Forest Fire

ไฟป่าภูกระดึง ถึงไฟป่าเขาบรรทัด #FridaysForFuture

สำนักข่าว The Standard รายงานข้อมูลสถานการณ์ไฟป่าภูกระดึงอ้างอิงการแถลงข่าวของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไว้เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมาว่า

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เวลา 08.30 น. มีไฟป่าเกิดขึ้นบริเวณซำขอนแดง ทำให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงร่วมกับเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าจำนวน 10 นาย ออกปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่ โดยจุดเกิดไฟป่าห่างจากขอบหน้าผาประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งไฟป่าเกิดขึ้นในบริเวณใต้หน้าผาด้านล่าง โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจมาจากการเผาเก็บหาของป่า และด้วยสภาพความแห้งแล้งประกอบกับกระแสลมพัดขึ้นหน้าผาแรงมาก ทำให้เกิดลูกไฟพัดลอยข้ามแนวกันไฟเข้าไปตกในพื้นที่บริเวณหลังแป ห่างจากขอบหน้าผาประมาณ 400 เมตร ที่ผาเมษา

เวลา 11.00 น. ไฟป่าบริเวณผาเมษา ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึงร่วมกับหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าได้สั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนทั้งสิ้น 92 นาย และผู้ประกอบการร้านค้าและจิตอาสารวมทั้งสิ้นจำนวน 130 นาย เข้าควบคุมพร้อมด้วยรถแทร็กเตอร์ 3 คัน รถน้ำ 4 คัน โดยทำแนวกันไฟและชิงเผากลับตามเส้นทางหลังแป-วังกวาง และเส้นทางหลังแป-หมากดูก-สระใหญ่ จนสามารถควบคุมไฟให้อยู่ในวงจำกัดได้แล้ว ประเมินพื้นที่เสียหายประมาณ 2,000 ไร่ พื้นที่เสียหายแบ่งตามชนิดป่า ได้แก่ ป่าสน ป่าก่อ และทุ่งหญ้า

ส่วนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาก็เกิดไฟป่าในพื้นที่เทือกเขาบรรทัดตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งเผาไหม้พื้นที่ชายแดนทั้งสองประเทศต่อเนื่องจนล่วงเข้าวันที่ 26 กุมภาพันธ์ สถานการณ์ไฟป่าก็ยังคงลุกไหม้กระจายอยู่หลายพื้นที่ แต่ก็มีรายงานว่า สามารถควบคุมไฟป่าเทือกเขาบรรทัดได้ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์แล้ว

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ Gistda ใช้ภาพจากดาวเทียม sentinel-2 ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 ชี้ให้เห็นพื้นที่เผาไหม้บริเวณเทือกเขาบรรทัด ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ถูกเผาและได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 5,600 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ในเขตประเทศไทย 1,600 ไร่ และในเขตประเทศกัมพูชา 4,000 ไร่

ประเด็นการเผาป่าเขตอุทยานเพื่อหาของป่าจนไฟลามหลายพันไร่ ก็เป็นเรื่องหญ้าปากคอกที่ป่ากับคนและชุมชนที่แยกกันไม่ออก ซึ่งเป็นประเด็นกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ผมเชื่อว่าจะเป็นประเด็นต่อไปอีกนาน… แต่ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราได้เห็นไฟป่าขั้นร้ายแรงในออสเตรเลียและอินโดนิเซีย ที่ลุกไหม้เพราะอากาศแห้งจากการแปรปรวนของลมฟ้าอากาศและมหาสมุทร

ประเด็นก็คือ… ถ้าประเด็นฤดูกาลและความแปรปรวนของธรรมชาติเหมือนที่ออสเตรเลีย อินโดนิเซียเจอ… เราคงต้องเตรียมตัวกันให้ดีกว่านี้ เพราะฤดูกาลปีถัดไปก็คงเกิดอีกและบอกไม่ได้ว่าจะลุกลามสาหัสแค่ไหนอย่างไร… แต่คงไม่ต่างจากปีนี้หรือปีก่อนๆ

ส่วนประเด็นมือเผาและเหตุจากมนุษย์ อย่างทิ้งก้นบุหรี่ หรือหาของป่าที่พูดถึงกันทุกครั้ง… ก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดจัดการ โดยวิถีของเกษตรกรและคนชุมชนบ้านป่าก็คงยากจะเปลี่ยน หรือทำอะไรต่างออกไปจากเดิม… และไม่ว่าจะอย่างไร ส่งกำลังใจถึงทุกความพยายามที่ปกป้องโลกใบนี้ให้มนุษย์อยู่อาศัยต่อไปได้เหมือนที่เคยเป็นมา… เจ้าหน้าที่ป่าไม้ นักผจญเพลิงและไฟป่า อาสาสมัครและทุกๆ ความห่วงใยที่ส่งถึงกันทุกรูปแบบ

วิกฤติแบบนี้ก็อาจมีด้านดีที่ทำให้คนหันมารวมพลังกันก็ได้… #FridaysForFuture ครับ!

อ้างอิง

https://mgronline.com/science/detail/9630000019123
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867757
The Standard

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts