การประเมินระดับความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในทุกๆ กิจกรรมการเรียนการสอน… ถือเป็นหัวใจสำคัญของปฏิสัมพันธ์แบบสามเส้าระหว่าง “ผู้สอน องค์ความรู้ และ ผู้เรียน” ซึ่งครูเก่งๆ ที่สอนสดหน้าชั้นจะสามารถประเมินความสนใจและการมีส่วนร่วมของนักเรียนในชั้นได้ดีเป็นพิเศษ และ สามารถ “จัดการความสนใจ และ การมีส่วนร่วม” ให้นักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง… แต่ก็หาครูที่เก่งเรื่องจัดการความสนใจและการมีส่วนร่วมของนักเรียนได้ทุกครั้งที่สอนได้ไม่มาก และ ส่วนใหญ่ก็เป็นทักษะเฉพาะตัวที่เลียนแบบได้ยากอีกด้วย
ประเด็นก็คือ… การจัดการความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในวันที่ eLearning แทรกเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งผู้สอน กับ องค์ความรู้เป็นอิสระต่อกันจนผู้สอนหมดโอกาสจะได้มองเห็นพฤติกรรมของผู้เรียนแบบที่เคยเห็นในชั้น และ สามารถประเมินระดับความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนได้ทันที จนสามารถช่วยเหลือผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ และ จัดการกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้ได้ทันเวลา… ซึ่งการจัดการความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนยังคงจำเป็นต้องได้รับความใส่ใจไม่ต่างจากเดิม เพื่อผลักดันผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่สุด… การนำกลไกการเรียนการสอนยุคใหม่มาสู่การใช้เทคโนโลยี “ช่วย” ประเมินความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนจึงเป็นเส้นทางบังคับที่เลี่ยงไม่ได้ โดยมีเทคโนโลยี “Webcam Based Attention Analysis หรือ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ความสนใจของผู้เรียนด้วยกล้องเว็บแคม” ได้รับความสนใจ และ ถูกนำใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง Online และ On-Site โดยเฉพาะการเรียนผ่านแพลตฟอร์ม eLearning ทั้งแบบ Synchronous และ Asynchronous ในปัจจุบัน
งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง WEDAR: Webcam-based Attention Analysis via Attention Regulator Behavior Recognition with a Novel E-reading Dataset โดย Yoon Lee และ คณะ จาก Delft University of Technology ใน Netherlands ได้ทดสอบกลไกการควบคุมตนเองระหว่างเรียนรู้ผ่านจอคอมติวเตอร์ของผู้เรียน ซึ่งนักวิจัยได้ใช้กล้องเวบแคมบนคอมพิวเตอร์ติดตามพฤติกรรมความสนใจ และ การเสียสมาธิระหว่างเรียน และ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนแบบเรียลไทม์ด้วย “คอมพิวเตอร์วิทัศน์อัลกอริทึม หรือ Computer Vision Algorithms” ชุด WEDAR ที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นด้วยฐานเทคโนโลยีการติดตามสายตา หรือ Eye Tracking และ ทำมาตรวัดความสนใจ หรือ Attention Measurement ขึ้นใช้


ถึงแม้เทคนิคที่ Yoon Lee และ คณะ ใช้ในงานวิจัยจะไม่มีอะไรซับซ้อนในเชิงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มากนัก เพราะเป็นการใช้ Narrow Artificial Intelligence สาขา คอมพิวเตอร์วิทัศน์ หรือ Computer Vision ทั่วไป… แต่ผลลัพธ์ในการเข้าถึงข้อมูลวิเคราะห์ที่ได้จากการการโต้ตอบหลายรูปแบบของผู้เรียนต่อวรรณกรรมทางการศึกษา หรือ Education Content ก็นำไปสู่การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ และ การประเมินอารมณ์ของผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล… ซึ่งนักเทคโนโลยีทางการศึกษาเชื่อว่าจะนำไปสู่การทำ Personalized Learning ได้แม่นยำกว่าที่เป็นมามาก
รายละเอียดเชิงเทคนิคในประเด็นการใช้เทคโนโลยีช่วยการวิเคราะห์ความสนใจของผู้เรียน… โดยเฉพาะการใช้กล้องเว็บแคมเป็น Hardware หลักในกลไกการเรียนการสอนยุคดิจิทัล… มีรายละเอียดปลีกย่อยให้พูดถึงเยอะมากทีเดียว… คิดเห็นยังไงโพสต์ไว้ใต้บทความได้ครับ
References…
- WEDAR: Webcam-based Attention Analysis via Attention Regulator Behavior Recognition with a Novel E-reading Dataset
- Eye-Tracking Studies via Webcam
- A simplified real-time camera-based attention assessment system for classrooms: pilot study
- Fast and Accurate Algorithm for Eye Localization for Gaze Tracking in Low Resolution Images