Startup

แนวทางในการผลักดันและส่งเสริมผู้ประกอบการเยาวชน #RederEntrepreneur

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ได้ออกรายงานการสำรวจข้อมูลเพื่อศึกษาแนวทางในการผลักดันและส่งเสริมผู้ประกอบการเยาวชน ซึ่งมีการการศึกษาปัญหาและความต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนของวิสาหกิจรายย่อยที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการเยาวชน หรือ ผู้ประกอบการที่ริเริ่มค้าขายทำธุรกิจในระหว่างเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือ มีเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการทันทีหลังเรียนจบระดับปริญญาตรี โดย สสว. ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อมูลทุติยภูมิ หรือ การสืบค้นทบทวนเอกสาร และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ ยังรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสำรวจ โดยใช้ทั้งการสำรวจเร่งด่วน หรือ Quick Survey ร่วมกับการสนทนากลุ่ม หรือ Focus Group Discussion และการสัมภาษณ์เชิงลึก หรือ In-Depth Interview

ข้อมูลการสำรวจพบผู้ประกอบการเยาวชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มทำธุรกิจในวัย 21.5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยใกล้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และ ประกอบธุรกิจประเภทค้าปลีกในรูปของบุคคลธรรมดา… ใช้เงินทุนของตนเอง 60% และอาศัยเงินทุนของครอบครัว 37.1%

ส่วนเหตุผลสำคัญ 3 อันดับแรกที่ผู้ประกอบการเยาวชนส่วนใหญ่เริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง ได้แก่ ต้องการอิสระในการทำงานที่เป็นนายตัวเอง… ต้องการทำงานในสิ่งที่ตนรักที่สามารถสร้างรายได้ได้ และ ต้องการรายได้ที่ก้าวกระโดดกว่าการทำงานในองค์กร

ผู้ประกอบการเยาวชนส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญจากการขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ การขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ การมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินกู้จากสถาบันการเงิน การขาดประสบการณ์ในการทำงานจริงในภาคธุรกิจ การขาดที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ และการขาดเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตร โดยผู้ประกอบการเยาวชนส่วนใหญ่ต้องพัฒนาศักยภาพและแก้ไขปัญหาธุรกิจด้วยตนเอง

จากข้อมูลที่สำรวจพบ… สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเห็นว่า สสว. ต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชนในทุกมิติ โดยควรจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจภายใต้การกำกับของ สสว. ในลักษณะเดียวกันกับ Youth Startup Academy ซึ่งอยู่ภายใต้ Korea SMEs and Startup Agency เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชนเป็นการเฉพาะ

โดยหน่วยงานเฉพาะกิจดังกล่าวจะทำงานร่วมกับศูนย์ One Stop Service ในแต่ละจังหวัด เพื่อให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่ผู้ประกอบการเยาวชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง 

นอกจากนี้ หน่วยงานเฉพาะกิจของ สสว. ดังกล่าวต้องได้รับมอบอำนาจในหน้าที่การจัดหาบุคลากรและจัดทำแผนกลยุทธ์และงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทุกมิติ ทั้งการจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดหาเงินทุนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ การจัดกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชน ทั้งนี้ การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชนควรประกอบไปด้วย

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  1. สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนแบบ Public-Private Partnership หรือ PPT เพื่อจัดหาพื้นที่สำหรับเป็น Co-Working Space แก่ผู้ประกอบการเยาวชน รวมทั้งจัดหาปัจจัยพื้นฐานสำหรับอำนวยความสะดวกต่อผู้ประกอบการอย่างเพียงพอ เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจกเตอร์ พริ้นเตอร์ ฐานข้อมูลธุรกิจ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ โดย Co-Working Space ดังกล่าว จะต้องมีบทบาททั้งการเป็น Co-Working Space และ Incubation Center โดยจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำงานสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ประชุม สร้าง Community และ เครือข่ายของผู้ประกอบการ พบปะและขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งใช้เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เช่น กิจกรรม Hackathon และการอบรมสัมมนาต่างๆ
  2. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถใช้งานได้ผ่านระบบ Web Based และผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งระบบ Android และ iOS โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ดังกล่าวจะเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการได้นัดหมายและพบปะกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Live Chat Voice Call Video Call หรือ Online Meeting ตลอดจนเป็นแพลตฟอร์มสนับสนุน Business Matching… นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวจะควรเป็นแหล่งเรียนรู้แบบ Live Long Learning สำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งมีการให้บริการสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล คอร์สออนไลน์ E-Learning และ Case Study เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์จากแหล่งต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และเป็น Community ของผู้ประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และทำการตลาด รวมทั้งมีบริการฐานข้อมูลธุรกิจและสถานประกอบการ ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมโยงระบบจากฐานข้อมูล Data Warehouse ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ด้านกิจกรรมดำเนินงาน

  1. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมวิชาชีพ สถาบันการศึกษา และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการเยาวชน โดยให้มีผู้เชี่ยวชาญที่ครอบคลุมทุกมิติการดำเนินงาน ทุกประเภทธุรกิจ ทุกขนาดของวิสาหกิจ และทุกจังหวัด ทั้งนี้ ศูนย์ One Stop Service อาจเป็นตัวกลางในประสานความร่วมมือเพื่อจัดหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละจังหวัด
  2. เปิดให้ผู้ประกอบการเยาวชนขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของ สสว. เพื่อรับสิทธิในการขอรับบริการจากหน่วยงานเฉพาะดังกล่าว ได้แก่ การใช้บริการพื้น Co-Working Space การใช้บริการต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ การขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ และเครือข่ายผู้ประกอบการ และการเข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอโครงการธุรกิจ หรือ Pitching เพื่อขอเงินทุนสนับสนุน หรือหาผู้ร่วมลงทุนและผู้ให้เงินทุน หรือขอรับการรับรองเพื่อได้สิทธิ์ในการค้ำประกันเงินกู้จาก บสย. หรือได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของรัฐ
  3. บริหารจัดการให้ผู้ประกอบการเยาวชนได้ขอรับปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญตามความต้องการ ทั้งการมาขอคำปรึกษา ณ สถานที่ตั้ง ซึ่งอาจเป็น Co-Working Space หรือศูนย์ One Stop Service ประจำจังหวัด การนัดหมายให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการ และการให้คำปรึกษาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยควรกำหนดให้มีทั้งผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ประเมินปัญหาเบื้องต้นและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  4. จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการเยาวชน โดยเน้นกิจกรรมที่มีรูปแบบทันสมัยและสอดคล้องกับพฤติกรรมของการเรียนรู้ของเยาวชนในปัจจบัน เช่น กิจกรรม Hackathon ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม และ ผลิตภัณฑ์ใหม่ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จผ่าน Live บน Social Media และ Clubhouse ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบทั่วไป ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ ยังต้องจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเยาวขนได้ทำความรู้จักผู้ประกอบการรายอื่นๆ และสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์ของธุรกิจที่ตนเองเกี่ยวข้อง โดยมีทั้งกิจกรรมออฟไลน์และออนไลน์ผ่าน Live บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการเยาวชน เช่น กิจกรรม Trade Show และ กิจกรรม Business Matching ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมแบบออฟไลน์ทุกรูปแบบควรมีการจัดในทุ กจังหวัด ณ Co-Working Space ในแต่ละจังหวัด เพื่อสร้าง Community ของผู้ประกอบการเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อความส าเร็จการในส่งเสริมผู้ประกอบการเยาวชน
  5. จัดหาเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชน โดยไม่จำกัดรูปแบบของธุรกิจ… ยกเว้นธุรกิจประเภท Tech Startup ซึ่งเป็นภารกิจของกองทุนยุวสตาร์ทอัพ โดยจัดให้ผู้ประกอบการเยาวชนได้นำเสนอโครงการธุรกิจ หรือ Pitching ต่อคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่แต่งตั้งโดย สสว. เพื่อพิจารณาให้เงินทุนสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการเยาวชนที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ยังควรให้การสนับสนุนการจัดหาเงินทุนของผู้ประกอบการเยาวชน โดยให้การรับรองผู้ประกอบการเยาวชนที่มีศักยภาพเพื่อให้ได้สิทธิในการได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. หรือเพื่อให้ได้สิทธิในการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของภาครัฐ เช่น ธนาคารออมสิน… ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเยาวชนที่มีศักยภาพได้นำเสนอโครงการธุรกิจ หรือ Pitching ต่อภาคเอกชน เพื่อให้ผู้ประกอบการเยาวชนมีโอกาสได้เงินร่วมลงทุน หรือได้รับเงินทุนได้รูปแบบ Crowd Funding หรือ Angel Funding โดยมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ให้เงินทุน โดย สสว. ต้องทำหน้าที่เจรจาความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมสรรพากร บสย. ธนาคารออมสิน และ SME Bank
  1. ประสานความความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund หรือ Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund ในการจัดหาและจัดสรรเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชนเพิ่มเติม และ ขยายขอบเขตโครงการกองทุนยุวสตาร์ทอัพ หรือ Youth Startup Fund ให้ครอบคลุมเยาวชนโดยไม่ต้องเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษาหรือบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบการเยาวชนที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้รับเงินทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมากขึ้น
  2. ประสานความความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA และ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund ในการขยายขอบเขตการดำเนินงานของกองทุนยุวสตาร์ทอัพในการสนับสนุนผู้ประกอบการเยาวชนให้มากกว่าการให้เงินทุน โดยการพิจารณารับรองผู้ประกอบการที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพเพื่อให้ได้สิทธิในการได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. หรือเพื่อให้ได้สิทธิในการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของภาครัฐ เช่น ธนาคารออมสิน หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank โดยทั้ง สสว. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ TED Fund ต้องร่วมกันเจรจากับ บสย. ธนาคารออมสิน และ SME Bank เพื่อให้ความร่วมมือดังกล่าว
  3. ประสานความความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA และ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund ในการจัดกิจกรรมพบนักลงทุน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพได้นำเสนอโครงการธุรกิจ หรือ Pitching ต่อภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการเยาวชนมีโอกาสได้เงินร่วมลงทุนจาก Venture Capital หรือได้รับเงินทุนได้รูปแบบ Crowd Funding หรือ Angel Funding โดยทั้ง สสว. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ TED Fund ต้องร่วมกันเจรจากับกรมสรรพากรเพื่อขอให้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับภาคเอกชนซึ่งร่วมลงทุนหรือให้เงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรอง
  4. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกระดับทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการผลักดันให้มีการปรับปรุง และ  พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา โดยให้มีการบรรจจหลักสูตรความเป็นผู้ประกอบการไว้เป็นวิชาบังคับ ซึ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติที่เน้น Hands on Experience เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการอย่างเหมาะสมโดยเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้ต้องไม่เน้นทฤษฎีและการท่องจำ

ประมาณนี้ครับสำหรับข้อเสนอในการผลักดันให้มีผู้ประกอบการวัยหนุ่มสาวเกิดขึ้นมากๆ ในประเทศ ซึ่งผมคัดมาจากรายงานฉบับเต็ม และ มั่นใจว่าจะมีการดำเนินการในแนวทางนี้อย่างจริงจังจนเห็นเป็นรูปธรรมในเร็ววันนี้…

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts