Well Functioning Teams… ทีมที่ร่วมงานกันได้อย่างดี #TeamBuilding

รากฐานสำคัญในการสร้างและพัฒนากิจการสมัยใหม่ให้เติบโจตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์อันทะเยอทะยาน รวมทั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์อันน่าตื่นตะลึงสำหรับคนทั่วไป… กุญแจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายขั้นนั้นจำเป็นจะต้องพูดถึง “ทีม” ที่ประกอบกันขึ้นจากสมาชิกทีมที่เชื่อได้ว่า ทุกคนจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผลักดันเป้าหมาย… โดยบกพร่องผิดพลาดน้อยที่สุดจนไม่กลายเป็นปมด้อยในความสำเร็จ

ทีมที่ประกอบขึ้นจากสมาชิกทีมที่สามารถ “ทำงานประสานกันได้ดี” จึงถูกเรียกว่า “Well Functioning Teams” ซึ่งหลักๆ จะเห็นสมาชิกทีมมีความรู้สึกภักดี และ มีความมุ่งมั่นหวังดีอย่างแรงกล้าต่อองค์กร… โดยทุกคนมีความเชื่อมั่น และ สนิทสนมกลมเกลียวกันอย่างแท้จริง และ เห็นความเต็มใจอย่างสม่ำเสมอที่จะเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ หรือ เป้าหมายที่ใหญ่กว่า

Professor Dr.Panos Mourdoukoutas จาก LIU Post University ให้ความเห็นว่า… ถ้ามีคนในทีมเจ็ดแปดคนหยิบเป้าหมายหนึ่งขึ้นมาหารือกัน บรรยากาศการพูดคุยของกลุ่มคนที่เชื่อมั่นกันมักจะ “เปิดกว้าง อดทน และ เป็นกันเอง” ซึ่งบรรยากาศในลักษณะนี้จะนำไปสู่ “ความคิดสร้างสรรค์ที่พรั่งพรู” ออกมาจากทุกคนด้วยความรู้สึกเชื่อมั่น จนกล้าข้ามข้อจำกัดเรื่อง “พื้นที่ปลอดภัยสุขสม หรือ Comfort Zone” ของตน

ประเด็นก็คือ… ทุกๆ การประชุมหารือของทุกทีมและความสัมพันธ์ที่มีบรรยากาศ “ความคิดสร้างสรรค์พรั่งพรู” ทั้งหมด… ไอเดียสร้างสรรค์ส่วนใหญ่ที่ถูกเสนอมักจะถูกทีม หรือ ที่ประชุมปรับแต่ง หรืออาจจะถึงขั้นปัดตกได้มาก ทั้งโดยธรรมชาติขิงไอเดียที่หาความสมบูรณ์แบบได้ยาก และ จัดการความซับซ้อนได้ไม่ดี… ทุกไอเดียจึงมีข้อดีข้อเสียที่ถูกใช้ตั้งตนเพื่อพัฒนา และ หรือ หลอมรวมกับไอเดียอื่นๆ ที่สมาชิกทีมช่วยกันปรับแต่ง… ซึ่งก็จะมีแต่ทีมที่ทำงานประสานกันได้ดี หรือ Well Functioning Teams เท่านั้นที่ช่วยกันปรับแต่งไอเดียเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเดียวกัน

คำถามคือ… ทีมที่ทำงานประสานกันได้ดี หรือ Well Functioning Teams ควรจะอยู่และทำงานร่วมกันอย่างไร?

ถ้าท่าน Google คำว่า Well Functioning Teams ก็อาจจะได้ข้อมูลลักษณะของ Well Functioning Teams มากมายที่เป็นภาพรวม และ วัฒนธรรมทีมที่น่ายกย่อง แต่โดยส่วนตัวมองว่า… เบื้องต้นขอให้ไม่มีบาปทั้ง 5 ของ Dysfunctional Teams หรือ ทีมที่ไม่เวิร์ค ซึ่งประกอบด้วย

  1. Absence of Trust หรือ ไม่ไว้ใจกัน หรือ ไม่เชื่อใจกัน… 
  2. Fear of Conflict หรือ กลัวความขัดแย้ง โดยเฉพาะขัดแย้งกับหัวหน้าหรือเจ้านาย…
  3. Lack of Commitment หรือ ไม่ทุ่มเทและไม่ผูกพันกับงาน…
  4. Avoidance of Accountability หรือ ละเลยความรับผิดชอบร่วมกัน หรือ ไม่สนใจอะไรที่ไม่ใช่ธุระของตัวเอง…
  5. Inattention to Results หรือ ไม่สนใจผลงานของทีม…

โดยบาปทั้งห้าประการของทีมไม่เวิร์คทั้งหมดต้องถูกกำจัดก่อนอื่น… ที่เหลือจึงจะเกิดเรื่องดีๆ ขึ้นมาได้

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts