Volo Connect

VoloRegion… โดรนโดยสารขนาด 4 ที่นั่งจากเยอรมนี #สุดสัปดาห์พาไปบิน

ความเคลื่อนไหวของพาหนะเพื่อการเดินทางในเมือง ซึ่งการจราจรทางถนนในทุกเมืองใหญ่ทั่วโลกล้วนติดขัด ล่าช้า สิ้นเปลือง และ ทำลายสิ่งแวดล้อม… ความหวังถัดไปของการเดินทางในเมืองจึงอยู่บนน่านฟ้าของเมือง โดยมีพาหนะกลุ่ม eVTOL หรือ Electric Vertical Take-Off And Landing หรือ พาหนะขึ้นลงทางดิ่ง… ซึ่งออกแบบเพื่อการโดยสารและเดินทางในเมืองแบบที่เรียกว่า Urban Air Mobility หรือ UAM เป็นทั้งวิสัยทัศน์ และ ความหวังที่จะได้ใช้อย่างกว้างขวางในเร็ววัน… โดยมีกลุ่มทุนอุตสาหกรรมการบินยักษ์ใหญ่ตั้งแต่ AirBus และ Boeing ไปจนถึง Startup จากโรงรถในหลายมุมโลกที่กำลังเร่งวันเร่งคืนที่จะนำ UAM ของตนขึ้นฟ้าเพื่อประกาศความพร้อมในการขาย และ ให้บริการแบบต่างๆ

ในบรรดากิจการที่ก่อตั้งใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการบิน eVTOL กับผลิตและจำหน่าย UAM โดยเฉพาะที่เคลื่อนไหวรายงานความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักฐานยืนยันความก้าวหน้า รวมทั้งข้อมูลการทดสอบ และ เอกสารจากฝ่ายรัฐที่ควบคุมกำกับดูแลจนกล่าวได้ว่าพร้อม สำหรับเปิดศักราชการเดินทางเหนือเมืองอย่างแท้จริง… ซึ่งผมกำลังพูดถึง Volocopter GmbH จากเมืองคาร์ลสรูเออ หรือ Karlsruhe  ประเทศเยอรมนี เจ้าของงานผลิต และ ออกแบบ UAM ทั้งแบบบรรทุกของ และ นั่งโดยสารที่บินทดสอบจริงมามากจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์เมืองล้ำสมัยแห่งแรกของโลกอย่างนครดูไบไปแล้ว

Volocopter GmbH ก่อตั้งขึ้นในปี 2011 โดย Alexander Zosel และ Stephan Wolf ด้วยความตั้งใจที่จะสร้าง Multicopter Aircraft หรือ เครื่องบินหลายใบพัด แบบพาหนะขึ้นลงทางดิ่งภายใต้แนวคิดสิ่งประดิษฐ์แบบ eVTOL… โดยสร้างประวัติศาสตร์ด้วยเที่ยวบินเครื่องหลายใบพัดไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลก หรือ World’s First Manned Flight เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2011 ในยานบินต้นแบบรุ่น VC1 ที่นั่งโดยสาร และ ควบคุมการบินโดย Thomas Senkel หุ้นส่วนสมทบคนที่ 3 หลังรุ่นก่อตั้งของ Volocopter GmbH และ นักฟิสิกส์การบินขนาดเบาที่วงการเครื่องบินเล็กรู้จักกันดี… เที่ยวบิน VC1 เที่ยวนั้นถูกบันทึกลง Guinness Book of World Records… ซึ่งหลายท่านคงเคยเห็นภาพ และ คลิปกันมาบ้าง

World’s First Manned Flight โดย Thomas Senkel จาก Volocopter

คลิป World’s First Manned Flight ซึ่งถูกบันทึกลง Guinness Book of World Records

17 พฤษภาคม 2021… Volocopter ประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้ออกแบบเครื่องบิน eVTOL แบบ Urban Air Mobility หรือ UAM สำหรับผู้ที่เดินทางระหว่างชานเมืองเข้าออกกลางเมือง โดยยื่นจดสิทธิบัตร ของยุโรปและได้รับการขึ้นทะเบียนในวันที่ 27 มิถุนายน 2019 ก่อนจะยื่นขอสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 แต่บันทึกเอกสารสิทธิบัติลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2020 ซึ่งได้กลายเป็นคดีฟ้องร้องสิทธิบัตรจากค่ายอื่นในสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม… หลังการระดมทุนเพื่อสร้างเครื่องบิน eVTOL ในปี 2018 โดยว่าโรงงานผลิตเครื่องบินใบพัดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเยอรมนีชื่อ DG Flugzeugbau… Volocopter ก็ได้นักลงทุนรายใหญ่ในปี 2019 จากกลุ่มทุนยานยนต์ใหญ่จากจีนอย่าง Geely ด้วยเงินลงทุนแบบ Private Investments ก้อนใหญ่ราว 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อทำเครื่องบิน eVTOL แบบนั่งโดยสารในห้องปรับอากาศ… ซึ่ง Volocopter GmbH ได้ทำ eVTOL แบบนั่งโดยสารในห้องปรับอากาศสำเร็จในปี 2021 โดยมีทั้งแบบ 2 ที่นั่งรุ่น VoloCity และ แบบ 4 ที่นั่งรุ่น VoloConnect ก่อนจะเปลี่ยนชื่อรุ่น 4 ที่นั่งเป็น VoloRegion ในปี 2022 ที่ผ่านมานี้เอง

VoloRegion eVTOL มีความเร็วการบินประมาณ 180 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ด้วยพิสัยการบิน หรือ ระยะทางบินได้ไกล 100 กิโลเมตร…  VoloRegion มากับหน้าต่างบานใหญ่เพื่อชมทัศนียภาพเบื้องล่างได้เต็มตา มีใบพัดยก VTOL ขนาด 6 ใบพัดที่ด้านบนของบูม หรือ Booms สองอัน พร้อมใบพัดหลังอีก 2 ตัวซ้ายขวาเพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า… มีปีกสูงแบบเครื่องบินปีกนิ่งเพื่อใช้ประโยชน์จากอากาศพลศาสตร์ระหว่างการบินให้นุ่มนวลกว่าการบินด้วยใบพัดอย่างเดียว มาพร้อมล้อแบบยืดหดได้ 3 ล้อ… VoloRegion ควบคุมการบินด้วย Fly-By-Wire Flight Control System ซึ่งควบคุมการบินจากนักบินโดรนในห้องควบคุม แต่ก็มาพร้อมระบบการบินอัตโนมัติ หรือ Autonomous Piloting ด้วย

ขณะนี้… VoloRegion และ ยานบินในค่าย Volocopter ทั้ง VoloCity ขนาด 2 ที่นั่ง และ Volodrone สำหรับขนส่งสิ่งขิงทางอากาศกำลังทดสอบการบินเพื่อให้ผ่านมาตรฐานการบิน และ ได้รับใบอนุญาตการบินในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง Volocopter แจ้งนักลงทุนและผู้สื่อข่าวไว้ว่าการรับใบอนุญาตจะพร้อมสำหรับบริการในปี 2026 หรือ อีก 3 ปีข้างหน้า… โดยมีนักลงทุนรายล่าสุดอย่าง Grap ที่เข้าไปลงทุนใน Volocopter เพื่อนำ eVTOL จากค่ายนี้มาบริการผู้โดยสารแบบ Flight Sharing และ Fly Taxi 

อีกไม่นานคงได้เห็นมาบินแถวสีลมกันบ้าง!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts