจเจกแบบนี้ หน้าที่ของผู้เรียนกับผู้สอนจึงแตกต่างเพียงบริบทความรับผิดชอบของฝั่งผู้สอน ที่ต้องเปิดกว้างให้ระบบที่ใช้ปฏิสัมพันธ์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ ยืดยุ่นเข้ากับคุณสมบัติของผู้เรียนในบริบทนั้น… ซึ่งก็คือการเป็นระบบที่เอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบหนึ่งนั่นเอง
หนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin รวมทั้ง VESPA Model ที่อธิบาย “ความสำเร็จ” ผ่านตัวแปรทั้ง 5 อันได้แก่ Vision… Effort… Systems… Practice และ Attitude นั้น… โดยส่วนตัวมองว่าผู้เขียนได้พัฒนา “โมเดลความสำเร็จ” ขึ้นพิสูจน์ผ่านการเรียนการสอนมากกว่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนทั่วไป… ซึ่ง “ความสำเร็จทางการศึกษา” สามารถให้ผลลัพธ์เป็นความสำเร็จได้ง่ายกว่าจังหวะชีวิตที่ซับซ้อนและอธิบายยากกว่า และ VESPA Model เองก็สามารถปรับใช้กับผู้เรียนได้หลากหลายช่วงวัยและวัตถุประสงค์… ซึ่งการฝึกฝนเรียนรู้จนมีวิสัยทัศน์ มีความเพียรพยายาม มีระบบแบบแผน มีการทดลองฝึกฝนและมีทัศนคติที่ถูกต้องจนกลายเป็นอุปนิสัยไปแล้ว… ท้ายสุดก็ย่อมส่งผลลัพธ์ต่อความสำเร็จในชีวิตนั่นเอง
VESPA Mindset จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้พัฒนา Education Mindset ที่มุ่งพัฒนาอุปนิสัยแห่งความสำเร็จ ให้ยินดีกับความสำเร็จในทุกๆ จังหวะชีวิตเพื่อสะสมไปรวมเป็นมรรคผลที่ใหญ่ขึ้นจนสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางบวกให้ตนเอง…
ประเด็นก็คือ… ศตวรรษแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตท่ามกลางความผันผวนไม่แน่นอนซับซ้อนคลุมเครือ และมีองค์ความรู้อุบัติใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาอย่างในปัจจุบันและในอนาคต… การมี Mindset เพื่อเรียนรู้ตลอดเวลาย่อมจำเป็นและสำคัญกับทุกคนเหมือนทักษะอ่านออกเขียนได้ในอดีต… ซึ่งผมไม่คิดว่าเป็นการพูดเกินเลยแม้แต่น้อย
บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
- Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
- Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
- Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
- Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
- Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
- Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset
- Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน
- K-SPA… เครื่องมือฟันฝ่าอุปสรรค
- Problem Solving Cycle for VESPA Mindset
- The Art of Reactions to Feedback… ศิลปะการรับมือกับเสียงติชม
- The Dip… ช่วงเวลาอันอ่อนไหวเปราะบางต่อความสำเร็จ
- Dalio’s 5 Step Process for VESPA Mindset
- The 4 Disciplines of Execution for VESPA Mindset
- Giving Up Habit… อุปนิสัยท้อถอยเลิกลา
- 3 R’s Of A New Habit… 3 ตัวช่วยสร้างนิสัยให้เป็นคนเพียรพยายาม
- Sleep, Diet and Exercise… กิจกรรมกอบกู้ทัศนคติ