World Water Day… วันน้ำโลก #SustainableFuture

เนื่องจาก UN หรือ องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น  ซึ่งพบแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมโลกในหลายมิติที่ขัดขวางการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals  หรือ SDGs… สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันน้ำโลก หรือ World Day for Water” เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำมาตั้งแต่ปี 1992 ก่อนจะเปลี่ยนเป็น World Water Day หรือ วันน้ำโลก ในเวลาต่อมา

ความเคลื่อนไหวในประเด็นการอนุรักษ์น้ำ และ การพัฒนาแหล่งน้ำ รวมทั้งดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมองค์การสหประชาชาติปี 1992 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือ ที่เรียกกันว่า Agenda 21 จึงถูกขับเคลื่อนโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Water ซึ่งในแต่ละปีจะมีหน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติรับผิดชอบในการร่วมจัดงาน World Water Day หรือ วันน้ำโลก

ส่วนการจัดงานในปี 2023 ซึ่งได้ขับเคลื่อนพร้อมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals  หรือ SDGs ในเป้าหมายเรื่องน้ำ หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านน้ำและสุขาภิบาล หรือ Clean Water & Sanitation ถูกจัดไว้เป็นลำดับที่ 6 หรือ SDG6… โดยรายงานจาก UN หรือ องค์การสหประชาชาติพบประเทศสมาชิกมีผลการดำเนินการด้านน้ำและสุขาภิบาลต่ำกว่าเป้าหมาย… UN จึงกำหนดประเด็นรณรงค์เนื่องในวันน้ำโลกประจำปี 2023 ระหว่างวันที่ 22–24 มีนาคม 2023 ภายใต้หัวข้อ “Accelerating Change หรือ เร่งการเปลี่ยนแปลง” โดยรณรงค์ให้ทุฝ่าย “Be The Change You Want To See In The World หรือ ร่วมกันเปลี่ยนแปลงสิ่งที่คุณอยากเห็นในโลกใบนี้” เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านน้ำและสุขาภิบาล โดยประเด็นสำคัญที่ประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนในการประชุม ณ สำนักใหญ่องค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 ประเด็นได้แก่

  1. Water For Health หรือ น้ำสะอาดเพื่อพลานามัย
  2. Water For Sustainable Development หรือ น้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. Water For Climate, Resilience And Environment หรือ น้ำเพื่อสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลง และ สภาพแวดล้อม
  4. Water For Cooperation หรือ น้ำในประเด็นความร่วมมือ
  5. Water Action Decade หรือ การเร่งรัดปฏิบัติการด้านน้ำ

ส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยภายใต้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ซึ่งเป็นหน่วยงานบูรณาการการบริหารจัดการด้านทรัพยากรน้ำ ร่วมกับองค์กร และ หน่วยงานอื่นๆ กว่า 40 สถาบัน โดยมีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบพลวัตด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย 

  1. การบริการน้ำอุปโภคบริโภคที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียม 
  2. การสร้างความมั่นคงและเพิ่มผลิตภาพของน้ำ 
  3. การลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติด้านน้ำ 
  4. การฟื้นฟูป่าต้นน้ำและคุณภาพน้ำ 
  5. การเสริมความเข้มแข็ง ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน 

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *